ใช้หลอดกลม240v สีมันออกส้ม อยากทราบเรื่องอุณภูมิควรอยู่ที่เท่าไหร่นกจึงไม่ร้อนเกินไป ไม่อุ่นเกินไปครับ แบบเซลเซียสนะครับ
แล้วถ้าหากจะวัดอุณหภูมิความร้อนในตัวนก เขาน่าจะอยู่กี่องศาC.?ครับ
ความร้อนของอาหารควรอยู่ที่กี่องศาเซลเซียสครับ
ถามอีกนิดคือ หากกลางคืนเป็นเวลาที่นกนอน เราเปิดไฟกกเขาไว้ มันจะทำให้เขาได้นอนหลับลงได้เหรอครับ แสงมันสว่าง หรือว่าต้องใช้หลอดแบบไหน อย่างไร
เป็นนกมาคอว์BG40-50วันครับ ไปตรวจสุขภาพที่ รพ ทองหล่อมา หมอบอกว่าควรกกไฟ เพราะว่ามันผอมเกินไป เพราะอาหารย่อยไม่เร็ว เราจึงไม่สามารถป้อนครบ3-4มื้อได้ กลัวว่ากระเพาะพักจะมีปัญหา.... ตอนนี้ผมเลยกกไฟทั้งวัน ทั้งคืนเมื่อคืนนี้ เลยซื้อเทอร์โมมิเตอร์มาวัดแล้ว เพราะเกรงเรื่องความร้อนอาหารอาจจะอุ่นเกินจนเย็นไปอาหารจะย่อยไม่ดีเท่าที่ควร
คุณเพิ่งเลี้ยง บูลโก หรอครับอายุเท่าไรแล้วอ่ะ
ผมก็เพิ่งเริ่มเลี้ยงเหมือนกัน
ตอนนี้อายุได้ 55 วัน โดยประมาณ
พอจะมี E-mail ไว้แลกเปลี่ยนความรู้กันบ้างมั้ยครับ
มือใหม่หัดเลี้ยง จะได้มีคนแนะนำบ้าง
E-mail ผมนะ KALOS_BOY@hotmail.com:-)
ผมใช่อุณหภูมิประมาณ 37 องศาครับ ช่วงนี่อากาศเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวฝนเดี๋ยวเย็น ควรกกไฟช่วยลูกนกครับ
ครับ ขอบคุณครับบบ
รบกวนจากพี่ๆหลายท่านตอบแบบละเอียดกว่านี้นิด1 ขอบคุณยิ่ง
พอดีเจอมาเลยเอามาให้ครับ เอามาจากเขาอีกทีนะครับ
ข้อมูลโดยท่าน ทวด ทพ. ชาย ตัน ขอรับกระผม
คำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกนกแก้ว
เนื่องจากปัจจุบัน ได้มีการเพาะขยายพันธุ์นกแก้ว เพื่อจำหน่ายเป็นสัตว์เลี้ยงกันเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งนกที่มีสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ และนกที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเซีย ดังนั้น ทางชมรม สยามไอเวียรี่คลับ จึงได้จัดทำเอกสารนี้ขึ้นมาเพื่อเผนแพร่ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นแนวทางในการเลี้ยงดูลูกนกอย่างประสพความสำเร็จ เติบโตเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพ และมีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป ในอนาคต
การเริ่มต้นเลี้ยงนกแก้ว โดยการหาซื้อลูกนกที่ได้รับการป้อนอาหารด้วยมือ และโตจนสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว นั้น จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด หรือหากต้องการที่จะป้อนอาหารลูกนกด้วยตนเอง ก็ควรที่จะเลือกลูกนกที่มีเส้นขนแหลมเป็นหนาม ๆๆ ( ขนหลอด ) ขึ้นมาบ้างแล้ว จะปลอดภัยกว่า ที่จะซื้อลูกนกที่มีอายุน้อยกว่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ไม่เคยป้อนอาหารลูกนกมาก่อน
