รบกวนพี่พุฒ เรื่องการดูแลนกเมื่อนกเริ่มป่วยคับ

เริ่มโดย tan, พฤษภาคม 29, 2012, 05:42:23 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

tan

รบกวนพี่พุฒ เรื่องการดูแลนกเมื่อนกเริ่มป่วยคับ

พี่พุฒคับ รบกวนช่วยบอกตั้งแต่วิธีการสังเกต จนถึงขั้นวิธีการให้ยา วิธีการดูแลจัดการ เมื่อน้องป่วยด้วยซิคับ

นกที่บ้านป่วยทีไรไม่เคยรักษาหายซักตัวไม่ว่าป่วยเป็นอะไร

อย่างแรกที่ต้องทำคืออะไรคับ และวิธีการสังเกตอย่างไรเมื่อนกเริ่มแสดงอาการป่วย ผมพบเมื่อนกแสดงอาการค่อนข้างหนักแล้วอะคับ

แล้วโซนพยาบาลนกควรมีลักษณะอย่างไรคับ แตกต่างกันตามโรคไหมคับ

ที่อยากรู้ก็เกี่ยวกับนกท้องเสีย เป็นหวัด ตาเจ็บ และโรคที่พบบ่อยๆในนกแก้วอะคับ จะแสดงอาการเริ่มต่างกันอย่างไรคับ รักษาอย่างไร โซนพยาบาลควรจัดการอย่างไร

เห็นพี่รักษารอดเกือบทุกตัว ผมไม่เคยรอดเลยคับ ภาวนาไม่ให้ป่วยอย่างเดียวเลยคับ สงสารนกอะคับ เริ่มๆถอดใจแล้วคับ ส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นนกที่ทานเองแล้วอะคับ ลูกป้อนไม่เคยมีปัญหาคับ

รบกวนด้วยนะคับ ขอบคุณคับ
ตาล

aeeprs

ตอบแทนพี่ พุฒ ไปพลางๆก่อน

นกเมื่อแสดงอาการป่วย ให้เห็นมักจะเป็นหนัก แล้วอย่างที่ตาล ว่าไว้ครับ เพราะธรรมชาติ สัตว์ป่วยจะตกเป็นเหยื่อที่ถูกล่า ดังนั้นหาก ไม่ป่วยหนักจริง การแสดงอาการ จะไม่ชัดเจนครับ
แล้วจะทำอย่างไร
  ผมขอแบ่ง เรื่อง การดูแลรักษาออกเป็น 3 หัวข้อคือ

  มูลเหตุแห่งโรค
  การวินิจฉัย
  การรักษา

มูลเหตุแห่งโรค

  1.เคลียด  เป็นสาเหตุใหญ่ ที่ทำให้นกป่วย ความเครียด จะเกิดจากหลายสาเหตุ ที่พบ บ่อยก็คือ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ  อย่างฉับไว ร้อนจัด ฝน หรือหนาว การย้ายนก การที่นกอยู่แออัด การเอานกใหม่เข้า
 
  เมื่อนกเครียด ภูมิต้านทานของร่างกายของนก ก็ลดลง ทีนี้พวกจุลินทรีย์ที่อยู่ประจำตัวของนก ไม่ว่า ในปาก ในคอ ในปอด ในทางเดินอาหาร ในอากาศรอบๆตัวนก ซึ่งปกติ ไม่เป็นอันตรายแก่นก ก็กำเริบ และทำร้ายนกที่มันอาศัยอยู่ ทำให้นกป่วย

 2.ความสะอาดของโรงเรือน และอาหาร  บ่อยครั้งที่เราดูแลความสะอาดของโรงเรือนไม่ได้พอ มีการหมักหมม ของมูลนก เศษอาหาร ต่างๆ ตัวอาหารเอง บางครั้งเราก็ไม่ได้สนใจเท่าที่ควร ว่า อาหารนั้น สดใหม่ หรือเปล่า ผลไม้ที่ให้บูดหรือเปล่า
 เพราะสิ่งเหล่านี้ จะนำพา จุลินทรีย์ ที่มีโทษต่อร่างกาย และรุนแรงเข้าสู่ตัวนก
  คอน ก็ไม่ควรดูข้าม เวลานกคัน มักจะถูกับคอน คอนสกปรก ก็มักทำให้ตาอักเสบได้

  3.การติดเชื้อ จากภายนอก เช่นนกจากภายนอก นำเชื้อมา การนำเข้านกที่ป่วย หนู แมลง ยุง ที่นำเชื้อโรคมาสู่นกเรา

  4.การเกิดบาดแผล เช่นจากการจิกกัน จากคอนที่แหลมคม จากตาข่ายที่คม ทำให้เกิดบาดแผล และติดเชื้อตามมา

  5.เจ็บป่วยจากเจ้าของทำ พบมากในลูกป้อน ไม่ว่าเชื้อราในกระเพาะพัก ไส้ไก่หลุด ป้อนอาหารที่ร้อนจัดเกินไป

put

สวัสดีครับ คุณหมอ งานเยอะดีกว่าไม่ค่อยมีงาน ยินดีที่คุณหมอสละเวลามาตอบกระทู้บ้าง




พี่พุฒคับ รบกวนช่วยบอกตั้งแต่วิธีการสังเกต จนถึงขั้นวิธีการให้ยา วิธีการดูแลจัดการ เมื่อน้องป่วยด้วยซิคับ
ส่วนใหญ่การสังเกตนกพอดูได้ง่ายๆคือนกมักจะเริ่มอยู่โดดเดี่ยวเพราะพวกไม่ยอมให้เข้าฝูง ซึม ไม่ร่าเริง ขั้นตอนต่อมาก็ต้องรีบแยกนกออกและสำรวจดูว่าป่วยเป็นโรคอะไรก็ให้ยาตามอาการที่คิดว่าเป็น นกที่ป่วยส่วนใหญ่จะกินอาหารและน้ำไม่ลงและจะผอมเร็ว ส่วนใหญ่แล้วผมจะจับนกfeedยาพร้อมอาหารเล็กน้อยก่อนแล้วเมื่ออาการเริ่มดีขึ้นก็จะค่อยๆเพิ่มอาหาร การจับนกป้อนยาเป็นเรื่องที่ยากมากครับ สำหรับนกที่กินเป็นแล้วต้องไม่ป้อนอาหารในปริมาณมากเกินตรึ่งหนึ่งที่ยังเป็นลูกป้อนเพราะถ้าเยอะกระเพาะพักก็จะบวมมากแล้วไปกดเส้นหลอดลมนกก็จะขาดอากาศหายใจและตายในทันที



ที่อยากรู้ก็เกี่ยวกับนกท้องเสีย เป็นหวัด ตาเจ็บ และโรคที่พบบ่อยๆในนกแก้วอะคับ จะแสดงอาการเริ่มต่างกันอย่างไรคับ รักษาอย่างไร โซนพยาบาลควรจัดการอย่างไร
อาการดังที่กล่าวข้างต้นแล้วครับ ขั้นตอนที่สำคัญคือต้องเปิดไฟกกนกตลอดส่วนโซลพยบาลของผมเล็กนิดเดียวเป็นห้องเก็บของ พอมีพื้นที่ว่างนิดหน่อย

สถานที่เลี้ยงไม่ทราบว่าเปิดไฟใว้หรือเปล่า นกพวกพาราคีสจะแพ้ยุง เคยบอกไปแล้ว

aeeprs

การ วินิจฉัย

 การวินิจฉัยนกป่วย สิ่งสำคัญที่สุดคือ การตระหนักถึงว่า เมื่อเกิดสภาวะแบบที่กล่าวไว้ข้างบน นกมีโอกาศจะป่วย ดังนั้น ต้องคอยสังเกตุว่า นกจะป่วยหรือเปล่า
 
  ผมสังเกตุกระทู้พี่พุฒ พี่พุฒจะเป็นนักสังเกตุ และเป็นตัวอย่างที่ดี ที่พี่เขา สามารถ สังเกตุเห็นได้เร็ว และรักษาได้อยู่เสมอๆ

นกที่ป่วย

1.ทานอาหารน้อยลง บางทีแทบไม่เห็นอาการป่วยเลย

2.เริ่มแยกตัว

3.ซึม

4.อาจมีอาการจาม ขนพอง ตาปิด มูลเป็นน้ำ สีผิดปกติ เช่นเขียวเรืองแสง สำรอกอาหาร

5.มีวิการภายนอก เช่นมีแผล มีขากระเผก มีตุ่มขึ้นใต้ขน ปากแตกเป็นขุยเป็นสะเก็ด นกเกาตลอด เกาแรงๆ หน้าบวม

6.อาการหนักก็ฟุบอยู่มุมกรง ไม่เกาะคอนแล้ว

aeeprs

การป้องกัน และรักษา

หลักการแพทย์จะเน้นให้ป้องกันไว้เสมอ รักษาเป็นการแก้ปลายเหตุ
หากป้องกันดี นกก็มีสุขภาพดี ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย

การป้องกัน
จากข้างบนที่กล่าวไปแล้ว ถึงสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย เราก็ป้องกันตามหัวข้อดังกล่าว

1.เครียด เมื่อ มีอากาศเปลี่ยนแปลง มีการย้ายนก นกอยู่กันแออัด แต่ไม่สามารถเพิ่มเนื้อที่ให้ เราก็ควรลดการ เครียด อาจโดยการจัดการให้มีการถ่ายเทอากาศ ให้ดีขึ้น เมื่อมีการย้ายนก หรืออากาศเปลี่ยนแปลง ก็ควรให้ยาปฏิชีวนะ +วิตามิน ซึ่งอาจเป็นข้อ บ่งชี้เดียวในการให้ Bio+B12 เพราะ ยาตัวนี้ แทบจะรักษาโรคไม่ค่อยได้แล้ว หรือการให้โปรไบโอติก ก็จะช่วยได้เช่นกัน การให้ ให้ครั้งละประมาณ 1 สัปดาห์

2.ความสะอาด หมั่นทำความสะอาดโรงเรือน รวมทั้งคอนด้วย
อาหารควรสดใหม่ เมล็ดธัญพืช ถ้านานไป ต้องดูด้วยว่ามีเชื้อราขึ้นหรือไม่ พวกเมล็ดพืชที่มีน้ำมันเช่นทานตะวัน มีการหืนหรือเปล่า พวกนี้ ถ้ามีต้องทิ้งไปเลย ผลไม้ หลังให้แล้ว ไม่เกิน 6 ชั่วโมงต้องเก็บทิ้งแล้ว ยิ่งในวันอากาศร้อน ผลไม้ยิ่งบูดเร้ว

3.การติดเชื้อจากภายนอก บ่อยครั้งที่เราซื้อนกมาใหม่ ก็ใส่รวมให้กรงกับนกเก่า ซึ่งนอกจากจะมีโอกาศ ที่นกจะตีกันแล้ว นกใหม่อาจนำโรคมาสู่นกเก่าได้ นอกจากการนำเข้านกใหม่แล้ว สิ่งที่ไควรมองข้ามคือ นกหรือสัตว์อื่น ที่เป็นตัวนำเอาชื้อโรคมาสู่นกเรา ดังนั้น
ต้องดูว่า ที่ให้น้ำของนกเรา นกอื่นสามารถ ถ่ายลงมาได้หรือไม่ ที่ให้น้ำควรมีหลังคา ไม่ให้นกนอกถ่ายมูลลงมาในน้ำได้ ตาข่ายกรงนก บ่อยครั้งที่เราเลี้ยงนกใหญ่เช่นมาคอ เราก็ใช้ตาข่ายตาใหญ่ ซึ่งนกกระจอกสามารถบินเข้าไป กินอาหารในกรงได้ ก็จะนำเชื้อโรคมาสู่นกเราได้ หนูเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่ง ที่มุดเข้ากรงนกเราประจำ นอกจากคอยกัดกินนกเราแล้ว ยังนำพาเชื้อโรค และพวกเห็บ หมัด ไร มาสู่นกเราด้วย พวกแมลงสาบ และยุง ก็เป็นตัวนำพาโรคมาสู่นกเรา เราก็ต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะป้องกันเหล่านี้

