+++++++++ ยาสามัญประจำบ้าน(สำหรับนก) +++++++++

เริ่มโดย zil3, กรกฎาคม 10, 2009, 02:24:07 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

zil3

สืบเนื่องจากในกระทู้นกป่วย ได้เห็นมีหลายๆกระทู้ที่พบนกป่วยในลักษณะคล้ายๆกัน และพบว่าลักษณะการรักษาบางอาการก็เคยเห็นผ่านตามาจากในกระทู้เก่าๆบ้างแล้ว จึงอยากขอความรบกวนทุกๆท่านเลยนะคะ ถ้าหากพอจะให้ข้อมูลตรงส่วนไหนได้บ้างจะเป็นประโยชน์มากค่ะ ไม่ต้องตอบให้ครบทุกข้อก็ได้ค่ะ ไม่มีปัญหา แยกสรุปเป็นหัวข้อต่างๆได้ดังนี้ค่ะ


1. ยาสามัญประจำบ้านสำหรับนก
- ควรมียาอะไรติดบ้านไว้บ้าง เพื่อที่จะได้ช่วยประคองอาการ หรือรักษาได้ทันท่วงที เนื่องจากบางกรณีเห็นว่าผู้เลี้ยงอยู่ไกล หรือไม่สะดวกเดินทาง พานกไปหาหมอ หรือ ไปซื้อยา ทำให้กว่าจะได้รับการรักษา นกอาจจะป่วยหนักไปแล้วค่ะ


2. วิธีเก็บรักษายา และ ข้อมูลทั่วไปของยาที่ควรรู้
- เช่นเก็บในตู้เย็นดีกว่า หรือ อื่นๆ เป็นต้น
- ยามีอายุนานเท่าไหร่ เมื่อเปิดใช้
- วันหมดอายุหรือวันผลิตของยาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน บางท่านอาจหาวันหมดอายุไม่เจอว่ามีระบุไว้ตรงส่วนไหนของกล่องหรือฉลาก จึงอยากให้ช่วยแนะนำว่ายาแต่ละชนิดดูวันหมดอายุได้ตรงไหนบ้าง
- ลักษณะของยาหมดอายุแต่ละชนิด เช่น สีเปลี่ยนไป ยาน้ำข้นขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น


3. อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการรักษาที่ควรมีติดบ้านหรือสำรองไว้
- เช่น ไซริงค์, ไส้ไก่ หรืออื่นๆ (ที่อาจต้องใช้ป้อนยานก)


4. การรักษาอาการเบื้องต้น
สำหรับนกขนาดเล็ก/กลาง/ใหญ่ (เช่น ...... )
- อาการ (แบบคร่าวๆที่พบเจอบ่อยๆ)
- การรักษา (นกขนาดเล็ก/กลาง/ใหญ่)


5. โรงพยาบาลสัตว์ที่รักษานก
ในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ ให้ระบุรายละเอียดดังนี้ค่ะ

- จังหวัด
- ชื่อโรงพยาบาล
- เบอร์โทรศัพท์
- ที่อยู่ (ถ้ามี)
- เดินทางไปได้อย่างไร (เช่น BTS สถานีอ่อนนุช เดินไปอีก 10 นาที เป็นต้น)
- เปิด-ปิดกี่โมง วันไหนบ้าง
- คุณหมอที่แนะนำ
- เรตราคา (ให้ยกตัวอย่างเอาค่ะ เช่น พานกขาหักไปหาหมอ หมอรักษาให้อย่างไรบ้าง สรุปแล้วค่าใช้จ่ายเท่าใด เป็นต้นค่ะ เพื่อนๆจะได้ประมาณถูกค่ะ ไม่ต้องเรตเป็น แพง แพงมาก ไม่แพง นะคะ)


6. โรงพยาบาล Blacklist

- จังหวัด
- ชื่อโรงพยาบาล
- คุณหมอที่ blacklist
- ทำไมถึง blacklist (ให้ยกเคสตัวอย่างมาค่ะ)

