คุณรู้หรือไม่ ?
- อนาคต หากคุณมีนกสายพันธุ์ต่างประเทศ, ปลาสวยงามต่างประเทศ หรือสัตว์อื่นใดที่อยู่ในอนุสัญญา CITES (ไม่ว่าจะเป็นหมวดใดก็แล้วแต่) อาจมีความผิดเทียบเท่าการมีสัตว์ป่าไว้ในครอบครอง
- หากคุณพานกของคุณ หรือสัตว์เลี้ยงของคุณไปไหนมาไหน คุณอาจถูกจับได้
เนื่องจากผมได้ทราบมาถึง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2546 ที่กำลังจะมีการเสนอเข้าสภาในเร็ว ๆ นี้ มีใจความที่มีผลเกี่ยวข้องโดยตรงกับพวกเราทุกคนที่เลี้ยงสัตว์ทั้งที่เป็นเสมือนสมาชิกในครอบครัว
และเชิงพาณิชย์ก็ตาม ผมจึงได้คัดออกมาเฉพาะที่น่าจะเกี่ยวข้อง ดังนี้
มาตรา 4 คำนิยาม
"สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ" หมายความว่าสัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครองตามสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือให้สัตยาบัน
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
มาตรา 6 สัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ มีดังต่อไปนี้
(1) สัตว์ป่าสงวน
(2) สัตว์ป่าคุ้มครอง
(3) สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
(4) สัตว์ป่าควบคุม
(5) สัตว์ป่าอื่นที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือบริเวณและสถานที่คุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่า
มาตรา 8 การมีไว้ครอบครอง นำเข้า ส่งออก นำผ่าน ประกอบธุรกิจเพาะพันธุ์ หรือค้าซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยได้รับอนุญาตตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ฯ
มาตรา 9 ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า มีไว้ ครอบครอง เพาะพันธุ์เพื่อการค้า นำผ่าน หรือนำเคลื่อนที่ภายในประเทศซึ่งสัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือสัตว์ป่าชนิดใดที่ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นสัตว์ป่าควบคุม ที่เป็นอันตรายต่อประชาชน หรือกานำเข้ามาจะก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน สัตว์ป่าหรือพันธุ์พืช สภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมระบบนิเวศ หรือก่อให้กิดผลกระทบต่อการคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศหรือพันธุกรรมของสัตว์ป่าดังกล่าว ฯ
มาตรา 14 ผู้ใดมีไว้ในครองครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามมาตรา 7 วรรคสาม สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ของสัตว์ป่าดังกล่าว จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาต และการจัดทำทะเบียนควบคุม การครอบครอบสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา 19 ภายใต้บังคับมาตรา 9 การนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือนำเคลื่อนที่ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองตามมาตรา 7 วรรคสาม สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ สัตวป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต และแบบของใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 24 ภายใต้บังคับมาตรา 9 ผู้ใดประกอบธุรกิจเพาะพันธุ์ สัตว์ป่าตามมาตรา 7 วรรคสาม สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ สัตว์ป่าควบคุม จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต และการอนุญาต และชนิดของสัตว์ป่าตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการ
มาตรา 26 ผู้ใดค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ สัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าดังกล่าว จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หลักเกณฑ์ และวิธีการขออนุญาต เงื่อนไข การขออนุญาต อายุของใบอนุญาตและชนิดของสัตว์ป่าที่อนุญาตให้ค้าได้ ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการ
มาตรา 83 ในกรณีที่บุคคลใดประสงค์จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ นอกเวลาราชการหรือนอกสถานที่ทำการโดยปกติ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจะต้องเสียค่าเบี้ยงเลี้ยงให้แก่
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ไปปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าอัตราของทางราชการ และต้องจ่ายค่าพาหนะเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามความจำเป็นในการปฏิบัติงาน
การยื่นคำขอ การกำหนดค่าเบี้ยงเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่น ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ฯลฯ
บทกำหนดโทษ
มาตรา 92 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีแต่ไม่เกินเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
การกระทำตามวรรคหนึ่ง หากผู้ใดปล่อยสัตว์ป่านั้นเข้าสู่สภาพธรรมชาติหรือสถานที่ใด ๆ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี แต่ไม่เกินสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทแต่ไม่เกินสามแสนบาท
มาตรา 96 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 หรือมาตรา 18 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 19 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ฯลฯ
บทเฉพาะกาล
มาตรา 109 ผู้ใดครอบครองสัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุมอยู่ก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ครอบครองสัตว์ป่าดังกล่าวได้ต่อไป แต่ให้ดำเนินการแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อให้ทราบถึงจำนวนที่ครอบครอง และรูปพรรณของสัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศหรือสัตว์ป่าควบคุมที่ครอบครองอยู่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกไว้และออกหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้แจ้ง และให้ถือหลักฐานการแจ้งนั้นเป็นหลักฐานการอนุญาตให้ครอบครองได้ตามพระราชบัญญัตินี้
ฯลฯ
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม
2. ใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
4. ใบอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
5. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจเพาะพันธุ์ ฉบับละ 50,000 บาท
7. ใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
9. ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า ฉบับละ 1,000 บาท
13. การต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละครึ่งเท่าของใบอนุญาต
14. การจัดทำเครื่องหมายหรือหลักฐานแสดงประจำตัวสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จัดทำให้ ตัวละหรือชิ้นละ 1,000 บาท
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างกับผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ช่วยแพร่ข้อมูลนี้ให้กับทุกคน ทุกวงการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และหากจะดีรบกวนเสนอแนะ และระดมความคิดเห็นกันเร็วเข้า ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
หากท่านใดประสงค์จะได้ข้อมูลเพิ่มเติม และประสงค์จะทำเพื่อส่วนรวม
ติดต่อได้ที่
พล
081-8219266
อ่านคล่าว ๆ รู้สึกจะอยากหาเงินเข้ากันจริง ๆๆๆๆ แล้วไงครับ ......... อันนี้ก็ต้องผู้รู้ละครับ .....
1. ผู้ครอบครองจำนวนเยอะ ๆ
2. ผู้ครอบครอง และทำธุรกิจ
3. ผู้เพาะพันธุ์เชิงพาณิชย์ และค้าขาย
4. อื่น ๆ
ก็ต้องออกมาช่วยกันน๊ะครับ เพียงผู้เลี้ยงคนนึง ตาดำ ๆ จะมาเอาอะไรมากไปกว่า คนเลี้ยงละครับ .........
หุหุ
ขายสัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครองใน WEB ต่าง ๆ ตอนนี้ ก็ดาดดื่น ยังป้องกันไม่ได้ หันเหมาเล่น สัตว์เลี้ยงสวยงาม แล้วเหรอ งี้ สัตว์อื่น ๆ ที่ติดอนุสัญญา ไซเตส มันว่าด้วยเรื่องการซื้อขาย กันระหว่างประเทศ ไม่ใช่ เรื่องครอบครอง กันไม่ใช่หรือไงครับ
อันนี้ ขอให้ผู้รู้ มาตอบละกันครับ
แต่ความคิดส่วนนึงของผมตอนนี้ คือ อย่าพึ่ง ตื่นตะหนกตกใจไปก่อนครับ
มันไม่ให้เลี้ยง กันเชียวเหรอ ......... หุหุ มันมากไปแล้ว มั้ง
เศรษฐกิจแบบนี้ รัฐบาลคิดกอบโกยเงิน หาเงินเข้าดีจริง ๆๆๆ
เมื่อวานเดินไปซื้อส้มตำกิน .... มีเจ้าหน้าที่สรรพากร มาสำรวจบอกว่า วัน ๆ นึง ขายส้มต้ม ไก่ย่าง ปลาดุก ได้ยอดเงินเท่าไหร่ จะมีการมาเรียกเก็บภาษี หุหุ
เอากับมันสิ ......
โห!!! ช่วงนี้เศรษฐกิจตกสะเก็ด อย่าคิดว่าจะเสียตังค์เลย ขนาดเงินซื้ออาหารให้นกยังต้องคิดเลย อาหารก็แพงขึ้นทุกวัน อุปกรณ์การสร้างกรงเอย ทุกอย่างแพงหมด เล่นเอาคนเพาะพันธุ์หมดใจไปหลายราย เอาเหอะเดี๋ยวก็ได้เห็นนกปากขอออกมาบินเล่นนอกกรงที่มหาชัยบ้างหรอก หุ หุ
อ้างถึงkitty75 เป็นผู้เขียน:
โห!!! ช่วงนี้เศรษฐกิจตกสะเก็ด อย่าคิดว่าจะเสียตังค์เลย ขนาดเงินซื้ออาหารให้นกยังต้องคิดเลย อาหารก็แพงขึ้นทุกวัน อุปกรณ์การสร้างกรงเอย ทุกอย่างแพงหมด เล่นเอาคนเพาะพันธุ์หมดใจไปหลายราย เอาเหอะเดี๋ยวก็ได้เห็นนกปากขอออกมาบินเล่นนอกกรงที่มหาชัยบ้างหรอก หุ หุ
กว่าจะได้นก กว่ากรงจะเสร็จ หมดไปหลาย พอทุกอย่างลงตัวก็มีข่าวแบบนี้อีก โอว์!!! เซ็ง ว่าแต่เฮียเล็กจะปล่อยให้บินเมื่อไหร่บอกนะขอรับ ผมยอมเสี่ยง อิ อิ อิ
ทางที่ดีควรค้านครับ ควรให้ดำเนินการกับผู้ดำเนินการใหม่ และผู้ที่จะเริ่มใหม่ โดยให้ผู้ที่ดำเนินการอยู่แล้วจดทะเบียนเป็นหลัดฐานและอนุโลมให้ทำต่อไปจนกว่าจะแจ้งเลิกกิจการครับ
ถ้าทำได้จะเป็นผลดีมากกว่าเสีย เพราะไม่ต้องลับๆล่อๆอีก
พลครับ แล้วชมรม มีปฏิกิริยา และดำเนินการอย่างไรครับ ?
