คุณ.put และ คุณ.sparrow ครับ

เริ่มโดย aong1, ตุลาคม 13, 2009, 08:25:48 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

aong1

คือผมอยากทราบว่าในกรณีนกของคุณ aey ที่ป่วยด้วยโรค PBFD
นั้นสาเหตุมาจากไหนครับ ผมจะได้ป้องกันถูก ใช่มาจากการที่นกนั้นไปกัดเอาพวกสิ่งของที่มีสารปรอท,โลหะหนัก เหรอครับ มันเกี่ยวข้องกันด้วยเหรอครับ เพราะทุกวันนี้นกของผมชอบกัดแทะพวกประเภทพลาสติกซะด้วยสิ และโรค PBFD นั้นพวกพาหะนำมีอะไรบ้างครับ

ปล.โรคนี้นั้น ผมเคยเห็นคุณput และคุณsparrow อธิบายมาแล้ว
แต่รู้สึกว่าจะติดมากจาก นกสู่นก ใช่รึปล่าวครับผม
มือใหม่ในวันนี้...คือเซียนนกในวันข้างหน้า :pint:

sparrow

ตัองขออภัยครับที่ผมไม่ได้อ่านข้อความของคุณ aey อย่างละเอียด

สำหรับโรค PBFD นั้น เป็นตัวย่อของชื่อ Psittacine Beak and Feather Disease ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ติดกันในหมู่ของนกปากขอ (ตามชื่อโรค ; Psittacine = นกปากขอ หรือนกแก้วนั่นเอง)   โรคนี้นกปากขอบางชนิดจะแสดงอาการให้เห็นชัดเจน เช่นในกลุ่มของกระตั้ว  แต่ในนกบางชนิดอาจจะหายได้เอง เช่น กลุ่มของโนรี เลิฟเบิร์ด หรือมาคอว์ขนาดใหญ่บางชนิด  แต่ก็จะเป็นตัวอมโรคและถ่ายเชื้อให้นกชนิดอื่นได้

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสครับ  โรคนี้จะติดต่อโดยการหายใจโดยตรง  สิ่งคัดหลั่งจากกระเพาะพัก  หรืออาจจะเป็นอุจจาระ  หรือไวรัสอาจจะมากับเศษฝุ่นขนก็ได้  โดยไวรัสอาจจะปนเปื้อนมากับสิ่งของเครื่องใช้ กรง ฯลฯ  จริงๆแล้วผมเคยแสดงความเห็นในเวปนี้เมื่อนานมาแล้วว่าเจ้าของนกทั้งหลายหากได้ไปฟาร์มอื่นๆ  หรือไปเดินในตลาดนัดสัตว์เลี้ยงเช่นในสวนจตุจักร  เมื่อกลับถึงบ้านก็ควรอาบน้ำก่อนที่จะไปเล่นกับนกของเรา  

ปกติหากเป็นไปได้ผมมักจะบอกเพื่อนฝูงว่าเวลาเอานกใหม่เข้าฟาร์มก็ควรจะตรวจโรคนี้ด้วย   ส่วนตัวผมเองก็โชคดีหน่อยที่มีเครื่องไม้เครื่องมือไว้ตรวจเอง

สำหรับนิสัยชอบกับแทะของนกในตระกูลปากขอนี้ก็คงเป็นเรื่องปกติครับ  ตัวเจ้าของเองก็คงต้องทำความเข้าใจและต้องปรับการใช้อุปกรณ์ครับ    การใช้อุปกรณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นกรง หรือของเล่น (enrichment) ก็ต้องระวังเรื่องการกัดแทะครับ  เพราะนกมักจะได้รับโลหะหนักจากของพวกนี้และสะสมในร่างกาย  ส่วนมากที่จะเจอปัญหาในนกบ่อยๆก็คือพิษจากตะกั่วกับสังกะสี  ซึ่งก็จะทำให้นกแสดงอาการคล้ายๆกัน เช่น ท้องเสีย  อาหารเคลื่อนตัวช้า  หรือหากเป็นมากๆก็อาจพบเลือดปนในอุจจาระได้ เป็นต้น   ซึ่งโรคพวกนี้รักษายากครับ  เพราะมักจะเป็นลักษณะสะสม

ตัวอย่างเช่น  พวกกรงต่างๆก็ไม่ควรใช้ที่มีเสีเคลือบอยู่  หรือหากเป็นกรงลวดผมก็มักจะแนะนำให้ล้างและขัดด้วยน้ำส้มสายชู  แต่ก็ต้องทำใจนะครับว่ากรงจะมีอายุการใช้งานลดลง
laboratory of Animal Reproductive Biotechnology
รับบริจาคนกที่สิ้นชีวิตแล้วเพื่อการศึกษา......เป็นวิทยาทานนะคร้าบบบบบบบบ

aong1

ขอบคุณมากครับ คุณ sparrow

ปล.สงสัยเรื่อง กลัวว่านกจะได้รับสารจำพวกโลหะหนัก นี้จะเลี่ยงไม่ค่อยได้มั๊งครับ
มือใหม่ในวันนี้...คือเซียนนกในวันข้างหน้า :pint: