ผมเคยคิดไว้ว่า สักวันหนึ่ง ผมคงมีโอกาสนำเสนอเรื่องนี้ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน แต่ก็ได้แต่คิดๆๆ ไม่ได้เริ่มต้นสักที จนกระทั่งวันนี้ วันที่มีแรงบันดาลใจแบบท่วนท้น แทบจะไม่ได้ตั้งตัวกันเลย
เอาเป็นว่า เป็นเรื่องราวของ ไวรัส ที่เกิดในนก ในแบบคร่าวๆ สำหรับปี 1 ก่อน ดีไหมครับ หากไปไหว ทั้งผู้อ่านและผู้เขียน ก็ค่อยขยับขยาย ย้ายชั้น กันต่อๆไป :-D
แต่ที่แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นปีไหนๆ มันจะมาเป็นทีละตอนๆ สั้นๆ เพราะมิฉนั้นแล้ว จะมิใช่ C.tan ของแท้ นะขอรับ
:-D :-D :-D
เอาละครับ มหากาพย์ เรื่องใหม่ และแล้ว ก็ต้องรอต่อไป
มิฉะนั้น มิใช่สมาชิก siamphoenix :-D :-D
สาเหตุที่เราต้องพยายามมาทำความรู้จักกับเรื่องราวของไวรัสเหล่านี้ ก็เพราะว่า มันทำให้เกิดโรคในนก และ เมื่อเป็นแล้ว โอกาสรอดชีวิต มีน้อยมากครับ แถมโอกาสที่จะกระจาย ระบาด ติดต่อไปยังนกตัวอื่นๆ มีมากเกินร้อยนะครับ
ในสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เช่น หมาและแมว ก็มีโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนกัน แต่ แทบทุกโรค จะมีวัคซีนสำหรับฉีดเพื่อเป็นการป้องกัน กันหมดแล้ว
เหลือแต่นกสวยงาม ที่ไม่ต้องไปถามหาครับ หรือถ้าจะเอาให้ได้จริงๆ ก็ต้องไปอเมริกาโน่น ได้ข่าวว่า มีวัคซีนสำหรับบางโรค ออกมาบ้างแล้ว เช่น ฝีดาษสำหรับคีรีบูน เป็นต้น
การเรียนรู้ เตรียมพร้อม จะเป็นการลดโอกาสที่จะสูญเสียได้เป็นอย่างดีที่สุดแล้ว
และหากพอจะมีเนื้อหาสาระ มีคุณงามความดีในกระทู้นี้บ้าง ก็ขอมอบเป็นกุศล อุทิศให้เหล่าบรรดานกๆที่ต้องจากไปก่อนวัยอันควร เกิดใหม่คราวหน้า ขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ทุกประการเทอญ...
อยากทราบรายละเอียดเหมือนกันครับ
หอบหมอน เสื่อ และ Popcorn มาฟังด้วยค่ะ
อ้างถึงgoodpie เป็นผู้เขียน:
หอบหมอน เสื่อ และ Popcorn มาฟังด้วยค่ะ
เอา pepsi มาบวกกับคุณพายด์ครับ (กลัวติดคอ อิ อิ) :-D :-D
พานกมานั่งรอหน้าคอมแล้วค่า มาต่อไวๆน๊า
ขอขอบคุณ คุณเต่า คุณbios-m คุณหนูพายด์ คุณอัครเดช และคุณโกโก้ ครับ ที่กรุณาสละเวลา เข้ามานั่งฟังการบรรยายในครั้งนี้ :-D
หากนิยามของคำว่า สิ่งมีชีวิต คือ การที่สามารถแพร่ขยายพันธ์ได้ ไวรัส ก็นับว่า เป็นสิ่งที่มีชีวิตชนิดหนึ่งครับ เพราะมันสามารถเพิ่มจำนวนได้ และในอัตราความเร็วที่น่าสยองมากด้วย
ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตเซลเดียว ที่มีขนาดเล็กมาก เล็กในระดับอนุภาค มีหน่วยวัดกันเป็นนาโนเมตร( nm) เช่น ไวรัสฝีดาษ(Poxviridae) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาด 300-450 *170-260 นาโนเมตร ส่วนที่เล็กที่สุดคือ ไวรัสที่ทำให้เกิดโรค PBFD (Circoviridae ) มีขนาด 14-17 นาโนเมตร
หลายท่านอาจจะนึกภาพไม่ออก ว่า นาโนเมตรนี่เล็กขนาดไหน ใช่ไหมครับ
1 นาโนเมตร คือ 1/1,000,000,000 ม
อ่านว่า เศษหนึ่งส่วนพันล้าน ของหนึ่งเมตร
หรือหากคำว่า หนึ่งเมตร มันดูใหญ่ไป ก็ทอนลงมาเป็นมิลลิเมตรได้ครับ
1 นาโนเมตร เท่ากับ เศษหนึ่งส่วนล้านของหนึ่งมิลลิเมตร
เล็กสะใจดีไหมครับ
โครงสร้างของไวรัส นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเซลเดียวที่เรียบง่ายที่สุด ประกอบด้วย Nucleic acid ( DNA หรือ RNA ) และ ส่วนที่ห่อหุ้มซึ่งเป็นโปรตีน( Capsid)
ไวรัสบางชนิด จะมีชั้นห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนของผนังเซล [ cell membrane ] ของเซลที่มันเข้าไปอาศัยอยู่
เราเรียกไวรัสที่มีผนังเซลหุ้มเหล่านี้ว่า Enveloped virus ส่วนที่มีแต่ชั้นCapsid เปลือยๆ เรียกว่า Nonenveoloped virus ครับ
ข้อแตกต่างระหว่างไวรัส กับ พวกเชื้อแบคทีเรีย อื่นๆคือ
ไวรัสไม่มีการเติบโตหรือขยายจำนวน ภายนอกเซลของสิ่งมีชีวิตที่มันเข้าไปอาศัย [host] ได้ แต่สำหรับแบคทีเรีย หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม สามารถเพิ่มจำนวนได้
ในเซลไวรัสจะมีแต่ DNA หรือ RNA เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่แบคทีเรีย จะมีทั้งสองตัวครับ
ไวรัสจะไม่เพิ่มจำนวนโดยการแบ่งเซล แต่แบคทีเรียจะแบ่งเซลเพื่อเพิ่มจำนวนขึ้นไปเรื่อยๆ
ไวรัสจะ sensitive ต่อ interferon ส่วนแบคทีเรีบ sensitive ต่อ ยาปฎิชีวนะ
คุณครูขา...หนูมีคำถามค่ะ :-?
interferon คืออะไรคะ?
โอ๊ะๆๆ มาลงทะเบียนช้าไปหน่อย แต่ผมก็ยังคิดว่าเรียนทันเพื่อนๆุ่นะ
ต่อเลยครับ
อ้างถึงGoGuy เป็นผู้เขียน:
โอ๊ะๆๆ มาลงทะเบียนช้าไปหน่อย แต่ผมก็ยังคิดว่าเรียนทันเพื่อนๆุ่นะ
ต่อเลยครับ
ยินดีต้อนรับนักเรียนคนใหม่ครับ :-D
อ้างถึงโดย goodpie เมื่อ 2008/5/30 7:49:18
คุณครูขา...หนูมีคำถามค่ะ
interferon คืออะไรคะ?
Interferon [ IFN ] คือ กลุ่มของโมเลกุลโปรตีน ที่เซลที่ติดเชื้อไวรัสสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ส่งสัญญาณทางเคมี เตือนเซลอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงว่า มีการบุกรุกของเชื้อไวรัสแล้ว และให้รีบเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
Alick Isaacs และ Jean Lindenmann เป็นผู้ค้นพบ IFN นี้ ตั้งแต่ปี 1957 ครับ และที่ตั้งชื่อ interferon ก็เพาะมันไปรบกวนการแพร่ขยายตัวของไวรัส [interfere with virus reproduction.]
ปัจจุบันนี้ IFN จึงจัดเป็นเป็นยาต้านไวรัสที่ได้ผลมากที่สุด และก็มีผลข้างเคียงอยู่มากเหมือนกัน เช่น ปวดหัว เมื่อยล้า เป็นผื่นคัน กดการทำงานของต่อมไทรอยด์ และ ซึมเศร้า
ข้อจำกัดของ IFN อีกอย่างคือ มันเป็น host-specific ครับ เช่น IFN ที่ได้จากเซลของสิ่งมีชีวิต species ใด ก็ใช้ได้แต่กับสิ่งมีชีวิต species นั้น เท่านั้น
ปัจจุบัน มี บริษัทยาของต่างประเทศหลายบริษัท ที่ได้ผลิตยาตัวนี้ออกมาจำหน่ายหลาย โดยมีชื่อทางการค้าเช่น Roferon-A, Intron-A, Rebetron, Alferon-N, Peg-Intron, Avonex, Betaseron, Infergen, Actimmune, Pegasys
และส่วนใหญ่แล้ว เป็นยาที่ต้องควบคุมอุณหภูมิในการจัดเก็บให้ถูกต้องด้วย มิฉนั้นแล้ว จะไม่ได้ผลในการรักษา
เอ...วันนี้เว็บบอร์ดมีอาการแปลกๆนะครับ
ผมพิมพ์ขึ้นสามสี่ย่อหน้าใหม่ แต่ทำไมออกมาติดกันเป็นพรืดอย่างนั้นละครับ แก้ไขแล้วก็ไม่หาย
มาลงชื่อรออ่านอีกคนคร้าบ :-D :-D :-D
อ้างถึงdevil_kay เป็นผู้เขียน:
มาลงชื่อรออ่านอีกคนคร้าบ :-D :-D :-D