เอ้า !!!!!!!!!! งานเข้า
ตัวอย่าง ซื้อลูกป้อนเกรย์มาตัวละ เก้าพัน ไปซื้อใบอณุญาตครอบครองสัตว์ติดไซเตส อีกหมื่นหนึ่ง ยังไม่ทันจะป้อนก็ เกือบสองหมื่นแล้ว 55555 บ้าไปแล้ว
รายละเอียด นกไซเตส นะครับ ขอแต่ปากขอล่ะกันนะครับเพราะมันเยอะ 555
จำพวกนกแก้วในอันดับ Paittaciformes (ยกเว้นชนิดที่อยู่ในบัญชีหมายเลย 1 บัญชีหมายเลข 3 และนก Lovebirdหน้าส้ม (Agapornis roseicollis) นกหงส์หยก (Melopsittacus Undulatus) นกค๊อคคาเทล (Nymphicushollandicus) ที่อยู่นอกบัญชี)
ส่วนที่โดนได้แก่
Amazon, Macaws, Cockatoos, Lories, Lorikeets, Parakeets, Parrots
วงค์กระตั๊วได้แก่
Goffin's
Red-Vented
Moluccan
Lesser Sulphurecrested
Palm
นี่แค่คราว ๆ นะครับจริง ๆ ยาวประมาณ สามหน้ากระดาษได้เฉพาะนกแก้วที่อยู่ในตลาด
มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ เพราะเมื่อวันพุธที่แล้วผู้ใหญ่ที่ไปประชุมกับทางที่เสนอร่าง พรบ. ที่กรมป่าไม้ ได้แจ้งให้ผมทราบว่า เขาจะพยายามทำเรื่องนี้ให้สำเร็จอย่างเร่งด่วนครับ
ตอนนี้หลาย ๆ ภาคส่วนที่ทราบเรื่อง ก็เริ่มดำเนินการบางอย่างบ้างแล้วครับ ตัวอย่างเช่น ชมรมผู้เพาะเลี้ยงนกสวยงามสายพันธุ์ต่างประเทศ (ประเทศไทย) หลังจากได้มีการกระจายข่าวกันแล้ว ก็จะประชุมกันในวันพุธที่ 4 มิถุนายน ที่ร้านอาหารเรืองฤทธิ์ซีฟู้ด ถนนบรมราชชนนี-ตลิ่งชัน เวลา 19.00 น. ท่านใดสนใจต้องการทราบเรื่องทั้งหมด และสัมผัสถึงบรรยากาศอันแท้จริง ก็เชิญร่วมได้นะครับ
พล
อ่านคล่าว ๆ น๊ะครับ มันไม่ใช่แค่นกต่างประเทศเพียงอย่างเดียว เต่า / งู / และอื่น ๆ รวมถึง สัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศ
เกิดเลี้ยงหัวจุกตัวนึง ต้องมีใบพวกนี้ด้วยอะเหรอ หุหุ
เอาเถอะครับ อย่างที่บอก จะเลี้ยงนกสวยงาม สักตัว ต้องมีใบเลี้ยงดูครอบครอง ก็คงต้องรวมเข้าไปกับราคานกด้วย ( ดีครับ ราคานกพุ่งขึ้น แต่คนเลี้ยงคงถอดใจ )
ที่แจ้งครอบครองนกไปเมื่อครั้งกระโน้น เจ้าหน้าที่ยังไม่เข้ามาตรวจเลย นกตาย หลุด ไปหมดแล้ว หุหุ เอาใครมาทำ เด้อ ......
กรณี กทม. ให้ฝังไมโครชิป เงียบสนิทครับ ............ ออกเป็นเรื่องเป็นราวออกมา แต่ไม่มีคนดำเนินการ ทั้งนั้นละครับ
เดี๋ยวก็รอ ๆ ดู ๆ กันไปก่อนละกันครับ หุหุ ที่บ้านมีไม่กี่ตัวแล้ว เอาไปเลี้ยงไว้ในห้อง ก็คงไม่ต้องแจ้งอะครับ อิ อิ .........
อ้างถึงบัญชีอัตราค่าธรรมเนียม
2. ใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
4. ใบอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
5. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจเพาะพันธุ์ ฉบับละ 50,000 บาท
7. ใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
9. ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า ฉบับละ 1,000 บาท
13. การต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละครึ่งเท่าของใบอนุญาต
14. การจัดทำเครื่องหมายหรือหลักฐานแสดงประจำตัวสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จัดทำให้ ตัวละหรือชิ้นละ 1,000 บาท
ในกรณีที่เป็นฟาร์มเล็กๆ มีนกสัก 5 คู่ จะต้องมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ใบอนุญาตครอบครอง 10,000 บาท
2.ใบอนุญาตเพาะพันธ์ 50,000 บาท
3.ใบอนุญาตให้ค้าขาย 10,000 บาท
4.ค่าจัดทำเครื่องหมาย 10 ตัวๆละ 1000 เท่ากับ 10,000 บาท
รวม 80,000 เข้าไปแล้วครับ และยังมีมาตรา 83 ที่เป็นค่าบริการสำหรับเจ้าหน้าที่ สำหรับออกมาตรวจสอบว่ามีนกจริงหรือไม่ สถานที่เหมาะสมสำหรับเพาะพันธ์หรือไม่ สำหรับผม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้คงสัก 10,000
แล้วตอนมีลูกนกเกิดมา ก็ต้องมาตรวจอีก ว่าจริงหรือไม่ หรือเอานกป่ามาสวมรอย
แล้วตอนขนส่งเคลื่อนย้ายเข้าไปขายที่กรุงเทพฯ ค่าใบอนุญาตอีกใบละ 1000
รวมแล้ว 91,000 แล้วครับ สำหรับการเริ่มต้น
และแล้ว ปีนั้น นกก็ไม่ไข่ เพราะมีเจ้าหน้าที่มาจุ้นจ้านมาก
ขึ้นปีต่อไป ต้องต่อใบอนุญาตกันอีก ในราคาครึ่งหนึ่ง ก็ราวๆ 45,000
เอาคนไม่รู้เรื่องนก มาร่างกฎเกณฑ์ ก็เป็นแบบนี้ละครับ
ไม่รู้จะใช้คำพูดอย่างไรเลยครับ ขอน๊ะครับ " ปัญญา " มีแค่นี้เหรอครับ ...............
;-) :roll: :-o :-?
เฮออ .......... งี้ราคาคิดคล่าว ๆ ปีนึงเพาะได้ 2 ตัว .... / หักกลบลบไปมา งี้ นกมีโอกาสจากตัวละ 1 หมื่น ขึ้นเป็น 6 - 7 หมื่น ละครับ คราวนี้ หุหุ ( น่าเลี้ยงจริง ๆ )
ร่างกฎหมายดังกล่าว เหมาะสำหรับใช้กับนกไทยเท่านั้นครับ
แต่ก็ไม่ควรกำหนดค่าบริการต่างๆในอัตราที่สูงลิบอย่างนั้น
เพราะ
1.เมื่อสูงมาก ผู้เพาะอาจจะถอนทุน โดยการแอบเอาลูกนกป่ามาสวมรอยอีกจนได้
2.มีแต่ฟาร์มใหญ่ยักษ์ ระดับนกไทยมิวเตชั่นเท่านั้น ที่สามารถทำตามได้ และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ส่วนผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย หมดสิทธ์
3.และแล้ว มาตรการต่างๆที่ออกมา ก็อยู่แต่ในกระดาษอีกต่อไป เหมือนกับที่ออกมาตั้งแต่ปี 2535 นะครับ
ด้วยเหตุผล ไม่มีกำลังคน ไม่มีงบประมาณ
มาตรการที่ออกมา หากค้างอยู่ครึ่งๆกลางๆอย่างที่ผ่านมา จะ มีผลเสียต่อวงการนกสวยงามอย่างสุดที่จะคาดคิดกันเลยครับ
ตายๆ...คนเลี้ยงตาดำๆ ตัวเล็กๆตายพอดี :-( :-(
อ้างถึงปู่โด้ เป็นผู้เขียน:
ไม่รู้จะใช้คำพูดอย่างไรเลยครับ ขอน๊ะครับ " ปัญญา " มีแค่นี้เหรอครับ ...............
