siamphoenix.com

หมวดเสวนา => กระดานเสวนา => หัวข้อที่ตั้งโดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 10, 2010, 05:57:36 หลังเที่ยง

ชื่อ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 10, 2010, 05:57:36 หลังเที่ยง
จากปัญหาที่เพื่อนสมาชิกที่อยู่ต่างจังหวัดโพสถามมาและโทรศัพท์มา มักมีปัญหาอาหารย่อยช้าและไม่ย่อย ก็อยากจะช่วยแก้ปัญหานี้ให้จบไป  เพราะเมื่อหลายปีก่อนก็มีพ่อค้าจากกรุงเทพฯ มาซื้อลูกป้อนซันผม ผมให้ดูนกเป็นที่พอใจ เขาตกลงซื้อไป  พอพ่อค้ากลับถึงกรุงเทพฯ ก็เริ่มป้อนอาหาร รอจนถึงเย็นอาหารก็ยังไม่ย่อย ฏ็เลยโทรมาหาถาม เชิงต่อว่า หาว่าผมเอานกไม่ดีมาขายเขา  ด้วยความที่พอจะมีหลักวิชาอยู่บ้างก็อธิบายจนเข้าใจกันก็จบกันไปก็ไม่ได้ใส่ใจมาเป็นเวลานาน ตอนหลังก็เริ่มมีเพื่อนสมาชิก โพสถามเกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย  ก็บอกวิธีรักษา ก็รอดหมด  มาไม่กี่วันนี้ขออนุญาตเอ่ยนามหน่อย คุณSODA ได้สอบถามเรื่องการย่อย ก็แนะนำไปแต่จังหวัดที่คุณSODAอยู่นั้นหายาที่บอกไม่ได้  มาคอว์2ตัวในรูปก็เป็นของเพื่อนสมาชิกที่อุดร เอามาฝากผมเลี้ยงสักระยะหนึ่ง   มีแขกมาหาว่างๆแล้วจะมาเล่าต่อถึงวิธีการดูแล ไม่ให้เกิดปัญหาอารย่อยช้าและไม่ย่อย ขอตัวก่อนครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: Guest เมื่อ พฤศจิกายน 10, 2010, 07:03:31 หลังเที่ยง
รอฟังเลยครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: SODA เมื่อ พฤศจิกายน 10, 2010, 09:45:34 หลังเที่ยง
ขออนุญาติให้ข้อมูลเพิ่มเติมนิดนึงครับ  เนื่องจาก จ. ที่ผมอาศัยอยู่ห่างจากบางกอกประมาณ 500 กม.  เวลาผมไปรับนกจากบางกอกจะขับรถส่วนตัวไปครับ  หลังสุดนี้ไปรับมาคอว์มา 3 ตัว คนละช่วงเวลากันนะครับ พอกลับมาถึงบ้านมีปัญหาเรื่องระบบการย่อยถึง 2 ตัว ตัวล่าสุดนี้ร้ายแรงถึงขั้นต้องเสียเค้าไปครับ  ส่วนนึงคาดว่าน่าจะมีปัญหามาตั้งแต่ต้นทางแล้วเพราะได้ข้อมูลมาว่าแม่ค้าเค้าค่อนข้างจะคำนึงเรื่องต้นทุนมากเกินไปทำให้ ป้อนอาหารนกในแต่ละวันค่อนข้างน้อย นกจึงไม่ค่อยแข็งแรง พอเดินทางไกล นกก็เลยอ่อนเพลีย  แต่ตัวนึงก่อนหน้านั้นเจ้าของเดิมดูแลเป็นอย่างดีนกค่อนข้างสมบูรณ์ทำให้ปรับสภาพนกฟื้นตัวได้เร็ว  ก็อยากจะบอกเตือนเพื่อนสมาชิกถ้ารู้ว่าจะต้องนำนกเดินทางไกล ๆ  อยากจะให้คำนึงถึงความสมบูรณ์ที่สุดของตัวนกลูกป้อนด้วยครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 10, 2010, 10:05:50 หลังเที่ยง
โอย ง่วงนอนขอตัวไปนอนก่อน พรุงนี้จะมาต่อกระทู้ครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: Guest เมื่อ พฤศจิกายน 10, 2010, 11:02:40 หลังเที่ยง
อายุลูกป้อนที่เหมาะสมในการเคลื่อนย้าย ในระยะทางน้อยกว่า 500 กม กะ น้อยกว่า 1000 กม ครับ มีพอเป็นแนวทางไหมครับ และฝากส่งทางรถทัวร์กะไปรับเองครับ อายุที่เหมาะสมเท่าไรครับ ขอบคุณครับ ช่วงนี้ผมมีแต่คำถามครับ  ;-)  ;-)  ;-)  ;-)
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2010, 07:22:09 ก่อนเที่ยง
อ้างถึงsunjieke เป็นผู้เขียน:
อายุลูกป้อนที่เหมาะสมในการเคลื่อนย้าย ในระยะทางน้อยกว่า 500 กม กะ น้อยกว่า 1000 กม ครับ มีพอเป็นแนวทางไหมครับ และฝากส่งทางรถทัวร์กะไปรับเองครับ อายุที่เหมาะสมเท่าไรครับ ขอบคุณครับ ช่วงนี้ผมมีแต่คำถามครับ  ;-)  ;-)  ;-)  ;-)

ขอตอยคำถามคุณ sunjieke ก่อนครับ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุและการเก็บรักษา  ผมรู้จักกับคนเลี้ยงนกที่สุราษ สั่งนกซันที่กรุงเทพฯ พอไปรับนกเปิดกล่องมาดู ตกใจ  นึกว่าลูกหนู  ฉะนั้น คิดว่าคงขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของลูกนก บรรจุภัณฑ์ และการเก็บรักษา
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: Guest เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2010, 08:01:40 ก่อนเที่ยง
ขอบคุณครับคุณ put 8-)
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2010, 09:47:27 ก่อนเที่ยง
มาต่อครับ ปัญหาที่มักทะเลาะกันไม่จบสิ้นระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ  แต่ผู้ขายย่อมไม่รับผิดชอบอยู่แล้ว ของออกจากร้านไปแล้ว หลังจากออกจากร้าน ทุกอย่างก็เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ ถึงแม้ว่าบางกรณีอาจผิดพลาดมาจากผู้ขายก็ตาม  วิธีการดูแลเบื้องต้นเมื่อเริ่มเดินทาง  
ไม่ควรให้พ่อค้าป้อนอาหารให้ ถึงแม้ว่าอาหารจะหมดกระเพาะแล้วก็ตาม เพราะอุณหภูมิแตกต่างจากอยู่ที่ร้าน จะทำให้ร่างกายนกปรับตัวไม่ทัน ระบบย่อยก็จะเริ่มมีปัญหา  พอถึงบ้าน ด้วยความเป็นห่วงก็ป้อนอาหารในปริมาณมากก็ยิ่งไปซ้ำเติมให้มีอาหารใหกระเพาะทั้งใหม่และเก่ามากขึ้น  แต่ระบบย่อยก็ยังพอทำงานได้แต่มักจะบีบรัดส่วนที่เหลวลงก่อน มักเหลือส่วนที่แห้งของอาหาร เมื่อเจ้าของเห็นว่าพอย่อยได้บ้างก็ป้อนอาหารเหลวให้อีกก็ปัญหาเดิมคือดูดซึมแต่น้ำเหลือแต่อาหารใว้ พอข้ามคืนอาหารก็จะบูด เกิดเชื้อราด้วย  ถึงตอนนี้อาหารก็ไม่มีการดูดซึม ก็ต้องทำการล้างกระเพาะ แล้วให้น้ำเกลือหรือน้ำเกลือแร่และยาฆ่าเชื้อราทิสตาติน เดี๋ยวมาต่ออีกครับ ค่อยๆอธิบาย อ่านทีเยอะเดี๋ยวจะสับสน
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: onlyA เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2010, 10:08:02 ก่อนเที่ยง
ขออนุญาตลุงพุฒครับ ผมขอปักหมุดกระทู้นี้นะครับเพื่อเป็นข้อมูลให้กับเพื่อนสมาชิกครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2010, 05:04:12 หลังเที่ยง
มาต่ออีกครับ  การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้