เลือกลูกนกที่มีดวงตาแจ่มใส นิ้วเท้าอวบอ้วน ไม่มีน้ำมูก ไม่หายใจทางปาก ปีกแนบชิดลำตัว ขนรอบ ๆ ก้น ไม่มีคราบสิ่งสกปรก ในกล่องหรือในตู้ที่ใส่ลูกนกไม่มีกลิ่นเหมืนอันเกิดจากลูกนกท้องเสีย หรือไม่มีคราบอาหารที่ลูกนกขย้อนออกมา
อาหารที่ใช้ป้อนลูกนก ( ไม่ควร ) ใช้อาหารสำหรับเด็กอ่อน เช่น ซีรีแรค ซึ่งมีส่วนผสมของนมอยู่ด้วย นกไม่ใช่สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม จึงไม่มีเอ็นไซน์แลคเตส สำหรับย่อยนม เมื่อได้รับอาหารที่มีนม ผสม อยู่ด้วยในปริมาณที่มาก จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออาหารไม่ย่อยได้
อาหารสำหรับลูกนกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1. อาหารสำเร็จรูป ส่วนใหญ่ เท่าที่เห็นกันอยู่นั้น จะเป็นอาหารสูตรจากต่างประเทศ ซึ่งจะมีราคาค่อนข้างสูง และจะมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน สำหรับลูกนกเมื่อเปรียบเทียบกับอาหาร ที่ผลิตภายในประเทศ ราคาจะต่างกันมาก ๆ
2. อาหารที่ผสมขึ้นเอง โดยใช้เมล็ดพืช เช่น ถั่วเชียว ถั่วเหลือง ฟักทอง ปลายข้าว แครอท ข้าวโพด ไข่ไก่ ต้มรวมกันจนสุกเปื่อย เติมวิตามินและเกลือแร่ ข้อดี ของอาหารประเภทนี้คือ สามารถเตรียมได้เอง ประหยัด ส่วนข้อเสีย คือ อาจไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ลูกนกต้องการ
3. ผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ ฯลฯ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้อนอาหาร มีให้เลือกใช้ดังนี้คือ
1. ไซริ้งค์ พร้อมกับสายยาง ( ไส้ไก่ จักรยาน ขนาด ยาว ประมาณ 3 – 5 นิ้ว ) วิธีการป้อน แบบนี้ ค่อนข้างสะดวก แต่ความสะดวกต่าง ๆ ก็จะแฝงถึงอันตรายสำหรับลูกนกด้วย โดยจะแหย่ปลายสายยางเข้าไปในปากลูกนก ( บริเวณด้านข้าง ) ไม่ควรแหย่ลงไปตรงกลางปากลูกนก เนื่องจาก บริเวณ ใต้โคนลิ้น ของลูนกจะเป็นหลอดลม สายยาง หรือไส้ไก่ อาจจะเข้าไปในหลอดลมได้ ( ถึงตายเชียว )
2. ไซริ้งค์ พร้อมกับสายยาง ( ชนิดป้อนลูกนกปากขอ โดยเฉพาะ ) ปกติ สลิ้ง ชนิดนี้ จะไม่ค่อยได้เห็น เข้ามาขาย ตามร้านขายนกต่าง ๆ มากมายนัก ( มีขายเฉพาะที่ ) โดยจะไม่ต้องห่วง ๆ เรื่องอาหารเข้า หลอดลม เนื่องจากอาหาร จะออกมาบริเวณ ช่องด้าน ข้างของสายยาง
3. ไซริ้งค์ อย่างเดียว โดยแหย่ ปลายไซริ้ง ที่บรรจุอาหารเข้าที่มุมปาก แล้วค่อย ๆๆ บีบ ก้านไซริ้งค์ อย่างช้า ๆ
4. ช้อนชา ที่บีบขอบทั้งสองข้าง ห้อเข้าหากัน ตักอาหารป้อนลูกนกอย่างช้า ๆ ปลอดภัย มากที่สุด แต่ค่อนข้างจะเลอะเทอะ
คำแนะนำในการป้อนอาหาร
1. อุณหภูมิของอาหารที่ใช้ป้อนลูกนก หากเป็นอาหารสำเร็จรูป ควรมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 37.7 – 43.3 องศา C ( 100 – 110 องศา F )
2. ผสมอาหารตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ และเพียงพอต่อการใช้ในแต่ละมื้อ ปัญหาที่มักจะพบคือในกรณีที่ซื้ออาหารที่แบ่งขายเป็นถุง ๆ ขอให้สอบถามเรื่องอัตราส่วนผสมที่ชัดเจนด้วย ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ละยี่ห้อ
3. หากเป็นผลไม้ ใช้ช้อนขูด ๆ ให้นกกินทีละน้อย ควรใช้ผลไม้ที่ใหม่สดอยู่เสมอ
4. ความถี่ ในการป้อนอาหาร
แรกเกิด ให้ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ( 9 – 10 ครั้ง ต่อ วัน )
เมื่อถึงวันที่ 8 ให้ทุก ๆ 3.5 – 4 ชั่วโมง ( 5 – 6 ครั้ง ต่อ วัน )
เมื่อถึงวันที่ 14 ให้ทุก ๆ 5 ชม. ( 4 ครั้ง ต่อวัน )
เมื่อถึงวันที่ 24 – 30 ให้ทุก 8 ชม. ( 3 ครั้ง ต่อวัน )
เมื่อถึงช่วงที่น้ำหนักตัวของลูกนกขึ้นถึงจุดสูงสุด 2 ครั้งต่อวัน
หมายเหตุ : น้ำหนัก นกต้องขึ้นทุกวัน เพียงแต่ว่า จะขึ้นมากหรือน้อย เท่านั้น จะไม่มีการลดลง
ช่วงอายุที่ลูกนกมีน้ำหนักสูงสุดนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธุ์ เมื่อถึงตอนนั้น ลูกนกจะมีน้ำหนักตัวมากกว่า พ่อแม่นก และหลังจากนั้นจะกินอาหารน้อยลง น้ำหนักตัวจะค่อย ๆ ลดลง ๆ และได้เวลาที่จะเริ่มฝึกกินอาหารด้วยตนเอง
การป้อนอาหารนกมีเรื่องที่พึงต้องระมัดระวังคือ การรักษาความสะอาด ทำบันทึกการให้อาหารและน้ำหนักตัวของลูกนก ใช้อุปกรณ์ในการป้อน และชนิดของอาหารที่เหมาะสม ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น จะแสดงออกดังนี้คือ
1. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยมาก หรือลดลง
2. อาหารที่ป้อนใช้เวลานานมากกวาจะย่อยหมดไปจากกระเพาะ
3. ปฏิกริยาตอบสนองต่อการป้อนอาหารต่ำมาก
การที่ลูกนกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยมาก หรือลดลง อาจจะมีสาเหตุดังนี้
1. นกได้รับอาหารในปริมาณที่น้อยเกินไป การป้อนไม่จำเป็นต้องรอจนอาหารในกระเพาะหมดเกลี้ยงแล้วถึงเริ่มป้อนมื้อต่อไป ในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง จะมีช่วงที่กระเพาะของลูกนกว่างเปล่าคือ ตอนเช้า
2. ชนิดของอาหารไม่เหมาะสมกับพันธุ์ของนกนั้น ๆ พวกลูกนกแก้วขนาดใหญ่เช่น กระตั้ว มาร์คอ ต้องการอาหารที่มีปริมาณไขมันที่สูงกว่า นกชนิดอื่น ๆ
3. อุณหภูมิในการเลี้ยงดูลูกนกไม่เหมาะสม หากต่ำกว่าที่ควร ระบบการย่อยอาหารจะทำงานล่าช้าลงมาก
- ลูกนกแรกเกิดควรได้รับความอบอุ่นที่อุณหภูมิ 36.6 องศา C
- เมื่ออายุ 5 – 12 วัน อุณหภูมิ 35 – 31.6 องศา C
- เมื่ออายุ 12 วัน ถึงระยะขนขึ้น เป็น ขนหนาม อุณหภูมิ 31 – 28 องศา C
- เมื่อมีขนคลุมเกือบทั่วทั้งตัว อุณหภูมิ 26.5 องศา C
4. อุณหภูมิของอาหารที่ไม่เหมาะสม หากสูงเกินไป ความร้อนของอาหารจะลวกเนื้อเยื้อที่บุกกระเพาะจนกลายเป็นเนื้อตาย หากต่ำกว่า ไป การย่อยจะช้ามาก จนกระทั่งเกิดการบูดเน่าอยู่ภายในกระเพาะอาหาร
5. ความเครียดจากสภาพแวดล้อม
6. เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยได้ แก่ เชื้อซาลโมเนลล่า ซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ส่วนเชื้อรา ได้แก่ พวกแคนดิด้า อัลบิแคน มักพบในช่องปาก และผนังของเยื่อบุกระเพาะอาหาร
7. การสำลักอาหารหากไม่มากนัก ลูกนกจะแสดงอาการไอ และจามเพื่อขับเอาอาหารที่สำลักออกมาประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง แล้วจะค่อยทุเลาลง ในกรณีที่มีอาหารเข้าไปในหลอดลม เป็นจำนวนมาก จะหายใจลำบาก เกิดการติดเชื้อในปอด หรือ อาจตายอย่างเฉพียงพลัน เพื่อหลีกเลี้ยงกรณีดังกล่าว การป้อนอาหารจึงควรกระทำอย่างช้า ๆ และด้วยความระมัดระวัง
8. กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากอาหารที่ไม่เหมาะสมกับลูกนก อาหารที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารระยะเวลานานเกินไป จนทำให้เกิดการหมัก ลูกนกจะแสดงอาการขย้อนอาหารนั้นออกมา การแก้ไขโดยใช้ยา Kaopectate จนอาการดีขึ้น จึงกลับมาป้อนอาหารตามปกติ
ขอบคุณครับ ช่วยได้เยอะเลย ยังมีอีกคำถาม
ถามอีกนิดคือ หากกลางคืนเป็นเวลาที่นกนอน เราเปิดไฟกกเขาไว้ มันจะทำให้เขาได้นอนหลับลงได้เหรอครับ แสงมันสว่าง??
อ้างถึงAnitashin เป็นผู้เขียน:
ขอบคุณครับ ช่วยได้เยอะเลย ยังมีอีกคำถาม
ถามอีกนิดคือ หากกลางคืนเป็นเวลาที่นกนอน เราเปิดไฟกกเขาไว้ มันจะทำให้เขาได้นอนหลับลงได้เหรอครับ แสงมันสว่าง??
ผมใช้หลอด 25-45 watt ใส่โคมไฟ เปิดส่องเข้าไป หา มุมใดมุมนึง ของลังที่เลี้ยง โดยใช้ ผ้าช่วยพรางแสง ไว้ นกก็หลับกันดีไม่มีปัญหาครับ เรื่องย่อยช้า น่าจะลอง ลดความข้นของอาหาร ลงก่อนนะครับ ดูให้ลูกนกปรับตัวได้ ค่อย เพิ่มความข้นขึ้น
นกผอมไปเลยช่วงนี้ ห่วงเขาจะแคระแกน โตไม่เต็มวัย จะทำให้ไม่โตหรือป่าว แบบว่าอาหารไม่ถึง พอนกโตเลยตัวไม่ใหญ่ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร...?? เพราะป้อนไม่ครบสามมื้อ
ของผมใช้ 40w ไม่มีอารายพลาง ห่างจากนกประมาน15 นิ้ว
เปิดตลอด24 อุณภูมิ ไม่เกิน32ไม่ต่ำกว่า28c ก็เห็นนกหลับสบายครับ แต่ถ้ามันถึง33-35 นกจะร้อน ของผม มานดิ้นทั้งคืนเลยครับ แล้วก็ปากอ้า พะงาบๆ
วันนี้กกไฟกัน ทั้งวันทั้งคืน ตอนนี้อุณหภูมิตัวเขา ปรอทวัดได้ที่38c'
ถ้าแบบนี้ถือว่าปกติมั้ยครับ
ตอนนี้นกมาคอว์ผมหายดีแล้วล่ะครับ อาหารอากาศ ตอนนี้ทานเก่งมากๆ เดี้ยวเอารูปมาโชว์ หุๆๆ