;-) :roll: :-o :-?
เฮออ .......... งี้ราคาคิดคล่าว ๆ ปีนึงเพาะได้ 2 ตัว .... / หักกลบลบไปมา งี้ นกมีโอกาสจากตัวละ 1 หมื่น ขึ้นเป็น 6 - 7 หมื่น ละครับ คราวนี้ หุหุ ( น่าเลี้ยงจริง ๆ )
มันจะไม่มีคนซื้อเอานะครับ
นับวัน เศรษฐกิจจะแย่ลง น้ำมันขึ้นราคามากกว่าลง ปลายปีนี้อาจจะได้เห็นลิตรละห้าสิบ ชีวิตนี้คงจะได้เห็นลิตรละร้อย
นกสวยงามเป็นของฟุ่มเฟือย ครับ ส่วนชาวบ้านป่า ชีวิตที่ลำบากยากแค้นอยู่แล้ว จะยิ่งสาหัสเข้าไปอีก นกป่าหากขายไม่ได้ ก็ จะกลายเป็นเมนูอาหารใหม่ละครับ
ผมเห็นด้วย เรื่องการออกกฎหมาย เพื่อควบคุมเรื่องนี้ แต่ มันควรจะแยกกันให้ชัดเจน ระหว่างนกไทย กับนกนอก
สำหรับนกไทย ยิ่งกำหนดค่าใช้จ่ายให้สูงมากเท่าไร ก็จะทำให้มีคนลงทุนเพาะออกมาน้อยเท่านั้น เพราะมันไม่คุ้ม เพาะออกมาแล้วจะขายสักเท่าไหร่ ขายกันนานแค่ไหน จึงจะคุ้มทุน ในขณะเดียวกัน ราคานกเพาะที่สูงมาก จะทำให้มีการนำลูกนกป่ามาสวมรอยกันมากขึ้น (ทุกวันนี้ ยังเห็นมีการประกาศขายลูกนกเค้าที่อ้างว่าเพาะเองขายอยู่ในเว็บใหญ่ )
ผมมองว่า คงจะเหมือนกับมาตรการอื่นๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ เพราะ ที่นี่ คือ ประเทศไทย !!!!!
ถ้าผมจำไม่ผิดเคยมีผู้อวุโส เล่าให้ผมฟังเรื่องการเลี้ยงสัตว์ที่รัฐบาลให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในประเทศไหนผมก็จำไม่ได้ที่มาเล หรือไงนี่แหละครับ กฏหมายเค้าไม่ออกแนวโหดแบบนี้เลย ใครพอทราบช่วยบอกรายละเอียดหน่อยครับ
สภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ การเลี้ยงนกสวยงามยังซบเซา ห่วงเรื่องปากท้อง ไม่มีอารมณ์จะเลี้ยงนกแพงๆ แค่เลี้ยงเอาไว้แก้เหงาแก้กลุ้มกัน แต่ถ้ามีมาตรการแบบนี้ ผมว่าบ๊ายบายดีกว่า
แต่เชื่อผมเถอะ เมืองไทยทำไม่ได้หรอก คนมีเหรอ?? งบประมาณมีเหรอ?? เก็บแรง เก็บหัวสมองไปพัฒนาชาติบ้านเมืองไม่ให้มันตกต่ำอย่างทุกวันนี้เถอะพ่อคู้น!!!!!!
ดูทีวีเปล่าครับ อัตราความมีความสุขในอาเซี่ยน คนไทยมีความสุขมากกว่าประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว อนิจา นี่หรือประเทศไทยที่หลายคนถวิลหา????
ค่าใช้จ่ายแพงขนาดนี้ ค่าปิดหู ปิดตา ปิดปาก ก็คงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เฮ้อ
พอเราจะหาอะไรทำที่บ้านบ้าง ดีกว่าปล่อยไว้เฉยๆ ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีนโยบายแปลกๆขึ้นมาอีกแล้ว
ในส่วนดี มีอยู่บ้าง แต่ขอให้คิดดีๆก่อน คนเขาอยากเลี้ยงติดบ้านไว้ 1-2 คู่ จะเข้าข่ายหรือไม่
น่าจะมีรายละเอียดให้ชัดเจนกว่านี้ อีกทั้งการเลือกปฏิบัติ เส้นใหญ่รอด ปลาซิวปลาสร้อย กินเรียบ
เรามาดูกัน ว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง เมื่อประกาศใช้ขึ้นมา
1.ผู้ที่มีนกอยู่ก่อนแล้ว ต้องไปแจ้งครอบครอง(ภายในเวลา 90 วัน) และให้ถือใบแจ้งเป็นใบอนุญาตให้ครอบครองจากทางรัฐ นั่นน่าจะหมายความว่า ไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตครอบครอง(ใบละ10,000 อีกแล้ว)
2.แต่ใบครอบครองที่ว่านั้น มิได้ครอบคลุมไปถึงการอนุญาตให้เพาะขยายพันธ์นะครับ ถ้าต้องการ น่าจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ออกมาตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ และจำนวนนกทั้งหมด รวมทั้งทำเครื่องหมายด้วย
งานนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับเจ้าหน้าที่ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เบี้ยเลี้ยง ฯลฯ ในอัตราที่รัฐกำหนดไว้
รวมทั้งค่าทำเครื่องหมายประจำตัวนกอีกตัวละ 1,000 บาท
3.เมื่อเพาะออกมาได้แล้ว ต้องไปแจ้ง และอาจจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบด้วย (ไม่แน่ใจว่าส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่ายด้วยหรือไม่ )
4.เพาะแล้วจะเอาไปไหนละครับ ถ้าจะขาย ใบอนุญาตสำหรับขาย อีกใบละ 10,000 บาท ครับ
5.ถ้าเป็นการขายภายในเขต/จังหวัดเดียวกัน ก็โอเค แต่ถ้าข้ามเขต ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย เพื่อการค้า ใบละ 1,000 ครับ
6.หรือถ้าต้องการส่งออก ใบอนุญาตละ 10,000 ครับ
ทั้งหมดนั้น เป็นการทำตามขั้นตอนแบบถูกต้องตามกฎหมาย
(ยังมีต่อ)
แต่ ที่นี่ คือประเทศไทย !!! สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น คือ
1.ผู้ที่มีนกอยู่ก่อนแล้ว และทราบข่าวนี้ ก็จะไปแจ้งครอบครองกันเป็นแถว เพราะไม่มีใครอยากจะทำผิดกฎหมาย และ อาจจะได้รับโทษด้วย
2.ผู้ที่ไม่ได้ไปแจ้ง จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ อาจมีความวิตกกังวลอยู่บ้าง แต่....จะไม่มีใครไปขอตรวจจับ เพราะกำลังของเจ้าหน้าที่มีน้อยมาก ยกเว้น ในกรณีที่โดนเพื่อนบ้านร้องเรียน
3.ผู้ที่จะไปยื่นขอใบอนุญาตเพื่อเพาะขยายพันธ์ เพื่อขาย และส่งออก คือ ผู้เลี้ยงนกในระดับฟาร์มใหญ่ยักษ์จริงๆ ซึ่งก็ไม่ได้มีจำนวนมากมายนัก
สำหรับผู้เลี้ยงนกรายย่อย หากไม่เลิกไปเลย เพราะกฎระเบียบที่ทำตามได้ยาก รวมทั้งค่าครองชีพที่สูงขึ้น เมื่อเพาะนกออกมาได้แล้ว สิ่งที่ทำได้คือ ขายเอง หรือ ขายส่งให้ร้านค้า/ฟาร์ม ที่มีใบอนุญาต
การขายเอง แบบเถื่อนๆ จะได้ราคามากน้อยแค่ไหน ลองคิดดูนะครับ
ส่วนผู้ที่มีใบอนุญาตให้ขาย จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น จะมีคู่แข่งขันที่ลดลง
แล้วผู้ซื้อละครับ มีใครบ้าง
ผู้ซื้อภายในประเทศ สำหรับคนเลี้ยงนกรายใหม่ น่าจะมีจำนวนน้อยลง เพราะซื้อไปแล้ว ต้องไปขอใบอนุญาตครองครองด้วย ( ????) และยังไม่นับรวมเอาปัญหาเศรษฐกิจ ที่นับวัน จะหนักหนาขึ้นทุกที
ผู้ซื้อต่างประเทศ ปัญหามีอยู่ว่าโรคไข้หวัดไก่ที่มีมาสามสี่ปีแล้วนั้น จะมีต่อไปอีกสักกี่ปีก็ไม่รู้ และประเทศปลายทางเขายินยอมให้เข้าไหม ถึงแม้จะมีการใช้วัคซีน เขาจะยอมรับไหม
(ยังมีต่อ)
หากกฎหมายฉบับนี้ ออกมา เพื่อหวังว่า จะช่วยสนับสนุนการส่งออก ผมอยากจะขอร้องให้พิจารณาช่วยเหลือ ดูแล ผู้เพาะเลี้ยงรายย่อยด้วยครับ
หลายๆคน เลี้ยงด้วยความรัก เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เลี้ยงเพื่อเป็นรายได้เสริม หากจะตัดเลข 0 ออกสักตัวสองตัว ในแต่ละอัตราที่กำหนดไว้ ก็จะช่วยให้พวกเขาพอยังคงอยู่ได้นะครับ
และในยามที่ตลาดต่างประเทศมีปัญหา ผู้เลี้ยงรายย่อยภายในประเทศ ก็ยังคงสามารถแบ่งเบาภาระได้อีกด้วย
การที่จะไปค้าน คนที่ไม่ได้ใช้สมองคิด ก็เหมือ สีซอให้ปูลมฟัง ทางที่ดี ทำแบบท่านทวดว่าครับ คือ ต่อรองค่าธรรมเนียม ขอให้เหลือ 10% จากที่ตั้งเป้าที่จะเก็บก็พอครับ ผมว่าหลายคนคงอยากดำเนินการให้ถูกต้องทั้งนั้นครับ
เห็นด้วยค่ะน่าจะตัด 0 ออกไปหลายๆตัวหน่อยเห็นใจคนเลี้ยงที่มากด้วยความรัก จะได้เก็บตังค์ส่วนนั้นไว้ดูแลสัตว์ที่เลี้ยงดีกว่า
แหะๆ คือผมไม่ทราบจริงๆครับ ว่า นกอะไรบ้างที่จะเข้าข่าย พอจะหาข้อมูลได้ที่ไหนบ้างครับ
แล้วผมมี ริงเน็ค เกรย์ อิเลคตัส โม่งอินเดีย และกระจอกชวา อยู่ในสัตว์ต้องห้ามหรือเปล่าครับ
ที่จริงอยากเลี้ยงนกร้องบ้าง เช่น ซอฮู้ แม่ทะ แต่เห็นว่าเป็นนกคุ้มครอง เลยมองไปทางฮวยบี๊ จะเข้าข่ายด้วยหรือเปล่าครับ
หวังว่า ไก่แจ้ ไก่บ้าน ไก่ชน คงจะไม่อยู่ในข้อห้ามด้วยนะครับ ไม่งั้น ต้องพาไปฝังไมโครชิบกันทุกตัว เหมือนสุนัข และ แมว แล้วจะทำให้ราคาไก่สูงขึ้นไปกันใหญ่ :-)
ขอโทษครับขอถาม ? ที่ว่าเลิฟเบริ์ดหน้าส้ม เท่านั้นหรือ หมายถึงเหมารวมนกเลิฟเบริ์ด สีอื่นๆไหมอะครับ คราวนี้ถ้าเราเพาะลูกนกออกมา 1 ครอกได้ 4 ตัว จะโดนตัวละเท่าใดครับ
เพราะเท่าที่ทราบตอนนี้นกเลิฟเบริ์ดนกล่างประเภทนกรุ่นเก่าที่เราเลี้ยงก่อนไข้หวัดนกนั้น บางที่เขาเหมาว่านกล่างคือ ราคานกตั้งแต่ 100 -500 บาท
เพราะนกหัวครอบ กลุ่ม โอพาลีน Opaline ราคาจะสูงกว่าครับ
นกเท่าที่ทราบราคาที่ใกล้เคียงกันก็มีนกซีบร้าฟิ้นซ์ กระจอกชวา เลิฟเบริ์ด หงส์หยก ฮอลแลนด์
และถ้ามาเก็บตรงโน้นหน่อนตรงนี้หน่อย ผมว่าอนาคตคงจะมีนกพวกตระกูลปากขอเล็กๆเช่น เลิฟเบริ์ด และ นกหงส์หยก บินแทนที่นกกระจอกบ้านเราเป็นแน่แท้
ราคาข้าวนก ตอนนี้ก็ แพงๆๆๆๆๆๆ ในอนคตคงต้องเลี้ยงน้องนกแทนครับ
และ ที่สำคัญ คนที่เสนอแนวคิดผมว่าน่าจะรณรงค์ให้เราหันมาเลี้ยงนกกระจอกแทน ฮา ๆ 555 ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจแทน ผมว่าคงจะฮากลิ้ง ๆๆๆๆ
เมื่อพูดถึงค่าธรรมเนียม
ผมมีความเห็นเหมือนกับอีกหลายๆท่าน ว่าทำไมมันถึงต้องมากมายขนาดนั้นละครับ เงินที่ได้เอาไปไหนละครับ คงไม่ใช่เป็นค่าบริการหรือเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่หรอกนะครับ เพราะส่วนนั้นมันอีกต่างหาก ที่จะต้องจ่ายกัน
การกำหนดค่าธรรมเนียมซะสูงลิบ สุดท้ายก็จะได้แต่รายใหญ่เพียงไม่กี่ราย แต่ถ้าลดลงมาเหลือแค่ 10 % มันมีความเป็นไปได้มากกว่านะครับ ที่จะกวาดหมด รายเล็กรายน้อย รวมๆกันแล้ว อาจมากกว่าซะอีก
คิดกันเล่นๆนะครับ ว่า ถ้า เป้าหมายหลักคือเพื่อการส่งออก เป้าหมายรอง คือ กวาดรายย่อยออกจากระบบ(ทั้งด้านกฎหมาย และ การค้า )
อย่าลืมว่า ประเทศที่มีศักยภาพในการเพาะนกส่งออกได้ มิได้มีแต่ไทยเท่านั้น ยังมี จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน ฟิลิปินส์ ฮอลแลนด์ และอื่นๆ อีกมาก รวมทั้งแน่ใจแล้วหรือครับ ว่า ความรู้ วิทยาการ ในเรื่องการเพาะเลี้ยงนกของเรา มีมากเพียงพอ ที่จะไปสู้กับเขาได้
การทำฟาร์มนกร้อยคู่ในสถานที่แห่งหนึ่งได้ผล มิได้หมายความว่า จะไปทำพันคู่ในอีกที่หนึ่งแล้วจะได้ผลมากเป็นสิบเท่านะครับ
ยิ่งมากคู่เท่าไหร่ ผลผลิตต่อคู่จะยิ่งลดลงมากเท่านั้นครับ
และอีกเรื่องที่เคยพูดไปแล้ว คือโรค ไข้หวัดไก่ ครับ
สำหรับตัวของผมเอง กฎหมายนี้ออกบังคับใช้เมื่อไหร่ ก็จะตัดสินใจไม่ยากครับ ที่จะเดินหน้า หรือจะถอย เพราะนกที่มีอยู่ มีแค่ไม่กี่คู่เท่านั้นเอง รวมทั้งเป้าหมายหลักของผม ได้เปลี่ยนไปแล้ว เป็นเลี้ยงนกที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าอาหารอีกต่อไป
อ้างถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการขออนุญาต เงื่อนไข การขออนุญาต อายุของใบอนุญาตและชนิดของสัตว์ป่าที่อนุญาตให้ค้าได้ ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต และแบบของใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต และการอนุญาต และชนิดของสัตว์ป่าตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการ
เกือบจะทุกมาตราของข้อกฎหมายที่จะบังคับใช้ จะมีข้อความที่อ้างถึงข้างบนแปะท้ายไว้ด้วย
นั่นหมายความว่า ใครก็ตาม ที่อยากจะเข้าไปอยู่ในกรอบระเบียบของกฎหมาย มิใช่ว่า มีเงินจ่ายค่าธรรมเนียมก็จบนะครับ มันยังมีกฎ มีเงื่อนไข รออยู่อีกด่านนึง คือ เงื่อนไขของคณะกรรมการ เงื่อนไขของกฎกระทรวง ครับ
อ้างถึงมาตรา 92 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีแต่ไม่เกินเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
การกระทำตามวรรคหนึ่ง หากผู้ใดปล่อยสัตว์ป่านั้นเข้าสู่สภาพธรรมชาติหรือสถานที่ใด ๆ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี แต่ไม่เกินสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทแต่ไม่เกินสามแสนบาท
สรุป ไม่มีใบอนุญาตครอบครอง ,เพาะ จำคุก 3-7 ปี ปรับ หกหมื่น - แสนสี่หมื่น
ปล่อยนกเข้าป่า อาจโดนจำคุก 5-15 ปี ปรับ หนึ่งแสน-สามแสน
จำตอนไข้หวัดไก่รอบแรกได้ไหมครับ
มีนกปล่อยหน้าตาเปลกๆเยอะเลย
กฎหมายนี้จึงออกมาดักคอกันไว้เลย
ห้ามปล่อยนะเฟ้ยยยยยย........ โทษหนัก
ว่าแต่ว่า...จะไปจับมือใครดม และ จะเอาใครไปดม ว่าหน้าไหน ใคร คือ คนปล่อยนกนะขอรับ :-D
เรื่องของนกเลี้ยง แต่ดันไปอยู่ผิดที่ผิดทาง มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว เท่าที่ทราบก็มี
ริงเน็ค ที่อังกฤษ เมื่อสิบกว่าปีก่อน มีกลุ่มนักศึกษาของมหาลัยออกไปทำการวิจัย สำรวจ พบว่า มีอยู่ประมาณสามพันตัว สาเหตุหลักที่กลายเป็นนกปล่อยคือ เลี้ยงแล้วหนวกหู รองลงมาคือ หลุดโดอบังเอิญ และ ไม่เชื่อง และผลของความเสียหายคือ มันทำลายพืชไร่ โดยเฉพาะผลไม้ เช่น แอ๊ปเปิ้ล ซะกระจุย
ม๊องค์ ที่เมกา ข้อหาที่โดนคือ เสียงดัง และ หลุดโดยบังเอิญ ผลเสียคือ มันไปทำรังขนาดใหญ่ยักษ์ตามเสาไฟฟ้า ต้นปาล์ม จนถึงขั้นบางรัฐประกาศเป็นนกต้องห้าม ห้ามเลี้ยง ห้ามนำเข้า
นอกจากนั้นก็เป็นรายเล็กๆ เช่น ผมเคยเจอหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของไทยลงข่าวหน้าสอง ในหัวข้อข่าวต่างประเทศ ว่า " พบนกบั๊ดเจอริก้าฝูงใหญ่ถูกปล่อยในสวนสาธารณะไต้หวัน "
ผมจำได้แม่น เพราะขำที่ว่าไม่มีใครสนใจจะค้นหาเลยหรือไง ว่าไอ้บั๊ดเจอริก้านั่นมันมีชื่อไทยว่าอะไร
ทราบครับว่าเป็นนกหงส์หยก แต่ถ้าเป็นอย่างที่เรากลัวกัน หนังสือพิมพ์ไทยคงจะมีข่าว พบนกสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นปากขอ ปากจู๋ บินว่อน ตามสวนสาธารณะ เรือกสวนไร่นา เป็นแน่
แต่ผมว่ามันคงไม่ถึงขั้นนั้นหรอกครับ......
