อยากทราบโรคนี้ว่าเป็นยังไง แล้วเกิดกับกระตั้วอย่างเดียวหรอ แล้วพอมีวิธีสังเกตไหมถ้านกเป็นโรค pbfd ควรดูอาการอย่างไร ช่วยๆๆตอบหน่อยครับ
( ลองอ่านดูน่ะครับ) นกในตระกูลนกแก้ว (Psittacines) บางครั้งก็เรียกว่านกปากขอ (Hook Billed Bird) จัดเป็นนกที่ได้รับความนิยมและนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงกันอย่างมาก เนื่องจากสีสันหลากหลาย สวยงามฉลาดฝึกง่าย บางชนิดพูดเลี่ยนเสียงได้ดี มีหลายขนาดให้เลือก เลี้ยงง่าย (กินพืชเป็นหลัก) แข็งแรงและอายุยืน สำหรับในบ้านเราแล้วนกตระกูลนกแก้วที่ได้รับความนิยมมากเห็นจะได้แก่นกในกลุ่ม "นกกระตั้ว" (Cockatoo) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันนกกระตั้วสามารถขยายพันธุ์ในฟาร์มได้เป็นจำนวนมาก นกที่นำมาขายในตลาดสัตว์เลี้ยงจึงมีส่วนหนึ่งที่เป็นนกเกิดจากฟาร์มซึ่งผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาหลายชั่วอายุแล้ว ขณะเดียวกันเนื่องจากความที่มีผู้นิยมสูง ตลาดกว้าง บางรายจึงใช้วิธีลักลอบจับลูกนกจากรังตามธรรมชาติออกมาขายเพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการลงทุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ และรอการขยายพันธุ์ลูกนกที่ได้มาด้วยวิธีเหล่านี้มักจะมีปัญหาทางสุขภาพเนื่องจากขาดมาตรฐานการเลี้ยงและขยายพันธุ์ที่ถูกวิธี รวมถึงการลักลอบนำมาขายซึ่งปราศจากการควบคุม และกำจัดโรคต่าง ๆ สัตวแพทย์จึงพบปัญหาที่ต้องแก้ไข และค่อนข้างเรื้อรังอยู่เนือง ๆ
นกตระกูลนกแก้วที่ได้รับความนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงอีก คือ นกแก้วอาฟริกัน เกรย์นกแก้วอะเมซอน นกหงส์หยก นกเลิฟเบิร์ด นกคอกคาทีล นกแก้วอิเลคตัส และนกมาคอร์ ซึ่งมีถิ่นที่มาแตกต่างกันตั้งแต่อเมริกาใต้ อาฟริกา ไปจนถึงออสเตรเลีย
การแยกเพศนก
เราสามารถแยกเพศนกออกได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. ใช้ความแตกต่างที่ปรากฏภายนอกให้เห็น เช่น สีขน สีปาก รูปร่าง ขนาด ฯลฯ
2. ขนาดความแตกต่างของช่องเชิงกราน
3. ตรวจดูอัณฑะ และรังไข่โดยใช้กล้องส่องตรวจภายในช่องท้อง
4. การตรวจ DNA จากเลือด หรือโคนขน
5. ดูพฤติกรรมจำเพาะของแต่ละเพศ
โรคสำคัญที่ควรรู้ของนกตระกูลนกแก้วและการรักษา
* Chlamydiosis
Chlamydiosis หรือ Psittacosis หรือ Ornithosis หรือ Parrot Fever หรือไข้นกแก้ว เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในตระกูลนกแก้ว (Psittacine) และนกพิราบ (Columbinidae) สามารถติดต่อถึงมนุษย์ได้เช่นกัน
สาเหตุ :
เกิดจากเชื้อ Chlamydia หรือ Chlamydia psittaci ที่ถูกขับออกมากับน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของนกป่วย ซึ่งสามารถปลิวเป็นละอองเล็ก ๆ เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของนกตัวอื่นหรือปะปนกับน้ำและอาหารที่กินเข้าไป ทำให้เกิดการแพร่ระบาดและติดเชื้อนี้
อาการ :
1. ซึม ไม่กินอาหาร
2. น้ำหนักลด ผอมอกแหลม ขนยุ่งเหยิงสกปรก
3. ท้องร่วง ปัสสาวะที่ปนออกมาเป็นสีเขียวมรกต (Biliverdinuria) ซึ่งเป็นจุดเด่นจำเพาะของโรคนี้
4. ตาอักเสบ
5. โพรงจมูกอักเสบ
6. หายใจลำบาก
7. อาจชัก หรือเป็นอัมพาตตอนท้ายของลำตัว
การตรวจวินิจฉัย :
1. จากประวัติและอาการที่ปรากฏตลอดจนปัสสาวะที่เป็นสีเขียวก็พอช่วยได้บ้าง
2. ตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวิธี Direct Complement Fixation (DCF), Latex Agglutnation (LA) หรือแยกเชื้อโดยตรง ฯลฯ
3. ผ่าซากชันสูตรจะพบวิการที่เห็นด้วยตาเปล่าที่เป็นข้อวินิจฉัยสำคัญ คือ Hepatomegaly, Splenomegaly ผนัง Air Sacs หนาและขุ่น และ Fibrinous endocarditis
การรักษา :
1. Chlortetracycline ผสมอาหาร ขนาด 5000 ppm. กินติดต่อกันนาน 30 วัน
2. Oxytetracycline ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 75-100 มก./กก.
3. Doxycyline ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 100 มก./กก. ทุก 7 วัน
4. ถ้านกไม่กินอาหารให้ใช้การรักษาประคับประคองเสริมไปตลอด
คำแนะนำ :
1. นกในตระกูลนกแก้วทั้งหลายควรให้การป้องกันโรคนี้โดยใช้ Chlortetracycline ผสมอาหารขนาด 0.5 มก./อาหาร 1 กรัม กินติดต่อกัน 45 วัน
2. ควรเลือกซื้อนกจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น ฟาร์มนกที่มีคุณภาพ
3. แยกนกที่มีอาการน่าสงสัยออกมาทำการตรวจและรักษา
4. โรคนี้สามารถติดต่อจากสัตว์มาถึงคนและเป็นอันตราย ดังนั้นต้องแจ้งให้เจ้าของสัตว์ทราบและป้องกันเสียแต่เริ่มเลี้ยง
5. โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ใช้เวลาพอสมควร
Psittacine Beak and Feather Disease
อาจเรียกย่อ ๆ ว่า PBFD หรือโรคไวรัสปากและขนในนกแก้ว เดิมทีครั้งแรกพบว่าเกิดในนกกระตั้วก่อนจึงเรียกว่า Cockatoo Beak and Feather Disease หรือ CBFD แต่ต่อมาพบว่าเกิดได้กับนกทุกชนิดในตระกูลนกแก้ว (Psittacine) จึงเปลี่ยนเป็นชื่อดังที่ใช้ในปัจจุบัน
สาเหตุ :
เกิดจาเชื้อไวรัส คือ Diminuvirus ซึ่งเป็นไวรัสชนิดใหม่อยู่ในกลุ่ม Microvirus สามารถติดต่อได้ง่ายและรวดเร็วผ่านทาง fecal-oral route
อาการ :
1. ความผิดปกติของจงอยปาก และเล็บ คือ
1.1 งอกยาวเร็วกว่าปกติ
1.2 มีรอยร้าว เปราะ แตกง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปาก
1.3 ผิวมันกว่าเดิม
1.4 จงอยปากที่หัก หรือเล็บอาจเกิดลักษณะแผลเรื้อรังจนถึงเนื้อตาย
1.5 ปากบนและล่างบิดเบี้ยวสบกันไม่สนิท
2. ความผิดปกติของขน คือ
2.1 ขนหลุดร่วงบริเวณลำตัว หัว และปีกอย่างรวดเร็ว
2.2 ขนใหม่เกิดขึ้นมายังไม่ทันจะสมบูรณ์เต็มเส้นก็หลุดร่วงออกไปโดยมีลักษณะคอดตรงโคนหรือ บิดเบี้ยว
2.3 ขนอ่อนขึ้นประปรายโดยทั่วไป
2.4 ในระยะท้าย ๆ มักไม่มีขนเหลือ
การตรวจวินิจฉัย :
1. ใช้ลักษณะที่ปรากฏเป็นอาการเด่นชัดบริเวณจงอยปาก เล็บ และขน เป็นตัวบ่งชี้วินิจฉัย
2. การตรวจทางจุลพยาธิวิทยาของรากขนจะพบ intracytoplasmic inclusion bodies ใน macrophage และ epidermial cell
3. การตรวจวินิจฉัยทางชีวโมเลกุล เช่น ใช้ PCR ตรวจหาเชื้อ
การรักษา :
ยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ นกที่ป่วยด้วย PBFD จะตายโดยโรคแทรกซ้อนภายใน 2 ถึง 4 ปี การรักษาจึงเป็นเพียงป้องกันโรคแทรกและสร้างความแข็งแรงแก่นกเช่น ให้ยาปฏิชีวนะ วิตามินและฮอร์โมนช่วยเป็นระยะ ๆ
คำแนะนำ :
1. ทำการฆ่าเชื้อกรงและสถานที่ใกล้เคียง ซึ่งนกป่วยอาศัยอยู่ โดยการล้าง ขัดถู และฟอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
2. หากมีการเกิด PBFD ของนกที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ให้ยุติการขยายพันธุ์ อย่างน้อย 2 ปี ถึง 3 ปี และกำจัดตัวที่ป่วยออกไปจากโปรแกรมการขยายพันธุ์
3. แยกนกป่วยไปให้ห่างไกลจากนกปกติ และมีการป้องกันการแพร่กระจายของโรคนี้อย่างเข้มงวด
4. PBFD ยังรักษาไม่หา
PBFD
:-( :-( :-( ตัวนี้ใช่ไหม คะ
อ้างถึงโดย Noru เมื่อ 2010/10/28 16:02:30 ตัวนี้ใช่ไหม คะ
น่าจะใช่น่ะครับคงจะหนาวเเน่เลยเเบบนี้ :-o :-o :-o
เห็นรูปนกที่เป็นไก่ย่าง ทีไร รู้สึกสงสาร ทุกที ครับ :-( :-( :-(
thanks for info ka khun Birdstalk
"PBFD ยังรักษาไม่หา"
what a sad reality...
[youtube=425,350]http://www.youtube.com/watch?v=t7RBzz33Ro8[/youtube]
Dr. Ross Perry เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนกและเป็นคนแรกที่ให้คำจำกัดความ โรค PBFD ในปี 1973 ปัจจุบันท่านยังคงศึกษาหาวิธีรักษาโรคนี้อยู่
ถ้ามีคำถามเกี่ยวกับโรค สามารถติดต่อได้โดยตรงทาง http://www.drrossperry.com.au/