เรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (โดยเฉพาะนกสวยงาม)

เริ่มโดย Pon, พฤษภาคม 31, 2008, 02:41:07 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 3 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

Pon

คุณรู้หรือไม่ ?

- อนาคต หากคุณมีนกสายพันธุ์ต่างประเทศ, ปลาสวยงามต่างประเทศ หรือสัตว์อื่นใดที่อยู่ในอนุสัญญา CITES (ไม่ว่าจะเป็นหมวดใดก็แล้วแต่) อาจมีความผิดเทียบเท่าการมีสัตว์ป่าไว้ในครอบครอง
- หากคุณพานกของคุณ หรือสัตว์เลี้ยงของคุณไปไหนมาไหน คุณอาจถูกจับได้


เนื่องจากผมได้ทราบมาถึง ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2546 ที่กำลังจะมีการเสนอเข้าสภาในเร็ว ๆ นี้ มีใจความที่มีผลเกี่ยวข้องโดยตรงกับพวกเราทุกคนที่เลี้ยงสัตว์ทั้งที่เป็นเสมือนสมาชิกในครอบครัว
และเชิงพาณิชย์ก็ตาม ผมจึงได้คัดออกมาเฉพาะที่น่าจะเกี่ยวข้อง ดังนี้

มาตรา 4 คำนิยาม
"สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ" หมายความว่าสัตว์ป่าที่ได้รับการคุ้มครองตามสนธิสัญญา อนุสัญญา หรือพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือให้สัตยาบัน

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน

มาตรา 6 สัตว์ป่าที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ มีดังต่อไปนี้
(1) สัตว์ป่าสงวน
(2) สัตว์ป่าคุ้มครอง
(3) สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
(4) สัตว์ป่าควบคุม
(5) สัตว์ป่าอื่นที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือบริเวณและสถานที่คุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่า

มาตรา 8 การมีไว้ครอบครอง นำเข้า ส่งออก นำผ่าน ประกอบธุรกิจเพาะพันธุ์ หรือค้าซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยได้รับอนุญาตตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ ฯ

มาตรา 9 ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า มีไว้ ครอบครอง เพาะพันธุ์เพื่อการค้า นำผ่าน หรือนำเคลื่อนที่ภายในประเทศซึ่งสัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือสัตว์ป่าชนิดใดที่ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นสัตว์ป่าควบคุม ที่เป็นอันตรายต่อประชาชน หรือกานำเข้ามาจะก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน สัตว์ป่าหรือพันธุ์พืช สภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมระบบนิเวศ หรือก่อให้กิดผลกระทบต่อการคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศหรือพันธุกรรมของสัตว์ป่าดังกล่าว ฯ

มาตรา 14 ผู้ใดมีไว้ในครองครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามมาตรา 7 วรรคสาม สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากสัตว์ของสัตว์ป่าดังกล่าว จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาต และการจัดทำทะเบียนควบคุม การครอบครอบสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 19 ภายใต้บังคับมาตรา 9 การนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือนำเคลื่อนที่ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองตามมาตรา 7 วรรคสาม สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ สัตวป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต และแบบของใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 24 ภายใต้บังคับมาตรา 9 ผู้ใดประกอบธุรกิจเพาะพันธุ์ สัตว์ป่าตามมาตรา 7 วรรคสาม สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ สัตว์ป่าควบคุม จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต และการอนุญาต และชนิดของสัตว์ป่าตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการ

มาตรา 26 ผู้ใดค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ สัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าดังกล่าว จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หลักเกณฑ์ และวิธีการขออนุญาต เงื่อนไข การขออนุญาต อายุของใบอนุญาตและชนิดของสัตว์ป่าที่อนุญาตให้ค้าได้ ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการ

มาตรา 83 ในกรณีที่บุคคลใดประสงค์จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ นอกเวลาราชการหรือนอกสถานที่ทำการโดยปกติ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และจะต้องเสียค่าเบี้ยงเลี้ยงให้แก่
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ไปปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าอัตราของทางราชการ และต้องจ่ายค่าพาหนะเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามความจำเป็นในการปฏิบัติงาน
การยื่นคำขอ การกำหนดค่าเบี้ยงเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่น ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ฯลฯ

บทกำหนดโทษ

มาตรา 92 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีแต่ไม่เกินเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
การกระทำตามวรรคหนึ่ง หากผู้ใดปล่อยสัตว์ป่านั้นเข้าสู่สภาพธรรมชาติหรือสถานที่ใด ๆ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี แต่ไม่เกินสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทแต่ไม่เกินสามแสนบาท

มาตรา 96 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 หรือมาตรา 18 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 19 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ฯลฯ

บทเฉพาะกาล

มาตรา 109 ผู้ใดครอบครองสัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุมอยู่ก่อนที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ครอบครองสัตว์ป่าดังกล่าวได้ต่อไป แต่ให้ดำเนินการแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อให้ทราบถึงจำนวนที่ครอบครอง และรูปพรรณของสัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศหรือสัตว์ป่าควบคุมที่ครอบครองอยู่ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกไว้และออกหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้แจ้ง และให้ถือหลักฐานการแจ้งนั้นเป็นหลักฐานการอนุญาตให้ครอบครองได้ตามพระราชบัญญัตินี้

ฯลฯ

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม

2. ใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
4. ใบอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
5. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจเพาะพันธุ์ ฉบับละ 50,000 บาท
7. ใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
9. ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า ฉบับละ 1,000 บาท
13. การต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละครึ่งเท่าของใบอนุญาต
14. การจัดทำเครื่องหมายหรือหลักฐานแสดงประจำตัวสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จัดทำให้ ตัวละหรือชิ้นละ 1,000 บาท

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างกับผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ช่วยแพร่ข้อมูลนี้ให้กับทุกคน ทุกวงการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และหากจะดีรบกวนเสนอแนะ และระดมความคิดเห็นกันเร็วเข้า ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

หากท่านใดประสงค์จะได้ข้อมูลเพิ่มเติม และประสงค์จะทำเพื่อส่วนรวม
ติดต่อได้ที่
พล
081-8219266

...

อ่านคล่าว ๆ รู้สึกจะอยากหาเงินเข้ากันจริง ๆๆๆๆ  แล้วไงครับ .........  อันนี้ก็ต้องผู้รู้ละครับ  .....  

1. ผู้ครอบครองจำนวนเยอะ ๆ
2. ผู้ครอบครอง และทำธุรกิจ  
3. ผู้เพาะพันธุ์เชิงพาณิชย์ และค้าขาย
4. อื่น ๆ

ก็ต้องออกมาช่วยกันน๊ะครับ  เพียงผู้เลี้ยงคนนึง ตาดำ ๆ จะมาเอาอะไรมากไปกว่า  คนเลี้ยงละครับ .........  

หุหุ

ขายสัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครองใน WEB ต่าง ๆ ตอนนี้  ก็ดาดดื่น  ยังป้องกันไม่ได้  หันเหมาเล่น  สัตว์เลี้ยงสวยงาม แล้วเหรอ  งี้  สัตว์อื่น ๆ ที่ติดอนุสัญญา ไซเตส  มันว่าด้วยเรื่องการซื้อขาย  กันระหว่างประเทศ ไม่ใช่  เรื่องครอบครอง กันไม่ใช่หรือไงครับ

อันนี้ ขอให้ผู้รู้ มาตอบละกันครับ  

แต่ความคิดส่วนนึงของผมตอนนี้  คือ  อย่าพึ่ง ตื่นตะหนกตกใจไปก่อนครับ  

มันไม่ให้เลี้ยง กันเชียวเหรอ ......... หุหุ  มันมากไปแล้ว มั้ง

เศรษฐกิจแบบนี้  รัฐบาลคิดกอบโกยเงิน หาเงินเข้าดีจริง ๆๆๆ

เมื่อวานเดินไปซื้อส้มตำกิน .... มีเจ้าหน้าที่สรรพากร  มาสำรวจบอกว่า  วัน ๆ นึง ขายส้มต้ม ไก่ย่าง ปลาดุก ได้ยอดเงินเท่าไหร่  จะมีการมาเรียกเก็บภาษี  หุหุ  

เอากับมันสิ  ......

kitty75

โห!!!  ช่วงนี้เศรษฐกิจตกสะเก็ด อย่าคิดว่าจะเสียตังค์เลย ขนาดเงินซื้ออาหารให้นกยังต้องคิดเลย อาหารก็แพงขึ้นทุกวัน อุปกรณ์การสร้างกรงเอย ทุกอย่างแพงหมด เล่นเอาคนเพาะพันธุ์หมดใจไปหลายราย   เอาเหอะเดี๋ยวก็ได้เห็นนกปากขอออกมาบินเล่นนอกกรงที่มหาชัยบ้างหรอก หุ หุ

akaradej28

อ้างถึงkitty75 เป็นผู้เขียน:
โห!!!  ช่วงนี้เศรษฐกิจตกสะเก็ด อย่าคิดว่าจะเสียตังค์เลย ขนาดเงินซื้ออาหารให้นกยังต้องคิดเลย อาหารก็แพงขึ้นทุกวัน อุปกรณ์การสร้างกรงเอย ทุกอย่างแพงหมด เล่นเอาคนเพาะพันธุ์หมดใจไปหลายราย   เอาเหอะเดี๋ยวก็ได้เห็นนกปากขอออกมาบินเล่นนอกกรงที่มหาชัยบ้างหรอก หุ หุ

กว่าจะได้นก กว่ากรงจะเสร็จ หมดไปหลาย พอทุกอย่างลงตัวก็มีข่าวแบบนี้อีก โอว์!!! เซ็ง  ว่าแต่เฮียเล็กจะปล่อยให้บินเมื่อไหร่บอกนะขอรับ ผมยอมเสี่ยง อิ อิ อิ
รักเธอตลอดไป......

aeeprs

ทางที่ดีควรค้านครับ ควรให้ดำเนินการกับผู้ดำเนินการใหม่ และผู้ที่จะเริ่มใหม่ โดยให้ผู้ที่ดำเนินการอยู่แล้วจดทะเบียนเป็นหลัดฐานและอนุโลมให้ทำต่อไปจนกว่าจะแจ้งเลิกกิจการครับ
 ถ้าทำได้จะเป็นผลดีมากกว่าเสีย เพราะไม่ต้องลับๆล่อๆอีก
  พลครับ แล้วชมรม มีปฏิกิริยา และดำเนินการอย่างไรครับ ?

ด.ช.หาด

เอ้า !!!!!!!!!!    งานเข้า

ตัวอย่าง ซื้อลูกป้อนเกรย์มาตัวละ เก้าพัน ไปซื้อใบอณุญาตครอบครองสัตว์ติดไซเตส อีกหมื่นหนึ่ง ยังไม่ทันจะป้อนก็ เกือบสองหมื่นแล้ว 55555 บ้าไปแล้ว
หนึ่งในสมาชิก แก๊งค์ "จู้ฮุกกรู"

ด.ช.หาด

รายละเอียด นกไซเตส นะครับ ขอแต่ปากขอล่ะกันนะครับเพราะมันเยอะ 555
จำพวกนกแก้วในอันดับ Paittaciformes (ยกเว้นชนิดที่อยู่ในบัญชีหมายเลย 1 บัญชีหมายเลข 3 และนก Lovebirdหน้าส้ม (Agapornis roseicollis) นกหงส์หยก (Melopsittacus Undulatus) นกค๊อคคาเทล (Nymphicushollandicus) ที่อยู่นอกบัญชี)
ส่วนที่โดนได้แก่
Amazon, Macaws, Cockatoos, Lories, Lorikeets, Parakeets, Parrots
วงค์กระตั๊วได้แก่
Goffin's
Red-Vented
Moluccan
Lesser Sulphurecrested
Palm
นี่แค่คราว ๆ นะครับจริง ๆ ยาวประมาณ สามหน้ากระดาษได้เฉพาะนกแก้วที่อยู่ในตลาด
หนึ่งในสมาชิก แก๊งค์ "จู้ฮุกกรู"

Pon

มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ เพราะเมื่อวันพุธที่แล้วผู้ใหญ่ที่ไปประชุมกับทางที่เสนอร่าง พรบ. ที่กรมป่าไม้ ได้แจ้งให้ผมทราบว่า เขาจะพยายามทำเรื่องนี้ให้สำเร็จอย่างเร่งด่วนครับ

ตอนนี้หลาย ๆ ภาคส่วนที่ทราบเรื่อง ก็เริ่มดำเนินการบางอย่างบ้างแล้วครับ ตัวอย่างเช่น ชมรมผู้เพาะเลี้ยงนกสวยงามสายพันธุ์ต่างประเทศ (ประเทศไทย) หลังจากได้มีการกระจายข่าวกันแล้ว ก็จะประชุมกันในวันพุธที่ 4 มิถุนายน ที่ร้านอาหารเรืองฤทธิ์ซีฟู้ด ถนนบรมราชชนนี-ตลิ่งชัน เวลา 19.00 น. ท่านใดสนใจต้องการทราบเรื่องทั้งหมด และสัมผัสถึงบรรยากาศอันแท้จริง ก็เชิญร่วมได้นะครับ

พล

...

อ่านคล่าว ๆ น๊ะครับ  มันไม่ใช่แค่นกต่างประเทศเพียงอย่างเดียว  เต่า / งู / และอื่น ๆ  รวมถึง  สัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศ  

เกิดเลี้ยงหัวจุกตัวนึง ต้องมีใบพวกนี้ด้วยอะเหรอ หุหุ

เอาเถอะครับ  อย่างที่บอก  จะเลี้ยงนกสวยงาม  สักตัว ต้องมีใบเลี้ยงดูครอบครอง  ก็คงต้องรวมเข้าไปกับราคานกด้วย  ( ดีครับ ราคานกพุ่งขึ้น แต่คนเลี้ยงคงถอดใจ )

ที่แจ้งครอบครองนกไปเมื่อครั้งกระโน้น  เจ้าหน้าที่ยังไม่เข้ามาตรวจเลย  นกตาย หลุด ไปหมดแล้ว  หุหุ  เอาใครมาทำ เด้อ ......

กรณี กทม.  ให้ฝังไมโครชิป  เงียบสนิทครับ ............  ออกเป็นเรื่องเป็นราวออกมา แต่ไม่มีคนดำเนินการ ทั้งนั้นละครับ

เดี๋ยวก็รอ ๆ ดู ๆ กันไปก่อนละกันครับ  หุหุ  ที่บ้านมีไม่กี่ตัวแล้ว  เอาไปเลี้ยงไว้ในห้อง  ก็คงไม่ต้องแจ้งอะครับ  อิ อิ .........

C_tan

อ้างถึงบัญชีอัตราค่าธรรมเนียม

2. ใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
4. ใบอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
5. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจเพาะพันธุ์ ฉบับละ 50,000 บาท
7. ใบอนุญาตให้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าตามพันธกรณีระหว่างประเทศ หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ฉบับละ 10,000 บาท
9. ใบอนุญาตให้นำสัตว์ป่าเคลื่อนที่เพื่อการค้า ฉบับละ 1,000 บาท
13. การต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละครึ่งเท่าของใบอนุญาต
14. การจัดทำเครื่องหมายหรือหลักฐานแสดงประจำตัวสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จัดทำให้ ตัวละหรือชิ้นละ 1,000 บาท







ในกรณีที่เป็นฟาร์มเล็กๆ  มีนกสัก 5 คู่  จะต้องมีค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ใบอนุญาตครอบครอง  10,000 บาท
2.ใบอนุญาตเพาะพันธ์     50,000 บาท
3.ใบอนุญาตให้ค้าขาย     10,000 บาท
4.ค่าจัดทำเครื่องหมาย 10 ตัวๆละ 1000 เท่ากับ 10,000 บาท

รวม 80,000 เข้าไปแล้วครับ  และยังมีมาตรา 83 ที่เป็นค่าบริการสำหรับเจ้าหน้าที่ สำหรับออกมาตรวจสอบว่ามีนกจริงหรือไม่  สถานที่เหมาะสมสำหรับเพาะพันธ์หรือไม่  สำหรับผม  ค่าใช้จ่ายส่วนนี้คงสัก 10,000

แล้วตอนมีลูกนกเกิดมา ก็ต้องมาตรวจอีก ว่าจริงหรือไม่ หรือเอานกป่ามาสวมรอย

แล้วตอนขนส่งเคลื่อนย้ายเข้าไปขายที่กรุงเทพฯ ค่าใบอนุญาตอีกใบละ 1000

รวมแล้ว  91,000 แล้วครับ สำหรับการเริ่มต้น

และแล้ว ปีนั้น นกก็ไม่ไข่ เพราะมีเจ้าหน้าที่มาจุ้นจ้านมาก
ขึ้นปีต่อไป ต้องต่อใบอนุญาตกันอีก ในราคาครึ่งหนึ่ง ก็ราวๆ 45,000

เอาคนไม่รู้เรื่องนก มาร่างกฎเกณฑ์ ก็เป็นแบบนี้ละครับ



...

ไม่รู้จะใช้คำพูดอย่างไรเลยครับ  ขอน๊ะครับ  " ปัญญา "  มีแค่นี้เหรอครับ ...............

 ;-)  :roll:  :-o  :-?

เฮออ ..........  งี้ราคาคิดคล่าว ๆ ปีนึงเพาะได้ 2 ตัว .... / หักกลบลบไปมา   งี้ นกมีโอกาสจากตัวละ 1 หมื่น ขึ้นเป็น 6 - 7 หมื่น ละครับ คราวนี้  หุหุ  ( น่าเลี้ยงจริง ๆ )

C_tan


ร่างกฎหมายดังกล่าว  เหมาะสำหรับใช้กับนกไทยเท่านั้นครับ
แต่ก็ไม่ควรกำหนดค่าบริการต่างๆในอัตราที่สูงลิบอย่างนั้น

เพราะ
1.เมื่อสูงมาก ผู้เพาะอาจจะถอนทุน โดยการแอบเอาลูกนกป่ามาสวมรอยอีกจนได้

2.มีแต่ฟาร์มใหญ่ยักษ์ ระดับนกไทยมิวเตชั่นเท่านั้น ที่สามารถทำตามได้ และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า  ส่วนผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย หมดสิทธ์

3.และแล้ว  มาตรการต่างๆที่ออกมา ก็อยู่แต่ในกระดาษอีกต่อไป เหมือนกับที่ออกมาตั้งแต่ปี 2535 นะครับ  

ด้วยเหตุผล  ไม่มีกำลังคน ไม่มีงบประมาณ

มาตรการที่ออกมา หากค้างอยู่ครึ่งๆกลางๆอย่างที่ผ่านมา  จะ มีผลเสียต่อวงการนกสวยงามอย่างสุดที่จะคาดคิดกันเลยครับ


จอมมาร

เป็นคนเบาๆ
เบอร์นี้แหละ  007-64-21-1209221

C_tan

อ้างถึงปู่โด้ เป็นผู้เขียน:
ไม่รู้จะใช้คำพูดอย่างไรเลยครับ  ขอน๊ะครับ  " ปัญญา "  มีแค่นี้เหรอครับ ...............

 ;-)  :roll:  :-o  :-?

เฮออ ..........  งี้ราคาคิดคล่าว ๆ ปีนึงเพาะได้ 2 ตัว .... / หักกลบลบไปมา   งี้ นกมีโอกาสจากตัวละ 1 หมื่น ขึ้นเป็น 6 - 7 หมื่น ละครับ คราวนี้  หุหุ  ( น่าเลี้ยงจริง ๆ )


มันจะไม่มีคนซื้อเอานะครับ

นับวัน เศรษฐกิจจะแย่ลง  น้ำมันขึ้นราคามากกว่าลง ปลายปีนี้อาจจะได้เห็นลิตรละห้าสิบ  ชีวิตนี้คงจะได้เห็นลิตรละร้อย

นกสวยงามเป็นของฟุ่มเฟือย ครับ  ส่วนชาวบ้านป่า ชีวิตที่ลำบากยากแค้นอยู่แล้ว จะยิ่งสาหัสเข้าไปอีก นกป่าหากขายไม่ได้ ก็ จะกลายเป็นเมนูอาหารใหม่ละครับ


C_tan


ผมเห็นด้วย เรื่องการออกกฎหมาย เพื่อควบคุมเรื่องนี้  แต่  มันควรจะแยกกันให้ชัดเจน ระหว่างนกไทย กับนกนอก

สำหรับนกไทย  ยิ่งกำหนดค่าใช้จ่ายให้สูงมากเท่าไร ก็จะทำให้มีคนลงทุนเพาะออกมาน้อยเท่านั้น เพราะมันไม่คุ้ม  เพาะออกมาแล้วจะขายสักเท่าไหร่ ขายกันนานแค่ไหน จึงจะคุ้มทุน  ในขณะเดียวกัน ราคานกเพาะที่สูงมาก จะทำให้มีการนำลูกนกป่ามาสวมรอยกันมากขึ้น  (ทุกวันนี้ ยังเห็นมีการประกาศขายลูกนกเค้าที่อ้างว่าเพาะเองขายอยู่ในเว็บใหญ่ )

ผมมองว่า คงจะเหมือนกับมาตรการอื่นๆที่ออกมาก่อนหน้านี้  เพราะ ที่นี่ คือ ประเทศไทย  !!!!!