เจอข่าวแบบนี้ อย่าว่าคนจะเข้ามาเลี้ยงใหม่เลย แม้แต่ผมเอง เตรียมกรงไว้แล้ว ยังต้องชลอการเพิ่มจำนวนเลยครับ ปัญหาเศรษฐกิจยังน่าวิตกอยู่ มาซ้ำเติมเรื่องนี้เข้าไปอีก ดีนะครับที่ยังไม่สั่งรังเพาะเพิ่ม กลัวได้ลูกนกจังเลย พับผ่าซิ
ไปเจอข้อมูลนกแอ่นกินรังมา เลยเอามาฝาก
ท่านชายตันเรา มาการณ์ไกลจริงๆ
http://www.biotec.or.th/biotechnology-th/newsdetail.asp?id=3414
เอาแหล่งข้อมูลมาฝาก ใครพอจะอ่านเข้าใจ ช่วยอธิบายด้วยครับ
http://coursewares.mju.ac.th/PS407/Page%2010.htm :-D
เห็นว่าวันนี้มีประชุม ไม่ทราบว่าถ้าประชุมแล้วได้ผลเป้นอย่างไรบอกกล่าวในเวปบ้างได้หรือไม่ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าเลยค่ะ :-( :-(
ผมว่าค่าธรรมเนียมคงเข้าไปยุ่งไม่ได้
คนเขียนกฏหมาย ออกมาควบคุมค่าว่า สัตว์ป่า ทั้งหมด
และทราบน้อยหรือแทบจะไม่ทราบ
เลยว่าสัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ คืออะไร
ที่สำคัญแทบจะไม่มองเลยด้วย
แต่คิดรวมๆ ว่าเป็นสัตว์ป่า
หากเรามองกว้างๆ ให้ประชาชนทำประชาพิจารณ์
ยังไงเราก็ไม่มีทางชนะ
"มาตรา 6 สัตว์ป่า ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ มีดังต่อไปนี้
(1) สัตว์ป่าสงวน
(2) สัตว์ป่าคุ้มครอง
(3) สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
(4) สัตว์ป่าควบคุม
(5) สัตว์ป่าอื่นที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือบริเวณและสถานที่คุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่า"
เพราะคำว่าสัตว์ป่า ได้ยำรวมเอา
สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
ซึ่งแม้แต่คนที่เสนอ wording นี่ลงไป
ถามหน่อยเถอะครับ จำหน่าย แยกแยะ ประเภทได้แค่ไหน
แต่การที่เราจะเอา มาตรา 6 (3) สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
ออกมาจากร่างได้นั้น ต้องมีเหตุผล ครอบคลุม ว่าทำไม (1) (2) (4) (5) ยังอยู่
ยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน
เพราะการแก้ร่าง ไม่อาจมองแต่มุมเล็ก ของคนบางส่วน
แต่ต้องให้เหตุผลคัดค้าน กับ เหตุผล ที่ เอา (3) มาร่างรวมอยู่ได้
ซึ่งดังกล่าวข้างต้น ก็มีความไปได้ไม่มากก็น้อย
ขอบคุณมากครับ
อ่าน และ เซ็ง เลย คับ อีกหน่อย ดุจากสารคดี เอา น่า จะดีกว่าเลี้ยงและ มั้ง งานนี้
ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเรื่องค่าธรรมเนียมอีกสักครั้งนะครับ
ในกรณีนกไทย นกที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นนกยอดนิยมอยู่ในขณะนี้ ( มีประกาศขายกันอยู่เสมอๆในเว็บใหญ่ๆอยู่สองเว็บ) ซึ่งก็คือ นกปรอดหัวโขนเคราแดง หากทางการมีจุดประสงค์ที่จะสนับสนุนให้เพาะเลี้ยง และมีนโยบายที่จะอนุรักษ์นกป่า( ตามที่ได้ไปตกลงทำอนุสัญญากับไซเตส จริงๆ ) ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะยืนกรานเรื่องค่าธรรมเนียมซะสูงลิบอย่างนั้นครับ
เพราะลูกนกที่เพาะออกมาได้ มูลค่าราคาไม่ได้มากมายนัก ที่เห็นที่ได้ยินว่าซื้อขายกันเป็นแสนเป็นล้านนั้น มันมีอยู่ไม่กี่ตัวเท่านั้นครับ และกว่าจะปั้นได้ระดับนั้น คนเลี้ยงแทบจะอยู่ในสภาพหัวจุกซินโดรมขึ้นสมองแล้ว ชีวิตวันๆวนเวียนอยู่แต่ในสนามแข่งนกเท่านั้นนะครับ
เมื่อมีมูลค่าไม่มาก ผู้เพาะขาย " บางราย " อาจต้องใช้บริการของนกป่าเข้ามาเสริมอีกจนได้ เพื่อความอยู่รอด เพราะต้นทุนสูงขึ้นมาก
สินค้าทุกชนิด ถ้ามีปัญหาเรื่อง แบล๊ค/เกรย์ มาเก็ต วิธีเดียวที่จะแก้ได้ก็คือ การลดราคา/ลดต้นทุน ลงมา ให้เหลือราคาขายที่เท่า/ใกล้เคียงกัน ปัญหานั้นก็จะหมดไป
แต่นี่ท่านไม่สนใจ ไม่นำพา ตั้งท่าจะเล่นรายละห้าหมื่นรวดเลย :-D
ไม่แน่นะครับ สักวัน รัฐอาจโดนข้อหาจากไซเตส ว่า ไม่จริงใจในในการสนับสนุนให้ประชาชนอนุรักษ์นกป่า มีส่วนรู้เห็นในการผูกขาดการค้านก ใช้ไซเตสเป็นเครื่องมือในการกำจัด ขัดขวาง กลุ่มคนเลี้ยงนกส่วนใหญ่ อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงของไซเตส ฯลฯ
และเมื่อถึงตอนนั้น จะมาเรียกร้องขอความร่วมมืออะไรจากชาวบ้าน ก็สายเสียแล้วนะขอรับ
:-D :-D :-D
รู้สึกว่าเว็บบอร์ดจะเริ่มรวนแล้วนะครับ เข้าไปอ่านตั้งแต่ต้นไม่ได้ ตอบสองทีเป็น reply # 1 ทั้งสองที
แก้ไขข้อความ: ไม่รวนแล้วครับ เป็นเพราะผมบังเอิญไปคลิกกดเปลี่ยนรูปแบบการอ่าน มันจึงเป็นเช่นนั้นแล :-D
ได้ข่าวมาว่า ทั้งนก mutation & Hybrid เข้าข่ายหมด และจะรบกวนให้ผู้ใหญ่ในวงการนก ไปเจรจา ครับ คงจะต้องช่วยกันออกความเห็น เพื่อเป็นข้อมูลในการไปเจรจากันหละครับ
ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย ขอให้มันสมดุลกันเท่านั้น
ส่วนตัวแล้ว เห็นว่า ใบขออนุญาติเพาะพันธุ์ ต้องมีหรือไม่ เขาเสียทั้งค่าครอบครอง และ จำนวนตัวไปตั้งหลายตัวแล้ว
และการที่เขาสามารถเพาะพันธุ์ได้ เป็นสิ่งที่แสดงว่า มันจะไม่สูญพันธุ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่หรือ