4.การเกิดบาดแผล จากการจิกตีกัน เราต้องระวัง เช่นเอานกมาเข้ากรงเลย โดยไม่ให้มันคุ้นเคยกัน  เราต้องเอามันมาอยู่ใกล้กันจนกว่าจะยอมรับกันถึงเอาร่วมกรง หรือนกบางชนิด เมื่อฤดูผสมพันธุ์ จะดุมาก ถึงกับตีคู่ของมันจนตายได้ การมีพุ่มไม้ หรือที่หลบภัยให้ตัวเมีย รูเปิดรังไข่ 2 รู ก็จะช่วยลดการทำร้ายกัน
   คอนที่แตก เป็นเสี้ยน ต้องรีบเปลี่ยน นกเอา ตาไปถูกัยคอนทำให้เกิด บาดแผลได้
   ตาข่ายอย่าดูแคลน ตาข่ายบางชนิดจะคม และทำอันตรายต่อนกได้
   เมื่อนกเป็นบาดแผล ร่างกายก็อ่อนแอ แผลจะติดเชื้อร่วมถึงการติดเชื้อเข้ากระแสเลือดได้

5.เจ็บจากเจ้าของทำ เกิดบ่อยๆ คือ ในลูกป้อน
  อาหารร้อนไป ทำให้ลวกกระเพาะพัก จนทะลุได้ อาหารชงไว้จนบูด อันนี้ต้องคอยระวัง
  การป้อนอาหารโดยใช้ไส้ไก่ ป้อนผิดรู นกไอแล้วยังไม่ตระหนัก ป้อนเข้าไปในหลอดลม นกก็ไม่รอด
  การป้อนด้วยไส้ไก่ ไม่ระวังยึดไส้ไก่ให้แน่นทุกครั้ง ไส้ไก่หลุดเข้ากระเพาะพัก ต้องวิ่งไปหาหมอ
  ทางที่ดี ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ป้อนโดยใช้ช้อน จะแก้ปัญหาเหล่านี้ นอกจากคนที่ต้องเลี้ยงลูกนกมากๆ และต้องการความเร็ว +มีความชำนาญแล้วก็คงใช้ได้ แต่ต้องระวัง
  ห่วงขา ถ้าเลี้ยงนก ไม่กี่ตัว ไม่ต้องการทำพันธุ์ ทำpedegree อย่าใส่ดีกว่า ห่วงขา ทำใหขานกเกี่ยวกับ สิ่งที่ยื่นออกมา เมื่อนกบิดตัว ก็ทำให้ขาหักได้
  การจับนก อย่าจับแน่นเกินไป และอย่าจับหลวมเกินไป การจับนกครั้งแรกๆ ควรหัดจับในห้องก่อน จับหลวมหน่อย นกหลุดยังไม่เป็นไร มันไม่หนีไปไหน
  พัดลม หากเปิดพัดลม โดยเฉพาะพัดลมเพดาน ตีนกเชื่องตายมาหลายตัวแล้ว
  ครัว เตากระทะ ก็ทอดนกสุดที่รักของเรามามากแล้ว ไม่ควรเอานกเข้าครัวขณะทำอาหาร
 เยอะครับ โรคที่เจ้าของทำ จารนัยไม่หมดครับ จูบกับนกก็ฆ่านกมาแล้ว

         สำหรับการป้องกัน ก็พอสังเขป ต่อไปก็เป็นการรักษา พรุ่งนี้ถ้าว่างจะมาต่อครับ

aeeprs

การรักษา

ยาปฏิชีวนะ เป็นสิ่งที่ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ ที่มาทำร้ายร่างกายนก หยุดการเจริญเติบโต หรือตายไป แต่ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้นกหายป่วย หรือรอดตายได้ สิ่งที่ทำให้นกหายได้ คือภูมิต้านทานของนกเอง ดังนั้นส่วนประกอบอื่นก็สำคัญไม่แพ้ยา นั้นคือ ความอบอุ่น น้ำ เกลือแร่  วิตามิน และอาหาร

ความอบอุ่น
  ทุกครั้งที่นกป่วย เราจะได้รับคำแนะนำให้กกไฟ เนื่องจาก เมื่อนกมีไข้ จะทำให้สูญเสียความร้อนของร่างกายไป ทำให้นกอ่อนแอลง
การกกไฟ จะให้ความอบอุ่นแก่นก
  การกกไฟ อย่าลืมป้องกันไม่ให้นกไปถูกไฟที่กกได้ ไม่เช่นนั้นนกจะถูกลวกได้ และในกล่องกกไฟ ควรมีถ้วยน้ำ ที่นกเข้าถึงไม่ได้ด้วย เพื่อให้ความชื้นในตู้กกไฟ ไม่เช่นนั้นนกอาจเสียน้ำเพิ่มขึ้นครับ

