ูู^^การป้อน แอฟริกันเกรย์..ไม่รู้จะเชื่อใครดี^^

เริ่มโดย TaLo, กันยายน 16, 2008, 06:47:23 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

...

รูปแบบสายป้อน แบบซีรีโคน และไซริ้ง ขนาดที่ใช้ป้อน

สายป้อน ราคาขึ้นอยู่กับขนาด สัก 50 - 80 บาท

ส่วนไซริ้งค์  ขนาด 60 CC  จะราคา 250 บาท

ราคาอาจจะ + - นิดหน่อย ( เพราะซื้อนานแล้ว )

เทคนิควิธีการป้อน  ล้วนแล้ว แต่เป็นเทคนิคเฉพาะตัว  ขึ้นอยู่กับความถนัด  บางคนถนัดแบบใช้ไส้ไก่  บางคนถนัดแบบใช้ช้อนบีบ  บางคนถนัดแบบใช้ไซริ้งค์ป้อน ( ไม่มีสาย )  

แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว และตัวเอง  นกไซด์กลาง และใหญ่ มีโอกาสที่จะสำลักอาหารที่ป้อน ได้ค่อนข้างมากครับ  เพราะช่องหายใจ  จะอยู่บริเวณโคนลิ้น  เมื่อนกกินอาหาร และร้องไปด้วย  โพรงอากาศที่บอกบริเวณโคนลิ้น อาจจะเปิด เพื่อหายใจ  และอื่น ๆ  เวลาป้อน อาหารจากทางปาก หรือหยอดอาหารลงไป  อาหารมีโอกาสที่จะไหลเข้าไป ทำให้เกิดการสำลัก  เข้าน้อย  ลูกนกจามออกมา  เข้ามา  จามไม่ได้  อาจจะถึงขั้นตายได้

รวมถึงการป้อนด้วยสายไส้ไก่ ... ถ้าเข้าไปในหลอดลม  ก็ถึงตายได้เหมือนกันครับ

การป้อนสายซีรีโคน  ดีตรงที่ว่า  ช่องอาหารที่ออกมาจะอยู่บริเวณด้านข้าง  ของสาย  แต่ไม่มีออกช่วงปลายครับ  เมื่อสายแหย่เข้าไปในหลอดลม  นกจะสบัด หรืออาจจะกดเข้าไป จะไม่มีออกมาบริเวณปลาย ครับ  แต่จะออกด้านข้างครับ  ผมว่าป้องกันได้อีกอย่างนึงครับ

พยายามเลือกสายที่มีขนาดใหญ่ ที่เหมาะสมกับนกแต่ละชนิด  อย่าใช้เล็กเกินไป ใหญ่ ๆ เข้าไว้ดีกว่าครับ  

ลองดูครับ

...

ข้อมูลโดยท่าน ทวด ทพ. ชาย ตัน ขอรับกระผม


คำแนะนำในการเลี้ยงดูลูกนกแก้ว

เนื่องจากปัจจุบัน  ได้มีการเพาะขยายพันธุ์นกแก้ว  เพื่อจำหน่ายเป็นสัตว์เลี้ยงกันเพิ่มมากยิ่งขึ้น  ทั้งนกที่มีสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ  และนกที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเซีย  ดังนั้น  ทางชมรม  สยามไอเวียรี่คลับ  จึงได้จัดทำเอกสารนี้ขึ้นมาเพื่อเผนแพร่  เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นแนวทางในการเลี้ยงดูลูกนกอย่างประสพความสำเร็จ  เติบโตเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพ  และมีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป ในอนาคต

   การเริ่มต้นเลี้ยงนกแก้ว  โดยการหาซื้อลูกนกที่ได้รับการป้อนอาหารด้วยมือ  และโตจนสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว นั้น  จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด  หรือหากต้องการที่จะป้อนอาหารลูกนกด้วยตนเอง  ก็ควรที่จะเลือกลูกนกที่มีเส้นขนแหลมเป็นหนาม ๆๆ ( ขนหลอด ) ขึ้นมาบ้างแล้ว  จะปลอดภัยกว่า ที่จะซื้อลูกนกที่มีอายุน้อยกว่านี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ผู้ที่ไม่เคยป้อนอาหารลูกนกมาก่อน

   เลือกลูกนกที่มีดวงตาแจ่มใส  นิ้วเท้าอวบอ้วน  ไม่มีน้ำมูก  ไม่หายใจทางปาก  ปีกแนบชิดลำตัว  ขนรอบ ๆ ก้น ไม่มีคราบสิ่งสกปรก  ในกล่องหรือในตู้ที่ใส่ลูกนกไม่มีกลิ่นเหมืนอันเกิดจากลูกนกท้องเสีย หรือไม่มีคราบอาหารที่ลูกนกขย้อนออกมา  