และการที่เขาเพาะได้ เขาคงจะขาย คงไม่เก็บไว้หมด หรือ เพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ ดังนั้น ต้องเสียใบขออนุญาตค้าสัตว์คุ้มครองด้วยอยู่แล้ว
ส่วนคนที่เลี้ยงสัตว์ที่มาจากการพาะเลี้ยง อาจจะไม่ต้องเสียค่าแจ้งครอบครองหรือเสียน้อยกว่าสัตว์จากป่า เพื่อส่งเสริมให้คนไม่เลี้ยงสัตว์ที่มาจากป่า แต่หากวันนึงประสบความสำเร็จ สามารถขายได้ ต้องขอใบอนุญาติค้าต่อไป
ดังนั้น เราควรมีข้อกำหนดว่า สัตว์มาจากป่า กับ สักต์ที่เกิดจาการเพาะเลี้ยง มีข้อแตกต่างอย่างไร เป็นต้น
ผมว่าถ้ามันลงตัวกัน ทุกคนคงจะขออนุญาตกันทั้งนั้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่มาตรวจตรากันมาก เพราะบทลงโทษแรง คงจะไม่มีใครเสี่ยงให้ถูกดำเนินคดีอยู่แล้ว
ครับ อย่างที่พี่หมอชายตัน กล่าวครับ
ผมว่าจะทำให้ประชาชนรายน้อย-รายเล็กที่นิยมเลี้ยงนกเพื่อ บริโภคความสุขซะมากกว่าการจำหน่าย จะทะยอย หายไปทีละราย ถ้าตราบใดรัฐจะมาอนุรักษ์ แค่ในวิธีการหรือ ในกระดาษ เพียงแค่นี้คงไม่พอที่จะสามารถอนุรักษ์สัตว์ป่าได้ ถ้ารัฐไม่ลงไปปรับปรุงดูแล วิถีชีวิตชาวบ้าน ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ ต่างๆเรื่องระบบนิเวศน์ ความสมดุลย์ทางธรรมชาติ ต่างๆนานา
เชิญชวนไปเลย และ สนับสนุน จะทำให้ประชากรในพื่นที่มีรายได้มากกว่าและ มีความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว ในอนาคต การอนุรักษ์ก็จะกลับมาแบบสมบูรณ์
ยกตัวอย่างเช่น
จะเกิดระบบนิเวศน์ที่เรียกว่าการสร้างรายได้ในชุมชน แบบ OTOPเกษตรกร เพาะเลี้ยงและ สามารถจำหน่ายได้ ทุกชนิด ที่ไม่สูญพันธ์ เป็นรายๆชนิด น่าจะอนูญาติไปอย่างนกเขาชวาเสียง จะทำให้ชาวบ้านสามารถนำมาช่วยเสริม ชีวิตให้สมบูรณ์ขึ้น
มีรายได้จากการปลูกข้าวจำหน่ายแก่นกต่างๆ เช่น ข้าวเปลือก อื่นๆที่สามารถผลิตได้
มีรายได้จากการผลิตหรือ จำหน่าย อุปกรณ์ต่างๆ ขยายสาขาออกไป ดูแล้ว ถ้าไปกีดกันก็คงต้องมีการลักลอบเช่นดังทุกวันนี้ครับ
จึงอยากให้หลายๆฝ่ายช่วยกันวิเคระห์ครับ เราฝ่ายที่ชอบทำการเพาะเลี้ยงก็คงอยากมีความสุขในการเลี้ยงแบบเดิมๆ มีความสุข และ สามารถลดปัญหาต่างๆ ได้
ม็อบราชดำเนินก็มีแล้ว ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ไปมีม็อบที่พหลโยธินอีกที่ไม่น่าจะเสียหายน่ะครับ... 8-) 8-) 8-)
โอย...กว่าจะได้เรื่อง ก็งมโข่งกันอยู่นาน คุณพลนี่น่าโดนตีสักป๊าบจริงๆ
สรุปคร่าวๆ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อคราวที่ผู้การเสวกลุยจับนกเมื่อปี46
รัฐได้มีความคิดเห็นว่า น่าจะเอาเรื่องสัตว์ป่าทั้งหมดมาทำให้อยู่ภายใต้การดูแลของกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นของไทย หรือ ของนอก และรวมทั้งต้องการแสดงให้ไซเตสเห็นว่า ไทยให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
และถ้ายังจำกันได้ ช่วงนั้น มีการประชุมไซเตสโลกในบ้านเราด้วย
เมื่อคิดเช่นนั้น จึงได้มีการออกคำสั่ง ให้หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ร่างกฎหมาย( ผมไม่แน่ใจว่าชื่ออะไร สังกัดทบวง กระทรวงไหน แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่ไซเตสตัวเจ้าของเรื่องครับ ) ไปดำเนินการร่าง และทำประชาพิจารณ์มาให้เรียบร้อย เพื่อนำเสนอและบังคับใช้ต่อๆไป
หน่วยงานที่ว่า โดยความรับผิดชอบ ดูแลเรื่องนี้คือ นาย.....( ขอโทษครับ เป็นโนบอดี สำหรับผม ลืมชื่อไปแล้วจริงๆครับ ) ก็ได้ทำตามขั้นตอน แต่บังเอิญว่า ท่านเป็นนักกฎหมาย และอาจไม่ได้เป็นคนเลี้ยงนก หรือ เลี้ยงตัวอะไรๆอื่นๆด้วย การทำประชาพิจารณ์จึงอยู่ในแวดวงแคบๆ ในกลุ่มคนที่ท่าน"คิด"ว่า จะเกี่ยวข้องด้วย ( ซึ่งผมคาดว่า น่าจะเป็นพวกสวนสัตว์ใหญ่ๆ เช่น สวนเสือ สวนจระเข้ เป็นต้น )
ผลจึงออกมาดังที่เห็น โดยเฉพาะในหมวดค่าธรรมเนียม
จากนั้น ก็ได้มีการนำเสนอ และโดนคัดค้านโดยกลุ่มเอ็นจีโอ มาหลายรอบแล้ว เหตุที่เอ็นจีโอค้านเพราะไม่เห็นด้วยเรื่องการให้สวนสัตว์ซึ่งเป็นสถานที่อย่างนั้นแล้วจะมาเพาะสัตว์ขายได้ไง อะไรประมาณฯนั้นละครับ และอาจมีประเด็นอื่นๆอีกด้วย
หลังจากที่ได้มีการชักเข้าชักออกกันมาหลายรอบ ตอนนี้ ข่าวแจ้งว่าผู้ยื่นสุดทนแล้ว เรื่องราว/งานที่ได้รับมอบหมายมา ไม่แล้วเสร็จซักที จึงได้มีความพยายามครั้งสุดท้าย กะจะให้ผ่านให้ได้
บังเอิญ มีผู้ใหญ่ในวงการนกทรานหนึ่งทราบเรื่องนี้เข้า
จึงได้นำเรื่องนี้มาแจ้งให้ทราบ จุดประสงค์เพื่อให้รวมตัวกันหาทางแก้ไข
เพราะหากผ่านไปได้ มันจะชิ๊บ..กันทั้งหมด
สัตว์อื่นๆ( เช่น แมวใหญ่(เสือ) จระเข้ และ ปลา เต่า ฯลฯ ) ต่างออกลูกง่ายเมื่อเทียบกับนก แถมในปริมาณที่มากกว่าด้วย ดังนั้น ตัวเลข 50,000 จึงอาจดูไม่มาก และแถมยังไม่มีข้อจำกัดเรื่องการส่งออก ( เช่น โรคไข้หวัดไก่ ) ดังนั้น จึงไม่น่าจะมีใครเดือดร้อนมากนัก
แต่สำหรับนก หลายชนิดไข่แค่ปีละครั้ง
ครั้งละ 1- 2 ฟอง
บ่อยครั้งที่ไม่มีเชื้อ
หรือมีเชื้อ แต่โดนเหยียบแตก
หรือออกมาเป็นตัว แต่สำลักอาหารตายซะอีก
ลำบากยากเข็ญแทบเป็นแทบตาย กว่าจะเพาะออกมาได้ (ไม่เชื่อ ลองถามประธานชมรมคนไม่เคยได้ลูกดูนะครับ ) เพาะออกมาแล้ว จะทำไงละนี่
จะส่งออก เชื้อไข้หวัดไก่ ก็ยังไม่รู้จักหมดจักสิ้นซะที
จะขายในประเทศ ใครจะซื้อกันละครับ ในเมื่อกฎหมายเขียนไว้ซะน่ากลัวอย่างนั้น
ถ้าทุกคนในวงการ ยังจะใช้นโยบาย เวท แอนด์ ซี
พอถึงตอนนั้น มันจะ ซี้ กันไปทั้งหมดนะครับ พี่น้อง
ผลประโยชน์ที่ขัดแย้ง ความบาดหมางที่เคยมี วางไว้ก่อนเถิดนะขอรับ
ร่วมด้วยช่วยกัน ออกความคิดเห็น ส่งเสียง ผลักดัน ให้มีการแก้ไข เพื่อว่า สิ่งที่พวกเรารัก สิ่งที่เป็นอาชีพ จะได้เดินหน้าต่อไปได้
อ้างถึงnat เป็นผู้เขียน:
ม็อบราชดำเนินก็มีแล้ว ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ไปมีม็อบที่พหลโยธินอีกที่ไม่น่าจะเสียหายน่ะครับ... 8-) 8-) 8-)
ช่วงนี้ home alone ครับ ถ้าเลยเดือนหน้าไปแล้ว จะเอากันวันไหน บอกล่วงหน้าสัก 24 ช.ม.ครับ
สรุปเป็นไงมั่งคะ ...เขาน่าจะเข้ามสัมผัสชีวิตแบบเราๆบ้างนะ คนที่ออกกฏหมายมาหนะ...จะได้รุ้ว่ามันเป็นการทุบหม้อข้าวประเทศไทยแค่ไหน..แทนที่จะสนับสนุนให้พวกเราส่งออกได้แต่กลับมาทำลายกันเอง..การที่เราพัฒนาสายพันธ์ได้เขาเรียกว่า ทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่หรือ ....มองเพียงว่านกชนิดนี้ไม่ได้มีอยู่ในน่านฟ้าเมืองไทยเท่านั้นหรือ หากว่าเขาทำอย่างนั้นจริงๆ ไม่นานค่ะ เขาจะได้เห็น เลิฟเบริด์ หรือนกต่างๆอีกเยอะแยะแทนที่นกกระจอก..หรือไม่เราก็ต้องนกกระจอกมาพัฒนาสายพันธ์ เอาเป็นแบบ กระจอกด่าง กระจอกหัวครอบ กระจอกพายด์ ดีมั๊ยคะ :lol:
ผลสรุป คงต้องให้คุณพล จขกท. มาเล่าเองนะครับ
ผมคิดว่า เมื่อเขามาถึงตอนนี้ เรื่องที่จะตีให้ตกไปเลยนั้นคงยากแล้ว
แต่ที่น่าจะทำได้ โดยที่ไม่มีใครต้องเสียหน้ามากนัก คือ
1.การเสนอให้แยกเรื่องนกออกมาอยู่อีกหมวดหนึ่งต่างหาก ส่วนรายละเอียดจะเอาอย่างไรก็ปรึกษากัน
หรือ
2.ยึดถือตามร่างนั้น แต่ ค่าธรรมเนียมสำหรับนก ให้คิดแค่ 10 % จากที่กำหนดไว้
ไม่ทราบว่าไหวไหม ใครมีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยๆกันหน่อยนะครับ
ผมติดว่า เราต้องใช้การดำเนินการร่วมกันกับสัตว์เลี้ยงหลายๆชนิดที่เป็น exotic ไม่ใช่เฉพาะคนเลี้ยงนก
ในกลุ่มเลี้ยงนก ต้องประชาสัมพันธ์ให้คนส่วนใหญ่ทราบ เช่นให้ชาวใต้ทุกท่านทราบว่าท่านเลี้ยงนกหัวจุก ก็ผิดแล้วและต้องโดนปรับแน่ ในการแข่งขันนกหัวจุกที่ไหน ต้องเอาข่าวนี้ไปกระจายให้ทราบ รวมถึงเวปนกหัวจุกต่างๆ
พวกเลี้ยงปลา ต้องทราบด้วยว่าผิดเหมือนกัน นักเลี้ยงปลาต้องเข้าร่วมมือด้วย
สัตว์เลื้อยคลาน siam reptile น่าจะช่วยประชาสัมพันธ์
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างๆ ก็ผิด ไม่ว่าพวกหนูเจอบิว เฟอเร็ท ไม่ทราบพวก แกสบี้ด้วยหรือเปล่า
พ่อค้าสัตว์ในจตุจักร รวมทั้งที่อื่นๆ ต้องรวมตัวกันค้าน
สรุป ต้องหาแนวร่วมครับ ให้เป็นพลังก้อนใหญ่เพื่อการต่อรองครับ
คนเลี้ยงนกไว้เป็นเพื่อนธรรมดาๆอย่างเราไม่แย่เรอะนั่น
ออกกฎหมายติงต๊องจริงๆ ถ้าจะมาพรากลูกรักไป สงสัยร้องไห้ขี้มูกโป่ง
เลี้ยงมาตั้งนาน มาจ่ายค่าพวกนี้อีก ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี
ดันมาติดเรื่องให้ประชาชนเดือดร้อน
แทนที่จะทำให้ละเอียดกว่านี้ สัตว์เลี้ยงไม่ใช่สัตว์ป่า
ว่าไงว่าตามกันครับ วันไหนรวมตัวแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ พร้อมเป็นแนวร่วมครับ
ว่าไงว่าตามกันครับ วันไหนรวมตัวแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ พร้อมเป็นแนวร่วมครับ
เรื่องนี้ ไปไหนไปด้วยครับ แจ้งล่วงหน้าด้วยนะครับ จะได้หาทางโดดงานครับ
ก่อนอื่นขอตอบคุณชายตันก่อน เนื่องจากเมื่อวานคุณชายตันโทรมาคุยกับผม และแนะนำให้เล่าที่มาที่ไปให้ทุกท่านทราบ ก็ต้องขอขอบคุณที่แนะนำ
ก่อนหน้านี้มีหลายท่านที่ทราบเรื่องนี้จากกระทู้ โทรมาสอบถามและพูดคุยกัน ผมก็เล่าสถานการณ์และข้อมูลที่ทราบให้ฟัง ก็หลายต่อหลายท่านครับ
เรื่องราวทั้งหมดผมก็เพิ่งทราบเมื่อวันพุธที่ 28 จากการโทรมาของกลุ่มชมรม ผู้เพราะเลี้ยงนกฯ ว่าจะมีการเสนอร่างพรบ. นี้ที่กรมป่าไม้ฯ แต่เนื่องจากวันนั้นผมติดงานที่ต่างจังหวัดไม่สามารถเข้าร่วมได้ แต่ก็มีตัวแทนของชมรมฯ ไปเข้าร่วม 4 ท่าน และหลังจากนั้นผมก็ทราบเรื่องจากการเล่าของตัวแทนทั้ง 4 ท่าน และได้คุยกันว่าน่าจะรีบดำเนินการนัดประชุมโดยก็รีบติดต่อและนัดกันได้ในวันศุกร์ที่ 30 และหลังจากพูดคุยสรุปเรื่องราวทั้งหมด ทางชมรมฯ ก็มีมติให้รีบกระจายข้อมูลเหล่านี้ให้กับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง และนัดกันอีกครั้งวันพุธที่ 4 เพื่อสรุปแนวทาง หลังจากนั้นผมก็รีบสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ด้วยความไม่รอช้า เพื่อตรวจสอบว่าความเป็นมาต่าง ๆ ของเรื่องนี้เป็นมาอย่างที่เราเข้าใจหรือไม่ ? อย่างไร ?
ก็ได้ความว่าร่างพรบ. นี้เริ่มเมื่อปี 2546 โดยรัฐบาลของทักษิณ ซึ่งหวังดีหวังร้ายไม่ทราบ แต่ต้องการให้มีการแก้ไขพรบ. ปี 2535 (ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน) เพราะจะมีการประชุม CITES กันเมื่อสมัยโน้น และทาง CITES ก็โจมตีพรบ. ป่าไม้ของไทยว่าไม่ครอบคลุมการครอบครองและการค้าสัตว์ต่างประเทศ ก็เลยได้ให้อาจารย์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ร่างพรบ. นี้ ซึ่งหลังจากได้ร่างก็มีการทำประชาพิจารณ์หลายต่อหลายครั้งก็ไม่ผ่าน เพราะมีการออกมาค้านของกลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ มากมายถึงข้อบกพร่อง และความไม่ชอบของร่างพรบ. ใหม่นี้ และได้มีการเสนอข้อแก้ไขมาก็หลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ก็นำขึ้นมาเพื่อเสนออีกครั้ง ทางเราถึงได้มาทราบว่ามีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้น ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจไม่ว่าใครจะเลี้ยงนกกี่ตัวก็ไม่สำคัญแต่นี่หมายความถึงความเดือดร้อนของคนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่ถูกต้อง แต่จะกลับกลายเป็นการเลี้ยงสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายไป
ขณะนี้ทางชมรมฯ มีมิติจะทำหนังสือ และประสานงานกับชมรมฯ สมาคมฯ อื่น ๆ รวมถึงประชาชนคนเลี้ยงสัตว์ที่จะได้รับผลกระทบ (โดยเฉพาะนก) เพื่อรวบรวมรายชื่อ และผลกระทบ รวมถึงแนวทางที่จะเสนอแก้ไข เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ผมได้รับมอบหมายให้ร่างหนังสือฉบับดังกล่าว ก็ได้พยายามหาข้อมูล และประสานงานผู้รู้หลาย ๆ ท่าน และดำเนินการหลาย ๆ อย่างอยู่ เพราะรู้ดีว่าขนาดกลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ ซึ่งมีศักดิ์ศรีเหนือกว่า และมีนักกฎหมายที่เก่ง ๆ มากมายได้เสนอแนวทางแก้ไข ก็ยังไม่สำเร็จ ฉะนั้นเราจะต้องตีโจทย์นี้ให้ถ่องแท้จริง ๆ ว่าจะเสนอแนวทางอย่างไรให้ภาครัฐเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของภาคประชาชนตาดำ ๆ อย่างเราที่จะได้รับความเดือดร้อนหากร่างพรบ. เป็นเช่นนี้ (งานใหญ่จริง ๆ)
ก็หวังว่าทุก ๆ ท่านจะให้ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือให้มากที่สุด เพื่อส่วนรวมครับ
ประธานชมรมคนไม่เคยได้ใข่ กลัวซะที่ไหน เดนตายทั้งนั้น ฮึ่ม 8-)
ร่วมมือเต็มที่เลยล่ะ
หลายๆเสียงช่วยกันครับ
อย่างที่พี่หมออี้ท่านกล่าวไว้น๊ะครับ คงไม่ใช่เป็นเพียงเฉพาะนกปากขอ เท่านั้นน๊ะครับ
ถ้าออกกฎออกมา กลุ่มผู้เลี้ยงทุกชนิดพันธุ์ที่ต้องเกี่ยวข้องและมีผลกระทบด้วยทั้งหมด เช่น
1. ผู้เลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์บก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
2. ผู้เลี้ยงนกปรอทหัวจุก และกลุ่มอื่น ๆ
3. ผู้เลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลา
4. อื่น ๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องครับ
น่าจะต้องรู้และรับทราบ เมื่อรวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่น ก็นับได้ว่า จะเป็นกลุ่มพลังที่ใหญ่พอสมควรขอรับกระผม
แล้วจะอย่างไร ก็แจ้งด้วยขอรับกระผม
อ้าว!!!! พวกเรา ชาวปลาซิวปลาสร้อย ขอเสียงหน่อยครับ สู้ๆๆ
จะก่อม็อบ อีกแล้ว
ถ้าจะทำให้สำเร็จ เอาสัตว์เลี้ยงไป ที่มีอยู่ไปปิดถนน
แล้วเลี้ยงกันตรงนั้นเลย เอาไปแยอะๆๆนะ
แต่อย่างไปใกล้เขาดินนะ
เดียวเค้าเอาไปเลี้ยงให้ฟรี
หรือว่า คนเค้าจะไม่เที่ยวเขาดิน มาเที่ยวตรงนี้แทน
:-D :-D :-D :-D
ทุกรัฐบาลคุยกันดีๆๆไม่ค่อยได้ผล ต้องปิดถนน
:lol: :lol: :lol:
ผมแค่คนก็ม็อบตัวปลอม พี่เชษฐ์นั่นแหละคนก็ม็อบตัวจริง อิ อิ
พอดีคืนนี้ไม่มีอะไรทำเลยหยิบหนังสือ รายชื่อสัตว์ตาม พรบ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาดูรายชื่อสัตว์ติดไซเตส
ถ้าเรามองโลกในแง่ดีแล้ว ผมบอกได้เลยว่าคนเลี้ยงนกก็ยังมีโชคที่ดีอยู่ไม่น้อยเพราะเรายังมีตัวเลือก นกที่ไม่ติดไซเตสให้เลี้ยงได้อีกเยอะ ครับเมื่อเทียบกับ สัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ที่คนมักเลี้ยงกันเช่น สัตว์จำพวก Reptile นี้โดนจะเรียกได้ว่าหมดทุกอย่างเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าเต่า กิ่งก่า งู กบ ฯลฯ โดนหมด
อันต่อมาปลาอโรวาน่าหรือปลาตะพัดบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นทอง เป็นแดง เป็นเขียว ที่เห็นกันเกลื่อนตามสวนหรือร้านขายปลาต่าง ๆ นี่ละครับลำดับที่ 905 ไซเตส 1 เลยบอกได้เลยผมเองก็เข็มขัดสั้นเหมือนกัน
ผมคิดว่า web ของพวกเราน่าจะทำแบบ web นี้บ้างนะครับ ลองคลิ๊กเข้าไปอ่านๆดูกัน ผมว่าโอเคเลยนะครับ ถ้าหากพวกเราจะรวมพลังกันเสนอร่าง พ.ร.บ.ฯ ดูอ่ะครับ http://www.noksiam.com/index.php
ผมคิดว่าแต่ละเสียงของแต่ละคนน่าจะมีพลังมากพอครับ
ขอตีหน้าเศร้า เล่าความจริงให้ฟังหน่อยนะครับว่า
ปีที่แล้ว ผมเริ่มเลี้ยงนก ลงทุนไปประมาณ 2 แสนบาท ขายผลผลิตได้ประมาณ 30,000 บาท ไม่คิดค่าแรงงาน โชคดีที่แทบไม่มีการสูญเสีย ทำให้ต้นทุน 2 แสนยังอยู่เกือบครบ คิดเป็นผลตอบแทน 15% น่าสนใจบ้าง
หากผมต้องเสีย ค่าธรรมเนียมการเพาะพันธุ์ 5 หมื่นบาท และค่าอนุญาตขาย 1 หมื่น ค่าครอบครองอีก 1 หมื่น คำตอบคือ คุ้มเห็นๆ
หากผมไม่ได้เพาะ จับมาขายไป เสีย 1 หมื่น ยังพอมีเหลือ น่าสนใจที่จะทำมากกว่า
ปัญหาคือ ผมจะไปขายใคร ในเมื่อคนเลี้ยง 1 คู่ ต้องเสียไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นบาทในปีแรก และ 35000 บาทในปีต่อๆไป
ถ้า พรบ นี้ใช้จริง คงจะจับมาย่างดีกว่า ปล่อยไป มันก็ตาย อีกทั้งเจ้าของอาจถูกจับดำเนินคดี ฝืนเลี้ยงต่อไป มีแต่คุ้มกับคุ้ม
หวังว่า ผู้ออกกฏ คงจะเข้าใจและเห็นใจด้วยนะครับ
น่าเสียดายจังครับ .........
กับวงการการเลี้ยงนกของไทย ผมเพิ่งจะเลี้ยงเมื่อปีก่อน ไม่ได้คิดที่จะเพาะขาย ผมเลี้ยงเพื่อแก้เครียด แก้เหงา ไว้เล่นด้วยเวลากลับบ้าน ปัญหาอยู่ที่ว่านกที่เลี้ยงอยู่ในบัญชีด้วยสิครับ(เป็นนกไทย 6 ตัว โม่ง 4 ขุนทอง 2) นกทีเลี้ยงจะปล่อยเช้า-เย็น ตลอด
......ผมเห็นว่าน่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีนกต้องห้าม ได้เอาไปขึ้นทะเบียนฟรี หรือเสียค่าทำเนียมเล็กน้อย แค่นี้ก็น่าจะพอนะครับแทนที่จะเรียกเก็บราคาแพงซึ่งทำให้คนเลี้ยงต้องหาทางออกไปในทางที่แย่ โดยการปล่อยนก หรือ เอามาแกง(เคยเห็นแถวบ้าน)
.........อย่างที่พี่ๆหลายๆท่านพูดครับ ว่าการที่เพาะนกได้ก็เป็นเครื่องยืนยันได้แล้วมิใช่หรือว่านกนั้นจะไม่สูญพันธุ์
อ้างถึงLoveBirds เป็นผู้เขียน:
ผมคิดว่า web ของพวกเราน่าจะทำแบบ web นี้บ้างนะครับ ลองคลิ๊กเข้าไปอ่านๆดูกัน ผมว่าโอเคเลยนะครับ ถ้าหากพวกเราจะรวมพลังกันเสนอร่าง พ.ร.บ.ฯ ดูอ่ะครับ http://www.noksiam.com/index.php
ผมคิดว่าแต่ละเสียงของแต่ละคนน่าจะมีพลังมากพอครับ
เห็นด้วยกับคุณ LoveBirds เพื่อคนรักนกที่งบประมาณมีน้อย (อย่างผมเป็นต้น อิ อิ..)
ขณะนี้ร่างหนังสือฉบับดังกล่าวได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอผลการเจรจาจากผู้ใหญ่บางสมาคมฯ อยู่
ทีนี้ เราก็ต้องรวมพลังกันแล้ว ท่านใดที่ประสงค์จะเข้าชื่อเพื่อชี้แจงผลกระทบ และเสนอแก้ไขร่างพรบ. ฉบับนี้ กรุณาส่ง e-mail มายัง sompon_fp@hotmail.com ผมจะส่งแบบฟอร์มไปให้
ก็หวังว่าทุก ๆ ท่านจะให้ความร่วมมือให้มากที่สุด และด่วนที่สุด เพื่อส่วนรวมครับ