น้ำ+เกลือแร่+ไวตามิน
  เมื่อนกป่วย ถ้ายังไม่มียา น้ำเกลือแร่ แบบที่ชงกินในคน ป้อนนก นกยังคงสามารถอยู่ต่อไปได้ครับ แต่ถ้านกป่วย แล้วขาดน้ำ ขาดเกลือแร่ ต่อให้ได้ยาดี ก็อาจ ตายได้

อาหาร
  เมื่อนกป่วย จะทานอาหารน้อยลง ส่วนร่างกายนก ก็จะสูญเสียพลังงานและโปรตีนอย่างรวดเร็ว จะเห็นว่านกป่วยอกมักแหลม
นกป่วยจึงควรได้ อาหารโปรตีนสูงขึ้นครับ อาจเพิ่มอาหารไข่ให้แก่นกครับ

aeeprs

มาถึงเรื่องยาซักที

เมื่อนกป่วย ควรได้ยารักษา แล้วจะให้ยาทางไหนดีละ

ดีที่สุด คือ การป้อน การฉีดยา(เข้ากล้าม หรือเข้าหลอดเลือดดำ)
สะดวกที่สุด คือ การผสมน้ำ หรือผสมในอาหาร

การป้อนยา ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็ว่าได้ เนื่องจาก นกได้ยาครบตามที่เราให้ และ ผลของการป้อน สามารถทำให้ได้ฤทธิ์ยา ใกล้เคียงกับยาฉีดทีเดียว ในกรณีที่นกยังไม่ป่วยมาก และลำไส้ยังดูดซึมได้ดี    ข้อเสียคือ ต้องจับนกให้ได้ และนกจะเครียด นกบางชนิด เมื่อเครียด จะทำให้ป่วยหนักขึ้น และตายได้ นกเชื่องการป้อนถือว่าดีที่สุด

การฉีดยา ก็ดี จะทำให้นกได้ยาครบตามเราให้  ในนกที่ป่วยหนัก การดูดซึมอาหาร ไม่ได้แล้ว ก็ต้องอาศัยการฉีด ข้อเสียคือ ต้องจับนกให้ได้ นกเจ็บ และทำได้ยาก
 ฉีดเจ้ากล้าม ให้ฉีดที่อก
 ฉีดเข้าเส้น บริเวณใต้ปีก จะเห็นเส้นเลือดชัด โดยเฉพาะนกใหญ่

การให้ยาผสมในน้ำ ข้อดีคือสะดวก นกกินน้ำทุกครั้ง ก็ได้ยาทุกครั้ง
 ข้อเสีย คือ นกได้ยาไม่เพียงพอ  ยาบางตัวจะสลายตัวเร็วเมื่อผสมกับน้ำ ยาส่วนใหญ่มีรสขม ทำให้นกพลอยไม่ยอมกินน้ำไปด้วย ทำให้นกขาดน้ำได้
  แต่ก็มียาบางตัว ที่ผสมน้ำแล้ว ปริมาณยา ที่นกได้รับ ยังพอเพียงต่อการรักษา จากการทดลอง ยาที่สามารถ ผสมน้ำให้นก แล้วนกยังได้ปริมาณยาเพียงพอคือ
Enrofloxacin,Sulfachlorpyridizine,spectinomycin,Nitrofurazone,Aminoglycoside
เขาแนะนำให้ผสมน้ำผลไม้หรือน้ำหวานลงไปด้วยเพื่อความอร่อย และทำให้นกกินน้ำมากขึ้น

 การผสมในอาหาร ก็สะดวก ตราบใดที่นกยังกินอาหารได้ ก็เป็นวิธีหนึ่ง แต่ก็เช่นเดียวกับการผสมในน้ำ คือนกได้ยาไม่แน่นอน ยาที่นิยมผสมในอาหารมากที่สุดคือ Tetracyclin เนื่องจากยาตัวนี้ จะสลายตัวเร็ว เมื่อผสมกับน้ำ

tan

มารอฟังต่อคับ

เป็นความรู้ที่ดีสำหรับคนเลี้ยงคับ ขอบคุณพี่หมอมากๆคับ

aeeprs

เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับนก

ที่พบบ่อยคือ
 
แบคทีเรียแกรมลบ ยีสต์ คลามัยเดีย
แบคทีเรียแกรมลบ ตอบสนองต่อยา Bactrim,Enrofloxacin,amikacin,cefotaxime,piperacillin
ยีสต์ ตรวจจากมูลนก ตอบสนองต่อยา Nystatin,ketoconazole,fluconazole
คลามัยเดีย ตอบสนองต่อยา tetracyclin