อ๊ะ...คุณน้องเก้มาซะสายเชียว :-D
อ้างถึงC.tan เป็นผู้เขียน
ไวรัสไม่มีการเติบโตหรือขยายจำนวน ภายนอกเซลของสิ่งมีชีวิตที่มันเข้าไปอาศัย [host] ได้ แต่สำหรับแบคทีเรีย หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม สามารถเพิ่มจำนวนได้
เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะ มันมีแค่ Nucleic acid และเปลือกที่เป็นโปรตีน เท่านั้น ไม่เหมือนกับแบคทีเรีย ที่มีส่วนที่เรียกว่า Cytoplasm ซึ่งจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหาร (ที่อยู่รอบๆตัวมัน เช่น แบคทีเรียในถ้วยน้ำ ถ้วยอาหาร ฯลฯ ) ไปเป็นพลังงาน เพื่อการแบ่งตัว
การที่ไวรัส จะเข้าไปใน host cell ได้นั้น บนพื้นผิวของนอกของเซลไวรัส จะต้องมีส่วนที่เรียกว่า binding site ซึ่งจะจับเข้ากันได้อย่างเหมาะเจาะ กับส่วนที่เรียกว่า receptor ของ host cell เท่านั้น
ซึ่งนับว่ายังโชคดีครับ ที่ไวรัส นับว่าเป็น host-specific เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในนกส่วนใหญ่ จะไม่ทำให้เกิดโรคในคน ไวรัสบางตัวที่ทำให้เกิดโรคในเป็ด จะไม่ทำให้เกิดโรคในนกปากขอ เป็นต้น( เพราะตัวbinding site กับ receptor ไม่สามารถเข้ากันได้ )
หลังจากที่เข้าไปในเซลของ host ได้แล้ว ก็จะแตกตัว [ Encoating ]และอาศัยอาหาร พลังงาน จาก host cell เพื่อ ทำการก็อปปี้ๆๆๆๆๆ Nucleic acid และ โปรตีนห่อหุ้ม [Capsid] จากนั้น ก็จะรวมตัวประกอบเป็นเซลไวรัสตัวใหม่ เพื่อรอการปลดปล่อยออกไป infect เซลอื่น หรือ host อื่นๆ ต่อไป
ขบวนการก๊อปปี้ หรือ ปั๊ม Nucleic acid และประกอบรวมตัวเป็นไวรัสตัวใหม่นั้น รวดเร็วมากครับ ไวรัสบางชนิด สามารถแพร่ขยายพันธ์ได้ถึง 3 เจนเนอเรชั่น ภายในหนึ่งวัน
และจากความที่ว่ารวดเร็วปานนั้น โอกาสที่จะเกิดมิวเตชั่น เกิดการกลายพันธ์ของไวรัส จึงมีมากตามไปด้วย
ไวรัส เมื่อออกจาก host cell ก็จะแพร่กระจายอยู่ภายนอก และจะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธ์ โดยที่พวกมีเป็น Nonenveloped virus จะทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า Enveloped ครับ ตัวอย่างที่ทนสุดๆ ได้แก่ พวกไวรัสที่อยู่ใน family circoviridae( ทำให้เกิดโรค PBFD) ซึ่งจะอยู่ได้นานเป็นปีๆครับ
เมื่อนกสักตัวหนึ่ง ได้รับเชื้อไวรัส ผลที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างครับ เช่น อายุ สายพันธ์ของนก และ ลักษณะเฉพาะตัว/ รวมทั้ง ความหนาแน่นของไวรัสนั้นๆ
นกอาจจะไม่แสดงอาการอะไรให้เห็นเลย และก็
1.เป็นพาหะ ปล่อยเชื้อไปเรื่อยๆ
2.หรือ อาจจะหาย และมีภูมิต้านทานต่อไวรัส
หรือนกอาจมีอาการป่วยให้เห็น แล้วก็
1.ตาย
2.หาย แต่เป็นพาหะของไวรัส
3.หาย และมีภูมิต้านทาน
เรื่องนกตาย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ครับ เพราะเมื่อตายไปแล้ว หากมีการจัดการซากที่ดีพอ เชื้อไวรัสในตัวนกนั้นๆ ก็จะหยุดอยู่แค่นั้น
แต่ถ้าไม่ตาย และแพร่กระจายเชื้อออกไปเรื่อยๆนี่สิครับ เป็นเรื่องใหญ่ วันดีคืนร้าย นกในฟาร์มเกิดความเครียดขึ้นมา ความเครียดอาจจะทำให้โรคที่แอบฝงอยู่ แสดงออกมา ป่วยป่วนกันไปหมดทั้งฟาร์มละยุ่งเลย
:-D