1.เมื่อบรรจุนกใส่กล่องเป็นที่เรียบร้อย เมื่อเดินทางถึงบ้านปัจจัยแรกคือให้อาหารนก หลายคนมักเคยชินกับการป้อนอาหารนกครั้งละมากๆ(ขึนอยู่กับขนาดนก) หากนกตัวนั้นเกิดอ่อนแอจากการเดินทาง ระบบย่อยก็จะเริ่มทำงานช้า เมื่อถึงเวลาให้อาหารอีกมื้อก็มักไม่สังเกตถึงความผิดปกติของตัวนกก็จะป้อนซ้ำไปอีก(ในเมื่อของเก่าพึ่งย่อยไปได้นิดเดียว)  พอถึงเช้าก็ยังย่อยไม่หมดก็ไม่ได้สังเกตเช่นเคย ก็ป้อนอาหารตามปกติ นกก็ยังคงมีปัญหาแบบเดิมคือดูดซึมแต่ออาหารเหลวได้แล้วก๋็จะเหลือกากตกตะกอน ทีนี้ถึงเวลาป้อนอีกเริ่มจะสังเกตเห็นว่ากระเพาะอาหารเริ่มย่อยช้า ก็มักจะคิดว่าต้องให้อาหารเหลวๆจะดีขี้น ก็ทำป้อนอีก ถึงตอนนี้ก็มักจะเห็นว่าอาหารเริ่มไม่ค่อยย่อยแล้ว7-8ชม.ย่อยไปได้นิดเดียวเอง ปัญหาการรักษาผมได้กล่าวใว้หลายครั้งแล้ว ไม่อยากมากล่าวซ้ำอีก  มาเข้าเรื่องการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแบบนี้
2.ควรถามเจ้าของเดิมว่าป้อนอยู่กี่cc. เมื่อลูกนกมาถึงบ้านแล้วเตรียมอาหารป้อนเรียบร้อย ขั้นตอนแรกที่จะป้อน ควรลดความข้นเหลวให้เหลือ1/4ส่วน ปริมาณอาหารลดลงครึ่งหนึ่งที่เคยป้อน กะช..ม.การย่อยอย่างน้อย3ช.ม.ต้องย่อยเกือบหมดแล้ว ถ้าเป็นดังที่กล่าวก็แสดงว่าระบบย่อยทำงานได้เป็นปกติ มื้อต่อมาก็ยังคงต้องป้อนอาหารเหลวๆอยู่อีก พอถึงตอนเช้า อันดับแรก ต้องสังเกตที่กระเพาะอาหารนกก่อนว่า อาหารถูกย่อยหมดเป็นที่เรียบร้อย จึงค่อยเร่มป้อนอาหารในสัดส่วนที่เหลวอยู่แต่เพิ่มปริมาณอีก25% ย่อยหมดดีวันรุ่งขึ้นจึงค่อยป้อนอาหารข้นหน่อย1/3ส่วนไปตลอด  ใกล้จบแล้วครับเหลืออีกนิดเดียว เดี๋ยวมาต่อ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2010, 08:26:24 หลังเที่ยง
มาต่อให้จบ เมื่อสักครู่พูดถึงการดูแลลูกป้อนที่ย่อยเป็นปกติ ตอนนี้เรามาสังเกตดูว่าอาการย่อยของนกที่ผิดปติ เมื่อเราป้อนอาหารเหลวๆ1/4ส่วนปริมาณครึ่งหนึ่งที่เจ้าของเดิมป้อน  ผ่านพ้นไป3ช.ม.แล้วอาหารที่ป้อนพึ่งย่อยได้ครึ่งเดียว  ชี้ชัดได้ทันทีว่า นกเริ่มมีอาการป่วยแล้ว อาจเริ่มป่วยจากต้นทางหรือไม่ก็ขณะเดินทาง เมื่อเห็นอาการอย่างนี้ ห้ามป้อนอาหารอีกเด็ดขาด  ควรจะให้น้ำอ่นพร้อมยาปฏิชีวนะได้เลย(ด้อกซี่ไซคลีน)  เมื่อก่อนผมเคยให้แต่น้ำอุ่นอย่างเดียว ก็หายแต่มาตอนหลัง ให้ยาเลยดีกว่า เพราะถ้าเกิดไม่หายแล้วก็ต้องให้ยาเหมือนกัน เมื่อให้ยาแล้วถึงเวลาให้อาหารอีกก็ยังคงป้อนน้ำอุ่นต่อ จนรุ่งเช้าเห็นว่าย่อยแห้งกระเพาะ ก็ยังคงต้องให้ยาอยู่และเริ่มให้อาหารเหลวๆก่อน แล้วจึงค่อยปรับปริมาณและความข้นของอาหาร ปัญหาต่างที่มือใหม่บางคนปฏิบติไม่เป็น เช่นการล้างกระเพาะ ก็จะไม่เกิดชึ้น แค่ให้ยาแต่เนิ่นๆนกก็จะอยู่รอดปลอดภัยครับ
สวัสดี
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: kitty75 เมื่อ พฤศจิกายน 11, 2010, 09:09:09 หลังเที่ยง
สุดยอดครับ เป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงมหาศาลเลยครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: aong1 เมื่อ พฤศจิกายน 12, 2010, 02:08:18 ก่อนเที่ยง
อ้างถึงput เป็นผู้เขียน:
มาต่ออีกครับ  การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้
1.เมื่อบรรจุนกใส่กล่องเป็นที่เรียบร้อย เมื่อเดินทางถึงบ้านปัจจัยแรกคือให้อาหารนก หลายคนมักเคยชินกับการป้อนอาหารนกครั้งละมากๆ(ขึนอยู่กับขนาดนก) หากนกตัวนั้นเกิดอ่อนแอจากการเดินทาง ระบบย่อยก็จะเริ่มทำงานช้า เมื่อถึงเวลาให้อาหารอีกมื้อก็มักไม่สังเกตถึงความผิดปกติของตัวนกก็จะป้อนซ้ำไปอีก(ในเมื่อของเก่าพึ่งย่อยไปได้นิดเดียว)  พอถึงเช้าก็ยังย่อยไม่หมดก็ไม่ได้สังเกตเช่นเคย ก็ป้อนอาหารตามปกติ นกก็ยังคงมีปัญหาแบบเดิมคือดูดซึมแต่ออาหารเหลวได้แล้วก๋็จะเหลือกากตกตะกอน ทีนี้ถึงเวลาป้อนอีกเริ่มจะสังเกตเห็นว่ากระเพาะอาหารเริ่มย่อยช้า ก็มักจะคิดว่าต้องให้อาหารเหลวๆจะดีขี้น ก็ทำป้อนอีก ถึงตอนนี้ก็มักจะเห็นว่าอาหารเริ่มไม่ค่อยย่อยแล้ว7-8ชม.ย่อยไปได้นิดเดียวเอง ปัญหาการรักษาผมได้กล่าวใว้หลายครั้งแล้ว ไม่อยากมากล่าวซ้ำอีก  มาเข้าเรื่องการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแบบนี้
2.ควรถามเจ้าของเดิมว่าป้อนอยู่กี่cc. เมื่อลูกนกมาถึงบ้านแล้วเตรียมอาหารป้อนเรียบร้อย ขั้นตอนแรกที่จะป้อน ควรลดความข้นเหลวให้เหลือ1/4ส่วน ปริมาณอาหารลดลงครึ่งหนึ่งที่เคยป้อน กะช..ม.การย่อยอย่างน้อย3ช.ม.ต้องย่อยเกือบหมดแล้ว ถ้าเป็นดังที่กล่าวก็แสดงว่าระบบย่อยทำงานได้เป็นปกติ มื้อต่อมาก็ยังคงต้องป้อนอาหารเหลวๆอยู่อีก พอถึงตอนเช้า อันดับแรก ต้องสังเกตที่กระเพาะอาหารนกก่อนว่า อาหารถูกย่อยหมดเป็นที่เรียบร้อย จึงค่อยเร่มป้อนอาหารในสัดส่วนที่เหลวอยู่แต่เพิ่มปริมาณอีก25% ย่อยหมดดีวันรุ่งขึ้นจึงค่อยป้อนอาหารข้นหน่อย1/3ส่วนไปตลอด  ใกล้จบแล้วครับเหลืออีกนิดเดียว เดี๋ยวมาต่อ

รบกวนถามคุณput ต่อครับ
1.ปัญหานี้(ลูกนกที่ต้องเดินทางไกลๆ)เกิดได้ทุกตัวรึป่าวครับ รึเป็นได้เฉลี่ยกี่%
2.ถ้าเจ้าของเดิม เคยป้อนวันนึง 3 ครั้ง เราต้องป้อนเพิ่มเป็น4-5ครั้งครั้งรึป่าวครับ ในกรณีที่ต้องป้อนอาหารเหลวๆ
3.แล้วถ้าลูกนกต้องเดินทางกลางคืน(ประมาณ4ทุ่ม)กว่าจะมาถึงที่บ้านผมก็ประมาณ6โมงเช้า อาหารคาบสุดท้ายของวันที่ต้องเดินทาง ควรที่จะต้องป้อนรึป่าวครับผม(อาหารเย็น)
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 12, 2010, 07:14:46 ก่อนเที่ยง
รบกวนถามคุณput ต่อครับ
1.ปัญหานี้(ลูกนกที่ต้องเดินทางไกลๆ)เกิดได้ทุกตัวรึป่าวครับ รึเป็นได้เฉลี่ยกี่%

ไม่ทุกตัวครับ บอกไม่ถูกครับว่ากี่%


2.ถ้าเจ้าของเดิม เคยป้อนวันนึง 3 ครั้ง เราต้องป้อนเพิ่มเป็น4-5ครั้งครั้งรึป่าวครับ ในกรณีที่ต้องป้อนอาหารเหลวๆ

แควันเดียวเอง  เพื่อทดสอบว่าระบบย่อยนกเป็นปกติ


3.แล้วถ้าลูกนกต้องเดินทางกลางคืน(ประมาณ4ทุ่ม)กว่าจะมาถึงที่บ้านผมก็ประมาณ6โมงเช้า อาหารคาบสุดท้ายของวันที่ต้องเดินทาง ควรที่จะต้องป้อนรึป่าวครับผม(อาหารเย็น)

ไม่ควรครับ อดอาหารแค่มื้อเดียวเองไม่มีปัญหาครับ ดีกว่ามาถึงเราแล้วยังย่อยไม่หมด  หากเข้าใจการรักษาก็ไม่มีปัญหาครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 12, 2010, 12:38:05 หลังเที่ยง
แหม๋ ชังทันเหตุการณ์จริงๆ ได้เห็นของจริงเลยเพื่อนสมาชิก
เมื่อคืนป้อนอาหารมื้อสุดท้าย เห็นลูกนกตัวหนึ่งกระเพาะอาหารพองใหญ่กว่าอีกตัว ก็แปลกใจ  เช้านี้6.30น.เดินไปดูลูกนก ปรากฏว่าเป็นอย่างที่คิด คืออาหารย่อยไม่หมด จึงรีบให้ยาพร้อมน้ำอุ่น15cc. อีก2ช.ม.เห็นว่ามีการย่อยบ้างก็ให้อาหารเหลวๆ20cc. ผ่านไป5.30ช.ม.เริ่มย่อยดีขึ้นเกือบแห้งกระ ก็เลยป้อนอาหารเหลวๆอีก30cc. รอดูอาการต่อไป เดี๋ยวค่อยโพสรูปครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 12, 2010, 03:41:42 หลังเที่ยง
ตอนเที่ยงป้อนอาหารเหลวๆไป30cc. ตอนนี้ย่อยหมดแล้ว 3.30ช.ม.
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 14, 2010, 10:42:56 ก่อนเที่ยง
ให้ยามา3วันแล้วครับ คิดว่าคงหายดีแน่นอน จะตอบสนองการกินดี ตื่นตัวเมื่อเห็นคน  เจ้าของนกได้โทรมาหาผม ก็เลยถือโอกาสถามว่า มาคอว์พันธุ์ไหน ทีแรกก็ไม่ค่อยได้สังเกตเท่าไหร่ คิดว่าเป็นบลูโกลด์ มาตอนที่อาหารเริ่มไม่ย่อย จับจงอยปากนกก็แปลกใจ สีที่จงอยปากเป็นสีงา  ซึ่งแตกต่างจากบลูโกลด์ที่เพื่อนเอามาให้ป้อน  ได้รับคำตอบจากเจ้าของนกว่าเป็นพันธุ์สคาร์เลด ตอนแรกบอกผมว่าช่วยป้อนให้โตหน่อย เมื่อเขาไปรับกลับแล้วจะได้ดูแลง่าย  ผมตอบกลับไปว่า จะเล็ก จะโต ถ้าไม่มีความรู้ในการดูแล ตายได้ทั้งนั้นครับ (มือใหม่ใจถึง) ตกลงวันเสาร์ที่20จะมารับนก  ผมบอกกลับไปว่า คงต้องเสียค่าโทรศัพท์มากหน่อยนะครับ เพราะความรู้ที่คุณรู้มาอาจผิดก็ได้ จะทำอะไรใหม่โทรมาถามผมก่อน
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: moonkiss เมื่อ พฤศจิกายน 14, 2010, 02:30:39 หลังเที่ยง
พี่putครับ ปกติdoxyพี่ผสมอย่างไร กะให้อย่างไร และกี่วันครับ และถ้าพี่ๆเพื่อนๆท่านไหนติดหายาไหนไม่ได้ยินดีช่วยเหลือนะครับ จะเอายาคนส่งให้แทน
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 14, 2010, 07:40:09 หลังเที่ยง
อ้างถึงmoonkiss เป็นผู้เขียน:
พี่putครับ ปกติdoxyพี่ผสมอย่างไร กะให้อย่างไร และกี่วันครับ และถ้าพี่ๆเพื่อนๆท่านไหนติดหายาไหนไม่ได้ยินดีช่วยเหลือนะครับ จะเอายาคนส่งให้แทน

doxy มีโดสสำหรับสัตว์ปีกครับ 25ม.ก.ต่อน.น.นก1ก.ก.  ให้วันละ2ครั้ง  3-5 วันครับ
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: aong1 เมื่อ พฤศจิกายน 14, 2010, 09:07:20 หลังเที่ยง
เจ้าของนกได้โทรมาหาผม ก็เลยถือโอกาสถามว่า มาคอว์พันธุ์ไหน ทีแรกก็ไม่ค่อยได้สังเกตเท่าไหร่ คิดว่าเป็นบลูโกลด์ มาตอนที่อาหารเริ่มไม่ย่อย จับจงอยปากนกก็แปลกใจ สีที่จงอยปากเป็นสีงา ซึ่งแตกต่างจากบลูโกลด์ที่เพื่อนเอามาให้ป้อน ได้รับคำตอบจากเจ้าของนกว่าเป็นพันธุ์สคาร์เลด


ตอนแรกผมก็ยังว่าอยู่ ว่าใช่บลูโกลล์เหรอ
เพราะเห็นสีที่จงอยปากแล้ว
ว่าแต่เจ้าของนก ชั่งใจถึงนะครับที่ยังไม่เคยป้อนลูกป้อนเลย
พอมาถึงปุ๊ป(พึ่งหัดป้อน)ก็กระโดดเล่นของแพงเลย แต่ผมไม่ได้ว่า
เจ้าของนกนะครับ แต่กลับยอมรับในความใจถึง ครับ 8-)  8-)  8-)  8-)
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: put เมื่อ พฤศจิกายน 21, 2010, 08:18:25 ก่อนเที่ยง
หลังจากดูแลให้สักระยะ วันนี้เจ้าของก็มารับนกกลับไปดูแลต่อแล้วครับ เพียงแต่ผมบอกว่าหากมีปัญหาเล็กๆน้อยอย่าตัดสินใจทำไปเอง โทรถามผมก่อน
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: Guest เมื่อ ธันวาคม 21, 2010, 08:20:24 หลังเที่ยง
ขอขอบตุณสำหรับข้อมูลครับ ได้ความรู้เลยทีเดียว
ขอขอบพระคุณอย่างสูง
ป็อป-ชลบุรี
ชื่อ: ตอบ: ปัญหาที่มักเกิดกับลูกป้อนที่ต้องเดินทาง
โดย: Guest เมื่อ พฤศจิกายน 17, 2011, 02:04:04 หลังเที่ยง
เห็นอย่างงี้แล้วเกิดกิเลสจังค่ะอยากลองเลี้ยงบ้าง(มือใหม่หัดเลี้ยง1 วันค่ะ)
เพิ่มได้ลูกชายวัย 3 เดือนมา 1 ตัว กำลังน่าชังเลยค่ะไว้จะลงรูป(ลืมสายพันธุ์ค่ะ)