ที่พบไม่บ่อยคือ

แบคทีเรียแกรมบวก ไมโครพลาสม่า เชื้อราในกระแสเลือด ไมโครแบคทีเรีย
แบคทีเรียแกรมบวก
staphyllococcus aureus ตอบสนองต่อยา cloxacillin,cephalexin,cephalothin
streptococcus ตอบสนองต่อยา amoxycillin,amoxycillin+clavulanic acid
mycoplasma ตอบสนองต่อยา Enrofloxacin,tetracyclin,tylosin
เชื้อราในกระแสเลือด อาจต้องใช้ยาหลายๆตัวช่วยกัน แต่มักตอบสนองต่อยาเหล่านี้ได้ดี amphotericinB,itraconazole,fluconazole,flucytocin
พวก mycobacterium aviumรักษายากมาก ต้องใช้การเพาะเชื้อและทดสอบยา

aeeprs

Doseยาต่างๆ

กลุ่มQuinlone

Enrofloxacin 7.5-15 mg/kg(นก) ป้อน เช้าเย็น หรือ
                  ผสมน้ำ 100 ppm(0.1-0.2 mg/น้ำ1ซีซี)
                  ให้กิน 10 วัน
Ciprofloxacin ให้เหมือน Enrofloxacin ตัวนี้ดีกับหวัดหน้าบวม(sinusitis)

กลุ่มpeniccillin
 
Amoxycillin 45-75mg/kg วันละ 4 เวลา
amoxycillin+clavulanic acid ให้ดูส่วนผสมของamoxycillin แล้วมาคำนวน เช่นaugmentin 375mgมีamoxycillin 250 mgเป็นต้น

กลุ่มcepharosporin

cephalexin,cephalothin 35-50mg/kg วันละ 4 ครั้งในนกใหญ่
                                                   วันละ 2-3 ครั้งในนกเล็ก
cefotaxime,ceftriaxone 75-100mg/kg ฉีดเข้ากล้าม 3-6ครั้ง

กลุ่มaminoglycoside

Neomycin มักทำเป็นยาหยอดตา
Gentamicin2.5-5 mg/kg ฉีด วันละ 2 ครั้งเข้ากล้าม
Tobramycin 2.5-5 ฉีดวันละ 2 คร้งเข้ากล้าม
Amikacin 10-15 mg/kg ฉีดเข้ากล้ามวันละ 2-3 ครั้ง

กลุ่ม Tetracyclin

Doxycliclin แนะนำให้ใช้ในchlamydiosis
โดส 40-50mg/kg วันละ 2 ครั้งในนก คอคคาเทียวมบลูฟร้อนและออเร้นวิง อเมซอน
       25mg/kgวันละ 2 ครั้ง ในนก อาฟริกันเกร์ย,กระตั้วกอฟฟิน,บลูโกลและกรีนวิง มาคอว์
       นอกจากนกที่ระบุพันธุ์มาแล้ว ให้ใช้ 25-50mg/kg อาจมีอาเจียนได้ ถ้าอาเจียน ให้ลดโดสลง 25% หรือแบ่งให้ทีละน้อย

Trimetroprim/Su;fonamide (Bactrim)

โดส 16-24 mg/kg กินวันละ 2 ครั้ง หรือ 8mg/kg ฉีดเข้ากล้ามวันละ 2 ครั้ง

MacrolidesและLincosamides

กลุ่มนี้จะละคายกระเพาะ
tylosin โดส 15-25mg/kgแดเข้ากล้าม 2-3 ครั้งต่อวัน
Erythromycin โดส 500 mg/น้ำ 1 แกลลอน

Antifungal ยาฆ่าเชื้อรา

Nystatin โดส 300,000IU/kg กินวันละ 2-3 ครั้งเป็นเวลา 5-10
             วัน ข้อควรระวังคือ ยานี้เป็นแบบสัมผัสตาย คือ ตัวยาต้องสัมผัสกับเชื้อ เชื้อถึงตาย ถ้าเป็นเชื้อราในปากแล้วป้อนด้วยสายยาง ยาอาจไม่สัมผัสกับ เชื้อ ทำให้เชื้อไม่ตาย ยานี้ไม่ดูดซึมในทางเดินอาหาร ดังนั้นโอกาศโอเวอร์โดสจึงแทบไม่มี
AmphotericinB โดส1.5mg/kg ฉีดเข้าเส้น
Ketoconazole โดส 30mg/kg กินวันละ 2 เวลา 14-30 วัน เนื่อง
                    จากมันดูดซึมได้ดีในสภาพที่เป็นกรด จึงควรให้
                     พร้อมอาหาร
Fluconazole โดส 2-5 mg/kg ให้Double loading dose(กิน 2
                  เท่า)ก่อนใน 24 ชั่วโมงแรก กิน 14-30 วัน

ที่มาของข้อมูล Harrison bird food.com บทที่ 17 เรื่อง
 Antimicrobial theryphy ลองไปอ่านได้ ซึ่งความจริงโดสยาในนก มันไม่มีโดยเฉพาะ และยาของนกก็ไม่มีโดยเฉพาะ ต้องเอาไปเที่ยบกับสัตว์ชนิดอื่นและกับคน โดสยาในแต่ละที่อาจไม่เหมือนกันทีเดียว

  ให้ไว้ทั้งยากินยาฉีด เพราสมาชิกแต่ละท่าน มีความพร้อมไม่เท่ากันครับ

aeeprs

หลายท่านบอกว่า อ่านมาตั้งนาน ไม่เห็นฟันธงเลยว่า นกป่วย ด้วยโรคนี้ ใช้ยาอะไร?ถึงหาย
 ขอเรียนว่า โรคต่างๆ ไม่มีสูตรสำเร็จครับ ต้องใช้การปรับเปลี่ยนไปตามสภาพ

ทีนี้ลองมาดูเป็นโรคๆไป

หวัด

อาการ ซึม มีน้ำมูกไหล อาจมีจามร่วมด้วย
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ แกรมลบ ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อ
          แกรมบวก และยิ่งน้อยใหญ่ที่เกิดจากเชื้อที่ไม่ใช้
          อ๊อกซิเจน
การรักษา รักษาตามอาการ ให้น้ำเกลือแร่ กกไฟ
            ยา
            ตัวแรกที่ควรใช้เลยคือ Enrofloxacin ถ้าหาไม่ได้
             Bactrim ก็พอใช้ได้
            ถ้าใช้ยาแล้ว นกไม่ดีขึ้น เชื้ออาจจะไม่ได้เกิดจาก
            แกรมลบแล้ว อาจต้องเปลี่ยนเป็น ยา Amoxycillin
            หรือ Amoxycillin+Clavulanic acid หรือ
            cepharosporin
            ถ้ารักษาไปแล้ว อาการไม่ดีขึ้น แถมหน้าบวมอีก
            แสดงว่าโพรงไซนัสอักเสบแล้ว เชื้อเป็นแบบ
            ไม่ใช้อ๊อกซิเจน ก็ให้ใช้ Ciprofloxacin

            อาการไอ จาม น้ำมูก Actifed ได้ครับ แต่ระวังแห้งไป ควรให้นกดื่มน้ำมากๆ

aeeprs

นกท้องเสีย

อาการ นกซึม ถ่ายเหลว สีไม่ปกติ ตาโหล ขาอ่อนเกาะคอนไม่ไหว
          ขนที่ก้นเปื้อนอึ ท้องห้อย
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ แบคทีเรียแกรมลบ รองลงมาก็เชื้อ
          คลามัยเดีย ส่วนน้อยก็เชื้อรา ในทางเดินอาหาร
การรักษา กกไฟ ให้น้ำเกลือแร่
ยา
   ยาตัวแรกที่ใช้คือ Enrofloxacin ถ้าหาไม่ได้ก็Bactrim
   ถ้ารักษาแล้วไม่ดีขึ้น อึนกสีเขียวเรืองแสง ให้คิดถึงคลามัยเดีย
   ก็ให้Doxycyclin
   ในนกที่ได้ยาปฏิชีวนะนานๆ แล้วท้องเสีย ให้คิดถึงเชื้อราในทาง
   เดินอาหาร ก็ให้ยา Nystatin


***จะเห็นว่าเชื้อที่ทำให้เกิดหวัด และทำให้เกิดท้องเสีย ส่วนใหญ่sensitiveต่อ Enrofloxacin ดังนั้นจะเห็นสัตว์แพทย์มักจ่ายยาEnrofloxacin ให้ก่อน เพราะมันคลุมได้มเยอะ*****

aeeprs

ตาเจ็บ

ในบริเวณตาของนกประกอบด้วยส่วนที่เป็นแก้วตา ซึ่งไม่มีเลือดมาเลี้ยง กับส่วนที่เป็นหนังตา จะเป็นส่วนที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยง ดังนั้นหาก เป็นที่แก้วตา จึงใช้ยาหยอดได้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้ารอบๆตาบวมด้วย ยากินจะมีส่วนช่วยด้วย
 การให้ยา เมื่อหยอดหรือป้ายตาแล้ว ให้จับนกไว้ซักครูแล้วค่อยปล่อย ไม่เช่นนั้นนกจะเช็ดยาออกจากตาจนหมด

อาการ  ตาบวม ตาปิด ตาขุ่น
สาเหตุ การระคาย การติดเชื้อ หรืออุบัติเหตุ
การรักษา ให้ยา
ยา
อาจเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตา หรือ ยาหยอดตาก็ได้ มีตั้งแต่ chloramphenical,teramycin,และหลังๆมามีFlucithal mic viscous eyedrop ที่ฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่า
โดยปกติ เราจะให้พยายามหลีกเลี่ยงยาที่มีสเตียรอย เช่น sofadex,Dexoph เพราะสเตียรอย ทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น
แต่ถ้าแน่ใจว่าตาเจ็บนั้นเกิดจากการระคายเคือง หรือไวรัส สามารถ
ใช้ยาตัวนี้ได้ ซึ่งให้ผลเร็ว

ถ้าหนังตาบวมด้วย เราอาจให้ยากินร่วมด้วย แนะนำให้ใช้ Amoycillin และ บ่อยครั้งพบว่า แพทย์รักษานก จะให้Danzen ช่วยให้ยุบบวมได้เร็วขึ้นด้วย

aeeprs

เชื้อรา ในทางเดินอาหาร

เชื้อราในทางเดินอาหาร ตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก มักเกิดกับนกเล็กและลูกป้อน ไม่ว่าในปาก ในกระเพาะพัก หรือในกระเพาะลำไส้
มักเป็นกลุ่มยีสต์

อาการ
 นกทานได้น้อย น้ำหนักลด เปิดปากดู เห็นขาวๆในปาก หรือถ้าสวอร์ป ก้นดูจะเห็นเชื้อรา

การรักษา
 เชื้อราพวกนี้ ตอบสนองต่อ Nystatin ซึงเป็นยาสัมผัสกับเชื้อรา เชื้อถึงตาย เพราะฉนั้น การให้ยา ต้องให้ยาสัมผัสกับที่เป็น ไม่ว่าในปาก ในกระเพาะพัก ในลำไส้ ยาตัวนี้ไม่ดูดซึมในทางเดินอาหาร
จึงสามารถไปถึงลำไส้ได้ และโอกาศโอเวอร์โดสน้อยมาก

ส่วนนกที่เป็นเชื้อราติดเข้าในกระแสเลือดแล้ว เช่นพวกcryptococcus neoforman  การวินิจฉัยต้องใช้การเจาะเลือดตรวจ ยาที่เหมาะสมคือ Fluconazole ครับ

i'm sam

รบกวนถามอาหมออี้ค่ะ ทิสตาตินกะนาสตาตินเหมือนกันรึป่าวคะ  แล้วมันเป็นยาน้ำใช่มั้ยคะ ถามน้องที่เป็นเภสัชเค้าบอกมีแต่นาสตาติน ใช้ป้ายลิ้นเด็กเวลาเป็นเชื้อราในปาก
Uncle Frankie "ร้ายก็รักน้า เกรย์((เร))ยังไงก็รักน้าา" :hammer:  :hammer:  :hammer: