นกแก้วโม่งมีอาการชักเกิน 24 ชมแล้ว ช่วยมันยังไงดีคะ

เริ่มโดย Guest, เมษายน 10, 2008, 12:15:06 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงน้อย

อ้างถึงKomeporN เป็นผู้เขียน:
ไปหาข้อมูลในเน็ทเกี่ยวกับ คลามัยเดีย แล้วพบว่าเปงเชื้อโรคชนิดหนึ่งแต่รายละเอียดมีไม่ชัดนัก จึงใคร่ถามผู้ชำนาญทั้งหลายว่าคลามัยเดียนี่เกิดมาได้ยังไง และมีอาการของโรคยังไงนอกจากท่านผู้รู้ได้อธิบายข้างต้นมาแล้ว เพราะหาข้อมูลยังไงก็หาไม่เจอ ส่วนอาการปวดหัวหนักของตัวผู้โพสต์เองก็ยังไม่หายคะ ยังเป็นอยู่พอทรงอาการได้

สงสัยจะชินกับการพิมพ์ว่า เปง   มาเอาใจช่วยให้พิมพ์ให้ถูกนะครับ   :-)
ลุงน้อย แสนดี. 555

KomeporN

แก้ไขคำผิดแล้วนะคะพอดีชินกะในMsnมากไปหน่อย

โรคคลามัยเดียจากที่หามาใช่ลักษณะดังนี้รึเปล่าคะ

โรคคลาไมดิโอซีส ( Chlamydiosis )

 
หมายถึง โรคที่เกิดจากเชื้อ คลาไมเดีย ( chlamydia ) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นแบคทีเรียมากกว่าไวรัส แต่เดิมโรคนี้มี 2 ชื่อ คือ ซิตตาโคซีส ( psittacosis ) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนและนกพวก ซิตตาซิน ( psittacine ) เช่น นกแก้ว นกหงส์หยก เป็นต้น ส่วนออนิโทซีส ( ornithosis ) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในนกอื่นๆ ที่ไม่ใช่พวกซิตตาซิน แต่ทั้งคู่ก็เกิดจากเชื้อเดียวกัน ดังนั้น จึงเรียกโรคทั้งสองว่า คลาไมดิโอซีส และจัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย

สาเหตุ ( Etiology )
เกิดจากเชื้อ คลาไมเดีย ซิตตาไซ ( Chlamydia psittaci ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในเซลล์ เชื้อนี้จะแพร่กระจายทางอากาศ ตามปกติจะเกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยง การฆ่าสัตว์ปีก และจากนกที่เลี้ยงตามบ้าน เช่น นกแก้ว และ นกหงส์หยก เป็นต้น ในคนจะทำให้เกิด เอทีปปิคอลนิวโมเนีย ( atypical pneumonia )

อาการ ( Symptoms ) และ รอยโรค ( Lesion ) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ


พวกที่เกิดจากเชื้อชนิดรุนแรง มีอาการเบื่ออาหาร อุณหภูมิร่างกายสูง( 41 -43 เซลเซียส ) หลับใน และมีอุจจาระ เป็นเจลลาตินสีเขียวปนเหลือง ผลสุดท้ายจะซึมมากและตาย เวลาผ่าซาก ซากจะ ที่เห็นเด่นชัดคือ หัวใจขยายใหญ่ มีแผ่นไฟบรินเกาะรอบๆ เยื้อหุ้มหัวใจหนา และมีเลือดคั่งพร้อมกับมีไฟบรินนัสเอ็กซูเตต ( fibrinous exudate ) ปอดมีสีแดงเข้มและมีไฟบรินนัสเอ็กซูเดต
พวกที่เกิดจากเชื้อชนิดรุนแรงน้อย ส่วนมากเป็นแบบ เรื้อรัง จะมีอาการเบื่ออาหารเล็กน้อย หลับใน และมัก จะแพร่เชื้อเป็นวงจรจากพ่อแม่ ไปยังลูก จะตายเป็นจำนวนมาก ส่วนตัวที่รอดจะไม่แสดงอาการแต่จะเป็นพาหะนำโรค

การวินิจฉัยโรค ( Diagnosis )
การวินิจฉัยต้องอาศัยการทดสอบในห้องปฎิบัติการ โดยการทำอิมเพรสชันสเมียร์จากเอ็กซูเดตที่ได้จากเยื้อหุ้มหัวใจ ตับ และอวัยวะอื่นๆ แล้วย้อมด้วยสี จิมซา ตรวจหา อินตราไซโตพลาสมิกคลาไมเดีย ( intra cytoplasmIc chlamydia ) ซึ่งมีลักษณะกลม ส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 0.5 ไมครอนและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

การรักษา ( Treatment )
ยาที่ได้ผลดีคือ คลอเตตราไซคลินและเตตราไซคลินชนิดอื่นๆ ยาเหล่านี้ใช้มนขนาด 200 - 400 กรัม สมอาหาร 1 ตัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ อย่างไรก็ดียานี้สามารถทำลายเชื้อได้หมดทีเดียว

การป้องกันและควบคุม ( Prevention and control )
เมื้อพบโรคนี้จะต้องควบคุม การแพร่กระจายของเชื้อ เชื้อนี้จะฆ่าได้ง่ายโดยยาฆ่าเชื้อโรคพวกฟีนอลและฟอร์มาลดีไฮด์ และทำให้พื้นชื้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปกับฝุ่นละออง