   อาหารที่ใช้ป้อนลูกนก  ( ไม่ควร )  ใช้อาหารสำหรับเด็กอ่อน  เช่น  ซีรีแรค  ซึ่งมีส่วนผสมของนมอยู่ด้วย นกไม่ใช่สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม  จึงไม่มีเอ็นไซน์แลคเตส  สำหรับย่อยนม เมื่อได้รับอาหารที่มีนม ผสม อยู่ด้วยในปริมาณที่มาก  จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย  หรืออาหารไม่ย่อยได้

   อาหารสำหรับลูกนกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1.   อาหารสำเร็จรูป  ส่วนใหญ่  เท่าที่เห็นกันอยู่นั้น  จะเป็นอาหารสูตรจากต่างประเทศ  ซึ่งจะมีราคาค่อนข้างสูง  และจะมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน  สำหรับลูกนกเมื่อเปรียบเทียบกับอาหาร  ที่ผลิตภายในประเทศ  ราคาจะต่างกันมาก ๆ
2.   อาหารที่ผสมขึ้นเอง  โดยใช้เมล็ดพืช  เช่น  ถั่วเชียว  ถั่วเหลือง  ฟักทอง  ปลายข้าว  แครอท  ข้าวโพด  ไข่ไก่  ต้มรวมกันจนสุกเปื่อย  เติมวิตามินและเกลือแร่  ข้อดี ของอาหารประเภทนี้คือ  สามารถเตรียมได้เอง  ประหยัด  ส่วนข้อเสีย คือ  อาจไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ลูกนกต้องการ
3.   ผลไม้  เช่น  กล้วย  มะละกอ ฯลฯ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้อนอาหาร  มีให้เลือกใช้ดังนี้คือ
1.   ไซริ้งค์  พร้อมกับสายยาง ( ไส้ไก่  จักรยาน  ขนาด ยาว ประมาณ 3 – 5 นิ้ว )  วิธีการป้อน  แบบนี้ ค่อนข้างสะดวก  แต่ความสะดวกต่าง ๆ ก็จะแฝงถึงอันตรายสำหรับลูกนกด้วย  โดยจะแหย่ปลายสายยางเข้าไปในปากลูกนก ( บริเวณด้านข้าง )  ไม่ควรแหย่ลงไปตรงกลางปากลูกนก  เนื่องจาก บริเวณ  ใต้โคนลิ้น  ของลูนกจะเป็นหลอดลม  สายยาง หรือไส้ไก่  อาจจะเข้าไปในหลอดลมได้ ( ถึงตายเชียว )
2.   ไซริ้งค์  พร้อมกับสายยาง ( ชนิดป้อนลูกนกปากขอ โดยเฉพาะ )  ปกติ สลิ้ง  ชนิดนี้  จะไม่ค่อยได้เห็น เข้ามาขาย ตามร้านขายนกต่าง ๆ มากมายนัก  ( มีขายเฉพาะที่ )  โดยจะไม่ต้องห่วง ๆ เรื่องอาหารเข้า หลอดลม  เนื่องจากอาหาร จะออกมาบริเวณ ช่องด้าน ข้างของสายยาง  
3.   ไซริ้งค์  อย่างเดียว  โดยแหย่  ปลายไซริ้ง  ที่บรรจุอาหารเข้าที่มุมปาก  แล้วค่อย ๆๆ บีบ ก้านไซริ้งค์ อย่างช้า ๆ
4.   ช้อนชา  ที่บีบขอบทั้งสองข้าง ห้อเข้าหากัน  ตักอาหารป้อนลูกนกอย่างช้า ๆ ปลอดภัย มากที่สุด  แต่ค่อนข้างจะเลอะเทอะ

คำแนะนำในการป้อนอาหาร
1.   อุณหภูมิของอาหารที่ใช้ป้อนลูกนก  หากเป็นอาหารสำเร็จรูป  ควรมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง  37.7 – 43.3  องศา C  ( 100 – 110 องศา F )
2.   ผสมอาหารตามอัตราส่วนที่ระบุไว้  และเพียงพอต่อการใช้ในแต่ละมื้อ  ปัญหาที่มักจะพบคือในกรณีที่ซื้ออาหารที่แบ่งขายเป็นถุง ๆ  ขอให้สอบถามเรื่องอัตราส่วนผสมที่ชัดเจนด้วย  ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ละยี่ห้อ
3.   หากเป็นผลไม้  ใช้ช้อนขูด ๆ ให้นกกินทีละน้อย  ควรใช้ผลไม้ที่ใหม่สดอยู่เสมอ
4.   ความถี่  ในการป้อนอาหาร
แรกเกิด  ให้ทุก  ๆ   2 ชั่วโมง  ( 9 – 10 ครั้ง ต่อ วัน )
เมื่อถึงวันที่ 8  ให้ทุก ๆ 3.5 – 4 ชั่วโมง  ( 5 – 6 ครั้ง ต่อ วัน )
เมื่อถึงวันที่ 14  ให้ทุก ๆ 5 ชม. ( 4 ครั้ง ต่อวัน )
เมื่อถึงวันที่  24 – 30  ให้ทุก 8 ชม.  (  3 ครั้ง  ต่อวัน )
เมื่อถึงช่วงที่น้ำหนักตัวของลูกนกขึ้นถึงจุดสูงสุด 2 ครั้งต่อวัน

