เรื่องฝีดาษนก

เริ่มโดย Lapitsra, มีนาคม 04, 2009, 01:24:50 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

Lapitsra

อยากรบกวนผู้รู้วิเคราะห์ด้วยค่ะว่า นกหนูป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ แต่ที่แน่ๆ เค้าว่าน่าจะเป็นฝีดาษค่ะ เพราะที่วงกลมสีดำๆเป็นตุ่มใสๆปูดออกมาค่ะ และที่ขีดสีเหลืองๆ เป็นผื่นปื้นหนาๆ เม๊ดสีแดงๆค่ะ...อยากรู้ว่านกป่วยเป็นอะไรคะ เผื่อจะมีทางช่วยรักษาค่ะ ถ้าช่วยไม่ทันพรุ่งนี้คงต้องปล่อยค่ะ...ไม่อยากปล่อยเค้าเลย

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
เมื่อมีสติ อะไรๆ ก็ย่อมผ่านพ้นไปได้

put

เป็นฝีดาษแน่นอนครับ  ใช้ยาป้ายตา เทอร์รามัยซินออยส์เมนท์ ซื้อได้ที่ร้านขายยาคน ป้ายเข้าไปในดวงตาวันละ3ครั้ง แล้วจับนกใว้สักพักเพื่อให้ตัวยาซึมเข้าในดวงตาแล้วค่อยปล่อยใส่กรง  ปัญหาใหญ่ที่จะตามมาคือ นกยุโรปและนกออสเตรเลีย มักจะไม่มีภูมิคุ้มกันเวลาโดนยุงกัด คือโรคที่จะตามมาจะมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ยาปฏิชีวนะบางตัวมักจะเอาไม่อยู่  ฉะนั้นจึงควรจะใช้ยา เอนโรฟล้อคซาซิน10%(enrofloxacin10%)ร่วมด้วย  สามารถซื้อยาตัวนี้ได้ที่ร้าน นริศ ตลาดนัดซันเดย์  ใช้สัดส่วน 2หยดต่อน้ำ10หยด แล้วหยดให้นกกิน ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น วันละ2ครั้ง เช้า-เย็น 5 วัน

Lapitsra

ขอบคุณค่ะ พี่PUTรบกวนถามอีกหลายข้อค่ะ
แล้วโรคฝีดาษนก เมื่อรู้ว่านกตัวนี้เป็น อยู่พื้นที่เดียวกับนกหลายตัวแต่คนละกรงกันโอกาสแพร่เชื้อมีสูงไหมคะ เพราะที่บ้านยังมีนกตัวอื่นอยู่ด้วยค่ะ
เมื่อมีสติ อะไรๆ ก็ย่อมผ่านพ้นไปได้

put

ปกติแล้วตัวที่เป็นฝีดาษ เมื่อรู้ว่าเริ่มมีอาการ  ผู้เลี้ยงต้องเริ่มแยกตัวนกที่ป่วยออกจากพื้นที่เดียวกัน เพราะยุงจะไปกัดตัวที่ป่วยแล้วมากัดอีกตัว เท่ากับเป็นตัวแพร่เชื้อโดยปริยาย ฉะนั้นต้องแยกนกออกจากพื้นมี่เดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอื่นเป็น  ส่วนใหญ่โรคฝีดาษนั้นมักจะแพร่เชื้อมาจากเลืฟเบริ์ด เพราะผู้เลี้ยงมักไม่เข้าใจในการแยกลูกนกออกจากพ่อ-แม่นก ในขณะที่ลูกนกยังกินอาหารเองไม่แข็งแรงพอ เห็นว่ากินแล้วก็จะแยกออก ซึ่งบางตัวพ่อ-แม่ยังตามป้อนอยู่ จะทำให้นกพวกนี้อ่อนแอ เวลาโดนยุงกัดมักจะเป็นฝีดาษหรือล้วงลูกมาป้อนแล้ว เลิกป้อนเร็วเกินไป จะทำให้นกพวกนี้อ่อนแอและมักจะเป็นฝีดาษเช่นกัน

GoGuy

ปล. ห้ามปล่อยนะครับ ปล่อยไปโอกาสตายสูง

คีรีบูนนี่แนะนำให้เลี้ยงในห้องมีมุ้งลวดปลอดยุงนะครับ หรือใช้มุ้งก็ได้
[img align=left]http://mobile-sg.com/images/chicken-little.gif[/img]






ยิ้มกว้างๆหน่อยสิ....

Lapitsra

พี่ๆคะ ขอบคุณมากๆเลยสำหรับคำแนะนำ
กรงนกที่บ้าน หนูใช้กระชังปลาสีฟ้า ทำเป็นมุ้งทุกกรงและใช้ซิปสำหรับรูดเปิดปิดค่ะ วันหลังจะนำภาพมาให้ดูค่ะ
พี่ที่เค้าเคยเลี้ยงหงส์หยกแล้วเกิดฝีดาษ เค้าก็แนะนำให้เอานกไปปล่อย เพราะเกรงว่าเจ้าตัวนี้มันจะกลายเป็นตัวแพร่เชื้อในอากาศเพราะเค้าเจอกรณีหงส์หยกมาแล้ว ถ้าไม่เอาไปปล่อยตัวอื่นที่ได้รับเชื้อด้วยก็ตายทั้งฟาร์ม
ที่บ้านบอกให้หนูเลือกระหว่างจะเก็บตัวนี้ไว้รักษา หรือว่าปล่อยไป
ถ้าหนูเก็บไว้แล้วนกที่บ้านเกิดติดเชื้อพลอยตายไปด้วยหนูรับผิดชอบไม่ไหว จึงไม่รู้ทำไงดีเพราะเพิ่งเคยเจอฝีดาษในนีกคีรีบูนแล้วไม่รู้จะไปหาความรู้จากที่ไหน ป้องกันและรักษาเขาดี เพราะใจจริงอยากเก็บไว้รักษา มันน่าสงสารมากและทำตัวไม่เหมือนนกป่วยเท่าไหร่ สงสัยไม่อยากถูกปล่อย ใจจริงๆแล้วก็ทำใจลำบากเพราะเค้าก็หนึ่งชีวิตเหมือนเราถ้าเป็นเราจู่ๆป่วยแล้วต้องถูกทอดทิ้ง มันก็น่าเศร้า แต่นกที่เหลือเล่า ถ้าเกิดรักษาไม่ได้แล้วเกิดแพร่เชื้ออีก ก็ไม่น่าเสี่ยงต่อหลายตัวที่เหลืออยู่
วันนี้หนูได้ฝากพ่อเอาเค้าไปปล่อยแล้ว เพราะหนูไม่มีข้อมูลในการรักษา ....หนูอยากให้มีโครงการรับอุปการะดูแลและรักษานกป่วยจังเค้าจะได้ไม่ต้องถูกทอดทิ้ง เหมือนเจ้าตัวนี้
เมื่อมีสติ อะไรๆ ก็ย่อมผ่านพ้นไปได้

korn

ไม่ควรปล่อยเด็ดขาดครับ  เวลาอยากได้ก็เอาเขามาเลี้ยง พอมีปัญหาก็จะผลักส่ง ดูแล้วไม่แฟร์กับสัตว์ครับ มันเป็นpets นะครับปล่อยก็เท่ากับผลักคนลงเหว  ควรจะเลี้ยงเขาต่อไปพร้อมกับการรักษาตามที่พี่ๆแนะนำ หรือไม่ก็พาไปหาสัตวแพทย์ ผมว่าโรคดังกล่าวไม่น่ากลัวถึงขนาดต้องปล่อยเค้าครับ ค่ารักษาก็ไม่เท่าไร หากเปรียบเทียบราคาค่ารักษากับค่าตัวในความต้องการจะเลี้ยงในครั้งแรก ไม่น่าเกินราคานกหารสองครับ เลี้ยงเขาต่อเถอะครับทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจัดหาได้

ปล. การที่จะตัดสินใจเลี้ยงสัตว์อะไรก็แล้วแต่ควรจะไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ ชีวิตเขาก็เหมือนชีวิตเรา

Lapitsra

นกทุกตัวที่บ้าน มีหนึ่งชีวิตเท่ากันหมดค่ะ คนเลี้ยงก็หนึ่งชีวิตเหมือนกัน  ไม่ได้อยากปล่อยค่ะ แต่ข้อมูลที่ได้มันช้าเกินไป เพราะนกเป็นฝีดาษระยะสุดท้ายค่ะ ถ้าเกิดตัวนี้รักษาไม่หายกลายเป็นพาหะตัวที่เหลือต้องมาตายด้วย เลยต้องรักษาชีวิตหมู่มากไว้
ถ้าหนูมีความรู้เรื่องการรักษามากกว่านี้ หนูไม่เคยคิดจะปล่อยนกตัวไหนหรือทอดทิ้งเพียงเพราะเค้าป่วยหรือขี้เหร่
ก่อนหน้านี้เค้ามีอาการหอบก็รักษาจนหายไปหนึ่งเปราะแต่มาคราวนี้เป็นฝีดาษไม่รู้จะรักษายังไง พี่ที่เค้าเลี้ยงหงส์หยกเคยเจอโรคนี้
แล้วเกิดการแพร่เชื้อตัวที่เหลือต้องมาตายยกฟราร์ม
เมื่อมีสติ อะไรๆ ก็ย่อมผ่านพ้นไปได้

Lapitsra

เอารูปกรงที่ล้อมด้วยกระชังสีฟ้ามาให้ดูค่ะ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
เมื่อมีสติ อะไรๆ ก็ย่อมผ่านพ้นไปได้

sparrow

ก็เป็นบทเรียนให้ผู้เลี้ยงท่านอื่นๆครับ   จริงๆแล้วนกประเภทนี้ไม่ใช่นกประจำถิ่นบ้านเรา  และยิ่งไม่ได้เติบโตตามธรรมชาติด้วยแล้ว  หากปล่อยไปเชื่อได้ว่าไม่น่าจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ครับ

ปกติแล้วโรคฝีดาษป้องกันไม่ยากครับ  พาหะอย่างเดียวคือยุง  โดยธรรมชาติของโรคนี้  จะไม่ทำให้สัตว์ถึงตายครับ  ยกเว้นว่าตุ่มจะไปเกิดในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต  เช่น ตา ซึ่งทำให้มองไม่เห็น  ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้  หรืออาจเกิดในช่องปากทำให้กินไม่ได้ครับ  โดยทั่วไปในสัตว์ปีกมีฝีดาษ 2 ชนิดครับ  คือฝีดาษแห้ง  ซึ่งมักจะเป็นเป็นสะเก็ดบริเวณที่มีขนน้อย  ซึ่งพบได้บ่อยที่ขอบตา    ฝีดาษอีกชนิดนึง คือฝีดาษเปียกซึ่งมักจะเกิดในช่อปากครับ  ชนิดหลังนี่ค่อนข้างรุนแรง  ทำให้กินไม่ได้และตายในที่สุด   แต่สำหรับนกปากขอแล้ว  อาจพบฝีดาษอีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้ตายแบบเฉียบพลัน  โดยไม่แสดงอาการได้ครับ   ปกติแล้วหากไม่กระทบกับการดำรงชีวิต  นกที่เป็นโรคนี้จะหายเองครับ  และมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต   เหมือนกับที่เราปลูกฝีที่หัวไหล่นั่นแหละ
laboratory of Animal Reproductive Biotechnology
รับบริจาคนกที่สิ้นชีวิตแล้วเพื่อการศึกษา......เป็นวิทยาทานนะคร้าบบบบบบบบ

Lapitsra

ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับคำแนะนำ
ตัวนี้จะเป็นตัวแรกและตัวสุดท้ายที่ถูกปล่อยค่ะ
เมื่อมีสติ อะไรๆ ก็ย่อมผ่านพ้นไปได้