หมายเหตุ :  น้ำหนัก  นกต้องขึ้นทุกวัน  เพียงแต่ว่า จะขึ้นมากหรือน้อย เท่านั้น จะไม่มีการลดลง

   ช่วงอายุที่ลูกนกมีน้ำหนักสูงสุดนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธุ์  เมื่อถึงตอนนั้น  ลูกนกจะมีน้ำหนักตัวมากกว่า พ่อแม่นก  และหลังจากนั้นจะกินอาหารน้อยลง  น้ำหนักตัวจะค่อย ๆ ลดลง ๆ และได้เวลาที่จะเริ่มฝึกกินอาหารด้วยตนเอง

   การป้อนอาหารนกมีเรื่องที่พึงต้องระมัดระวังคือ  การรักษาความสะอาด  ทำบันทึกการให้อาหารและน้ำหนักตัวของลูกนก  ใช้อุปกรณ์ในการป้อน และชนิดของอาหารที่เหมาะสม  ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น  จะแสดงออกดังนี้คือ
1.   น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยมาก หรือลดลง
2.   อาหารที่ป้อนใช้เวลานานมากกวาจะย่อยหมดไปจากกระเพาะ
3.   ปฏิกริยาตอบสนองต่อการป้อนอาหารต่ำมาก

   การที่ลูกนกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยมาก  หรือลดลง  อาจจะมีสาเหตุดังนี้
1.   นกได้รับอาหารในปริมาณที่น้อยเกินไป  การป้อนไม่จำเป็นต้องรอจนอาหารในกระเพาะหมดเกลี้ยงแล้วถึงเริ่มป้อนมื้อต่อไป  ในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง  จะมีช่วงที่กระเพาะของลูกนกว่างเปล่าคือ ตอนเช้า
2.   ชนิดของอาหารไม่เหมาะสมกับพันธุ์ของนกนั้น ๆ พวกลูกนกแก้วขนาดใหญ่เช่น  กระตั้ว  มาร์คอ  ต้องการอาหารที่มีปริมาณไขมันที่สูงกว่า นกชนิดอื่น ๆ
3.   อุณหภูมิในการเลี้ยงดูลูกนกไม่เหมาะสม  หากต่ำกว่าที่ควร  ระบบการย่อยอาหารจะทำงานล่าช้าลงมาก  
-   ลูกนกแรกเกิดควรได้รับความอบอุ่นที่อุณหภูมิ  36.6  องศา C
-   เมื่ออายุ  5 – 12  วัน  อุณหภูมิ  35 – 31.6  องศา C
-   เมื่ออายุ  12 วัน ถึงระยะขนขึ้น เป็น ขนหนาม   อุณหภูมิ  31 – 28  องศา  C
-   เมื่อมีขนคลุมเกือบทั่วทั้งตัว    อุณหภูมิ  26.5  องศา C

4.   อุณหภูมิของอาหารที่ไม่เหมาะสม  หากสูงเกินไป  ความร้อนของอาหารจะลวกเนื้อเยื้อที่บุกกระเพาะจนกลายเป็นเนื้อตาย  หากต่ำกว่า ไป การย่อยจะช้ามาก  จนกระทั่งเกิดการบูดเน่าอยู่ภายในกระเพาะอาหาร
5.   ความเครียดจากสภาพแวดล้อม
6.   เกิดจากการติดเชื้อ  เช่น  เชื้อแบคทีเรีย  เชื้อรา  หรือเชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยได้ แก่  เชื้อซาลโมเนลล่า  ซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร  ส่วนเชื้อรา  ได้แก่  พวกแคนดิด้า  อัลบิแคน  มักพบในช่องปาก และผนังของเยื่อบุกระเพาะอาหาร
7.   การสำลักอาหารหากไม่มากนัก  ลูกนกจะแสดงอาการไอ และจามเพื่อขับเอาอาหารที่สำลักออกมาประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง  แล้วจะค่อยทุเลาลง  ในกรณีที่มีอาหารเข้าไปในหลอดลม  เป็นจำนวนมาก  จะหายใจลำบาก  เกิดการติดเชื้อในปอด  หรือ  อาจตายอย่างเฉพียงพลัน เพื่อหลีกเลี้ยงกรณีดังกล่าว  การป้อนอาหารจึงควรกระทำอย่างช้า ๆ และด้วยความระมัดระวัง
8.   กระเพาะอาหารอักเสบ  เกิดจากอาหารที่ไม่เหมาะสมกับลูกนก  อาหารที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารระยะเวลานานเกินไป  จนทำให้เกิดการหมัก  ลูกนกจะแสดงอาการขย้อนอาหารนั้นออกมา  การแก้ไขโดยใช้ยา  Kaopectate จนอาการดีขึ้น  จึงกลับมาป้อนอาหารตามปกติ