การรวมข้อมูล Update : ทุกๆ 3 วัน

ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการสืบค้น และ เป็นประโยชน์ต่อทั้งคุณหมอนกหลายๆท่านรวมไปถึงผู้ที่เลี้ยงนกด้วยค่ะ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกๆท่านที่มีส่วนร่วมให้การช่วยให้ข้อมูลนะคะ แล้วเดี๋ยวจะเอาข้อมูลของแต่ละ comment มา update รวมให้อีกทีเป็นระยะค่ะ

ถ้าหากกระทู้แนวนี้เคยมีตั้งไปแล้ว ต้องขออภัยด้วยนะคะ ^/\^

//Edit เล็กน้อยค่ะ
จริงๆ จขกท. ไม่ทราบว่าใครเป็นคุณหมอบ้าง ก็เลยได้แต่ pm ไปรบกวนพี่ๆที่ตอบกันติด top 10 เนื่องจากเป็นพี่ๆกลุ่มแรกที่เห็นเด่นชัดมาก (ซ้ายมือ) ทั้งนี้อยากได้ข้อมูลจากทุกท่านเลยนะคะ มาตอบกันเยอะๆนะคะ คนละนิดละหน่อยก็ได้ เดี๋ยวรวมกันก็จะเป็นข้อมูลที่มากขึ้นและครบถ้วนเองค่ะ





====================================
สรุปข้อมูล (Update: 13 ก.ค. 52  เวลา 14.42 น.)
====================================

1.ยาสามัญประจำบ้านสำหรับนกที่ควรมีใว้ติดบ้าน

ชื่อยา: ด้อคซี่ไซคลีน (doxycycline)
ประเภท: ยาแก้อักเสบ มีทั้งเป็นรูปเม็ด แคปซูล หรือแบบผงละลายน้ำ
ใช้รักษาอาการ: ใช้รักษาโรคทางเดินหายใจ หวัด หลอดลม ทางเดินอาหารและลำไส้อักเสบหรือนกที่ซึมจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
การให้ยา: โดส 25mg/1ก.ก. ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้ หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ครึ่งเม็ดผสมน้ำ100ซี.ซี.ให้กินน้ำยาเอง 5 วัน เช้าละลายยา เย็นเทน้ำยาทิ้ง
หมายเหตุอื่นๆ: ยาตัวนี้ค่อนข้างระคายเคืองกระเพาะครับ หากกินผสมอาหารจะดี อีกอย่างยาจะค่อนข้างขม นกไม่ค่อยชอบ แต่หากผสมกับวิตามินรวมที่เป็นไซรัป ก็จะดีครับ ป้อนง่ายกว่า
 
ชื่อยา: เอ็น โรฟล๊อคซาซิน10% (enrofloxacin10%)
ประเภท: ยาแก้อักเสบ
ใช้รักษาอาการ: สามารถต่อต้านเชื้อทังแกรมบวกและแกรมลบคอบคุมได้กว้างกว่าด้อคซี่ รักษาอาการท้องเสียได้ด้วย
การให้ยา: โดส 15mg/1ก.ก. ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้ หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ละลายยาให้นกกินน้ำเอง 0.2ซี.ซี./น้ำ 50ซี.ซี.
หมายเหตุอื่นๆ: เป็นยาสัตว์ สรรพคุณจะดีกว่าด้อคซี่

ชื่อยา: เมโทรนิดาโซล (metronidazole)
มีหลายรูปแบบทั้งชนิดที่เป็นม็ด และเป็นน้ำ โดยแบบน้ำนั้นจะเป็นรูปแบบของยาฉีด คุณภาพและมีความบริสุทธิ์ของตัวยาสูง แต่นำมาคำนวณขนาดการให้ยาใหม่ให้เหมาะสมกับรูปแบบกิน ใช้ผสมน้ำให้กิน หรือใช้ป้อนโดยตรง แต่ยาฉีดจะหาซื้อยาก รูปแบบที่หาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไปคือในรูปแบบเม็ดซึ่งใช้ได้ดีเหมือนกัน ราคาไม่แพง ยิ่งซื้อเป็นกระปุกจะยิ่งถูกมาก สามารถนำมาบดผสมอาหารได้
ประเภท: ยาตัวนี้ปลอดภัยในการรักษาโรคเบื้องต้นเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และออกฤทธิ์ได้ดีกับแบคทีเรียกลุ่มอื่นๆ รวมถึงเชื้อบิดซึ่งถือเป็นโปรโตซัวที่ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารทำให้อึมี เลือดปน
ใช้รักษาอาการ: ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวหรือโรคบิด อาการของโรคท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือดและโรคแคงเกอร์ มักเกิดในนกพิราบและนกเล็กบางสายพันธุ์เช่นฟิ้นส์7สี อาการของโรค กินอาหารแล้วผอมลงๆ อกจะแหลมและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากเป็นเชื้อราที่ทางเดินอาหาร นอกจากนี้ในนกปากขอจะมีโปรโตซัวอีกชนิดหนึ่งที่ก่อปัญหาเรื้อรัง ทำให้นกผอมลงเรื่อยๆ ซึ่งยา Metronidazole ก็ออกฤทธิ์คลอบคลุมโปรโตซัวชนิดนี้ด้วย การใช้ยาชนิดนี้ เป็นครั้งคราวจะช่วยลดปัญหาโปรโตซัวได้
การให้ยา: โดส25-50mg/1ก.ก. วันละครั้ง ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้ หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ละลายยาให้นกกินน้ำเอง ครึ่งเม็ด125mg/น้ำ100ซี.ซี.
หมายเหตุอื่นๆ: ซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป

ชื่อยา: poly-oph
ประเภท: ยาหยอดตา - แก้อักเสบ
ใช้รักษาอาการ: ในกรณีที่ยุงกัดหรือติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเลียทั้งแกรมบวกและลบได้
การให้ยา: หยอดตา
หมายเหตุอื่นๆ: -

ชื่อยา: ไมโครสตาติน ชื่อการค้า (mycostatin)
ประเภท: ยาต้านเชื้อรา
ใช้รักษาอาการ: สาเหตุการเกิดโรคคือป้อนอาหารที่ข้นเกินไปและปริมาณมาก ทำให้เกิดเชื้อราที่กระเพาะพัก ต้องดูดอาหารเก่าออกให้หมดแล้วให้ยา
การให้ยา:  โดส3ซ.ซี./1ก.ก. วันละ4ครั้งก่อนอาหาร5-10นาที 2-3วัน
หมายเหตุอื่นๆ: มักใช้เฉพาะกับนกลูกป้อน

ชื่อยา: Bio+12
ประเภท: ยาปฏิชีวนะโบราณที่ไม่ค่อยแรงมาก และมีวิตามินบี 12 ผสมร่วมกับตัวยา มีตัวยาออกฤทธิสำคัญคือ Erythromycin
ใช้รักษาอาการ: แนะนำให้ให้ยาตัวนี้ในบางกรณีเพื่อป้องกันโรค เช่นในช่วงที่ฝนตกบ่อยๆ ให้ติดต่อกันสามวันเป็นอย่างน้อย
การให้ยา: ขนาดยาที่ให้สามารถดูข้างซองได้เลย
หมายเหตุอื่นๆ: -

ชื่อยา: KIALEXIN
ประเภท: ตัวยา CEPHALEXIN เป็นยาลดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจและปอด
ใช้รักษาอาการ: ใช้ตอนเมื่อนกเกิดอาการสำลักอาหารเข้าในหลอดลม โดยนกจะมีอาการสำลักอาหาร ( อ้าปากหายใจเหมือนหอบ แลบลิ้นออกมา )
การให้ยา: ตัวยาเป็นผง วิธีใช้ผสมน้ำ ให้เช้า / เย็น ขนาดอิเล็คตัสขนหนาม หรือกระตั้วมีเดียม ใช้ 1 ช้อนคนกาแฟ ( MAC ) ให้ติดต่อกัน 7 - 10 วัน
หมายเหตุอื่นๆ: -


2. วิธีเก็บรักษายา และ ข้อมูลทั่วไปของยาที่ควรรู้

ส่วน ใหญ่เรื่องการเก็บรักษายา ก็ดูข้างกระปุกหรือซองได้เลยครับ ให้หาคำว่า Expiry date หรือ Exp. date หรืออาจจะเขียนว่า วันหมดอายุ หรือวันสิ้นอายุ  ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ฉลากที่แปะมาข้างกระปุก หรือไม่ก็ตรงฝา นอกจากนี้ก็ก็ดูหากยาเปลี่ยนสีก็เลิกใช้ไม่ว่ายาเม็ดหรือยาน้ำ โดยทั่วไปก็ควรเก็บยาในที่ที่ไม่ชื้น และอุณหภูมิไม่สูงเกินไป

สำหรับบางคนที่ใช้ยาที่เป็นชนิดผงผสมน้ำป้อน (ขวดมักจะเป็นสีชา) หลังผสมแล้วควรเก็บในตู้เย็น ซึ่งใช้ได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์)


3. อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการรักษาที่ควรมีติดบ้านหรือสำรองไว้

เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของ น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับล้างกรงนก  
อ่านได้จากกระทู้ http://www.siamphoenix.com/2008/htdocs/modules/newbb/viewtopic.php?topic_id=2001&forum=1

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนก
อ่านได้จากกระทู้ http://www.siamphoenix.com/2008/htdocs/modules/newbb/viewtopic.php?topic_id=1976&forum=1


4. การรักษาอาการเบื้องต้น
ลักษณะอาการของนกป่วยในด้าน...
1. ทางเดินหายใจ
อาการ: นกอาจจะมีอาการจาม อ้าปากหายใจ หรือมีน้ำมูกเขรอะจมูก สำหรับนกปากขอนั้น จะมีเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างจำเพาะในนกปากขอคือไข้หวัดนกแก้ว (Psittacosis)
ยาที่แนะนำ: Doxycycline ยาตัวนี้เป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง (Broad spectrum) จึงนิยมให้ในโรคทางเดินหายใจอื่นๆด้วย ซึ่งเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย จึงแนะนำให้มีทุกครัวเรื่อน

2. ทางเดินอาหาร
อาการ: สังเกตจากอึนก ดูในเบื้องต้นว่าเหลวกว่าปกติไหม ปกติอึนกจะแบ่งเป็นสามส่วน ได้แก่ส่วนที่เป็นเนื้อของอึ ซึ่งจะมีสีต่างกันขึ้นกับอาหาร ส่วนที่สองคือส่วนปัสสาวะ ซึ่งจะเป็นของเหลว มีปริมาณไม่มากเนื้องจากนกไม่มีกระเพาะปัสสาวะ และส่วนสุดท้ายก็จะเป็นส่วนสีขาว ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นยูเรต เป็นรูปแบบหนึ่งของการขับปัสสาวะในนก นอกจากให้ดูลักษณะว่าเหลว หรือไม่แล้ว ให้ดูว่ามีสีขาวมากเกินกว่าปกติไหม และมีสีแดงปนอยู่หรือไม่ ซึ่งหากมีสีแดงก็จะเกิดจากการมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนปลาย ซึ่งเรามักจะนึกถึงบิด นอกจากนี้ก็ต้องดูที่กระเพาะพัก (Crop) ด้วย ว่านกสามารถย่อยอาหารได้ปกติหรือไม่
ยาที่แนะนำ: ยาในทางเดินอาหารที่แนะนำให้ใช้เบื้องต้นคือ Metronidazole


5. โรงพยาบาลสัตว์ที่รักษานก

จังหวัด: นครปฐม
รพส. มหิดลศาลายา
เคส: ดามขานกที่หัก
การรักษาอยู่ในระดับ: โอเค
ราคา: ไม่ระบุ
การเดินทางไปศาลายาโดยรถเมล์: ปอ. 515 ขึ้นจากอนุสาวรีย์ ถึงหน้าม.มหิดลศาลายา / ขึ้นรถตู้ตรงหน้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้าหรือตรงปั้มบางจากใกล้ๆกันก็ได้ เข้าไปถึงใน ม. เลย

จังหวัด: ปทุมธานี (ย่านรังสิต)
สถานที่: โรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง
การรักษาอยู่ในระดับ: คุณหมอมีความเชี่ยวชาญด้านนกพอสมควรค่ะ เพราะว่าคุณหมอเลี้ยงนกเยอะมาก และมีฟาร์มนก
ราคา: ไม่ระบุ
การเดินทาง: ถ้ามาจากทางแยกบางขันธ์จะอยู่ตรงไฟแดงแรกซ้ายมือ

จังหวัด: กทม.
สถานที่: ไม่ระบุ (คาดว่าชื่อ น.สพ. อาจเป็นชื่อร้านด้วย)
ที่อยู่: เลขที่ 96/240 ม.7 ถ.ท่าข้าม แสมดำ บางขุนเทียน กรุงเทพฯ
เบอร์โทรศัพท์: 02- 895 -6247
สัตวแพทย์ที่แนะนำ: น.สพ.นำดี แซ่เฮง
การรักษาอยู่ในระดับ: ไม่ระบุ
ราคา: ไม่ระบุ
การเดินทาง: ไม่ระบุ

จังหวัด: กทม.
สถานที่: โรงพยาบาลสัตว์เกษตร บางเขน (exotic)
ที่อยู่: แถว ม.เกษตร
เบอร์โทรศัพท์: ไม่ระบุ
สัตวแพทย์ที่แนะนำ: ไม่ระบุ
การรักษาอยู่ในระดับ: ไม่ระบุ
ราคา: ไม่ระบุ
การเดินทาง: ไม่ระบุ

หมายเหตุ: ข้อมูล รพส. บางส่วนได้มาจาก http://www.siamphoenix.com/2008/htdocs/modules/newbb/viewtopic.php?topic_id=1955&forum=1


6. โรงพยาบาล Blacklist
- ยังไม่มีข้อมูล

patainut

เห็นด้วยครับ น่าจะลงในบทความหน้าแรกเลยครับ ยังมีมือใหม่ๆที่เริ่มเลียงเกิดขึ้นมากมายและยังมีมือกลางใหม่กลางเก่าอย่างผมที่เมื่อเกิดปัญหาที่ไรจะดึกแค่ไหนก็ต้องเปิดค้นหาดู แต่ก็เห็นใจผู้ที่ทำบทความม มันคงต้องใช้เวลาพอสมควร

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
[img align=right]salan[/img][img align=left]salan[/img] :-D

put

อ้างถึงzil3 เป็นผู้เขียน:
สืบเนื่องจากในกระทู้นกป่วย ได้เห็นมีหลายๆกระทู้ที่พบนกป่วยในลักษณะคล้ายๆกัน และพบว่าลักษณะการรักษาบางอาการก็เคยเห็นผ่านตามาจากในกระทู้เก่าๆบ้างแล้ว จึงอยากขอความรบกวนผู้รู้ รวมทั้ง (ขออนุญาตตั้งเอง) หมอนก ช่วยสรุปดังนี้ค่ะ


1. ยาสามัญประจำบ้านสำหรับนก
- ควรมียาอะไรติดบ้านไว้บ้าง เพื่อที่จะได้ช่วยประคองอาการ หรือรักษาได้ทันท่วงที เนื่องจากบางกรณีเห็นว่าผู้เลี้ยงอยู่ไกล หรือไม่สะดวกเดินทาง พานกไปหาหมอ หรือ ไปซื้อยา ทำให้กว่าจะได้รับการรักษา นกอาจจะป่วยหนักไปแล้วค่ะ


2. วิธีเก็บรักษายา และ ข้อมูลทั่วไปของยาที่ควรรู้
- เช่นเก็บในตู้เย็นดีกว่า หรือ อื่นๆ เป็นต้น
- ยามีอายุนานเท่าไหร่ เมื่อเปิดใช้
- วันหมดอายุหรือวันผลิตของยาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน บางท่านอาจหาวันหมดอายุไม่เจอว่ามีระบุไว้ตรงส่วนไหนของกล่องหรือฉลาก จึงอยากให้ช่วยแนะนำว่ายาแต่ละชนิดดูวันหมดอายุได้ตรงไหนบ้าง
- ลักษณะของยาหมดอายุแต่ละชนิด เช่น สีเปลี่ยนไป ยาน้ำข้นขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น


3. อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการรักษาที่ควรมีติดบ้านหรือสำรองไว้
- เช่น ไซริงค์, ไส้ไก่ หรืออื่นๆ (ที่อาจต้องใช้ป้อนยานก)


4. การรักษาอาการเบื้องต้น
สำหรับนกขนาดเล็ก/กลาง/ใหญ่ (เช่น ...... )
- อาการ (แบบคร่าวๆที่พบเจอบ่อยๆ)
- การรักษา (นกขนาดเล็ก/กลาง/ใหญ่)


5. โรงพยาบาลสัตว์ที่รักษานก
ในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ ให้ระบุรายละเอียดดังนี้ค่ะ

- จังหวัด
- ชื่อโรงพยาบาล
- เบอร์โทรศัพท์
- ที่อยู่ (ถ้ามี)
- เดินทางไปได้อย่างไร (เช่น BTS สถานีอ่อนนุช เดินไปอีก 10 นาที เป็นต้น)
- เปิด-ปิดกี่โมง วันไหนบ้าง
- คุณหมอที่แนะนำ
- เรตราคา (ให้ยกตัวอย่างเอาค่ะ เช่น พานกขาหักไปหาหมอ หมอรักษาให้อย่างไรบ้าง สรุปแล้วค่าใช้จ่ายเท่าใด เป็นต้นค่ะ เพื่อนๆจะได้ประมาณถูกค่ะ ไม่ต้องเรตเป็น แพง แพงมาก ไม่แพง นะคะ)


6. โรงพยาบาล Blacklist

- จังหวัด
- ชื่อโรงพยาบาล
- คุณหมอที่ blacklist
- ทำไมถึง blacklist (ให้ยกเคสตัวอย่างมาค่ะ)


ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการสืบค้น และ เป็นประโยชน์ต่อทั้งคุณหมอนกหลายๆท่านรวมไปถึงผู้ที่เลี้ยงนกด้วยค่ะ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกๆท่านที่มีส่วนร่วมให้การช่วยให้ข้อมูลนะคะ แล้วเดี๋ยวจะเอาข้อมูลของแต่ละ comment มา update รวมให้อีกทีเป็นระยะค่ะ

ถ้าหากกระทู้แนวนี้เคยมีตั้งไปแล้ว ต้องขออภัยด้วยนะคะ ^/\^

ก่อนอื่นขอออกตัวก่อนไม่ใช่หมอ ความจริงสมาชิกในเว็ปเป็น หมอสัตวแพทย์  เภสัช ก็หลายท่านอยู่  บังเอิญคุณ zil3 ขอรบกวนให้ช่วยตอบหน่อย ก็จะตอบให้ตามความรู้ที่รู้มา  ผิดพลาดประการใดขออภัยใว้ ณ ที่นี้ด้วย

1.ยาสามัญประจำบ้านสำหรับนกที่ควรมีใว้ติดบ้าน
ด้อคซี่ไซคลีน(doxycycline)โดส25mg/1ก.ก.  ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้  หากนกที่ไม่สามารถจับป้อนได้ให้ใช้ครึ่งเม็ดผสมน้ำ100ซี.ซี.ให้กินน้ำยาเอง 5 วัน เช้าละลายยา เย็นเทน้ำยาทิ้ง จะใช้ยาด้อคซี่เมื่อใด  ด้อทซี่เป็นยาแก้อักเสบ ใช้รักษาโรคทางเดินหายใจ หวัด หลอดลม  ทางเดินอาหารและลำไส้อักเสบหรือนกที่ซึมจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
เอ็นโรฟล๊อคซาซิน10%(enrofloxacin10%)โดส15mg/1ก.ก. เป็นยาสัตว์  สรรพคุณจะดีกว่าด้อคซี่ สามารถต่อต้านเชื้อทังแกรมบวกและแกรมลบคอบคุมได้กว้างกว่าด้อคซี่ รักษาอาการท้องเสียได้ด้วย
ขอตัวเดี๋ยวมีโทรศัพท์มา เดี๋ยวคุยนานเครื่องไม่ทำงานอีกต้องพิมพ์ใหม่ เดี๋ยวเนื้อหาไม่เหมือนเดิม

put

มาต่อครับ ธุระเสร็จแล้ว
เมโทรนิดาโซล(metronidazole) ซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป โดส25-50mg/1ก.ก. วันละครั้ง ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวหรือโรคบิด  อาการของโรคท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือดและโรคแคงเกอร์ มักเกิดในนกพิราบและนกเล็กบางสายพันธุ์เช่นฟิ้นส์7สี อาการของโรค กินอาหารแล้วผอมลงๆ อกจะแหลมและตายในที่สุด สาเหตุเกิดจากเป็นเชื้อราที่ทางเดินอาหาร
ยาหยอดตาในกรณีที่ยุงกัดหรือติดเชื้อแบคทีเลีย poly-oph เป็นยาแก้อักเสบ สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเลียทั้งแกรมบวกและลบได้
ส่วนยาต้านเชื้อรามักใช้เฉพาะกับนกลูกป้อน ไมโครสตาตินชื่อการค้า(mycostatin)โดส3ซ.ซี./1ก.ก. วันละ4ครั้งก่อนอาหาร5-10นาที 2-3วัน สาเหตุการเกิดโรคคือป้อนอาหารที่ข้นเกินไปและปริมาณมาก ทำให้เกิดเชื้อราที่กระเพาะพัก ต้องดูดอาหารเก่าออกให้หมดแล้วให้ยา
ยังมียาอีกหลายตัวแต่ที่ไม่นำมากล่าวถึงเพราะไม่มีโดสรักษาเป็นตัวๆ  ส่วนใหญ่จะบอกการรักษาที่มีปริมาณมาก
ข้อ2-3 คงไม่ต้องกล่าวเพราะคงรู้อยู่แล้วว่าจะต้องทำอย่างไร4.การรักษาอาการเบื้องต้น คือก่อนอื่นต้องสังเกตุอาการของนกออกว่าอย่างนี้ปวยหรือไม่ก็ให้ยาตามโดสที่บอกในกรณีที่เป็นลูกป้อน  ถ้าเป้นนกป่าหรือนกโตแล้วจับป้อนไม่ได้ก็ต้องละลายยาให้นกกินน้ำเอง ด้อคซี่บอกไปแล้ว เอ็นโร0.2ซี.ซี.50ซี.ซี.  เมโทรนิดาโซลครึ่งเม็ด125mg/น้ำ100ซี.ซี.
5.ขอโทษด้วยผมคนต่างจังหวัด ไม่สามารถแนะนำโรงพยบาลในเขตกรุงเทพได้

sparrow

ไม่ได้เป็นผู้รู้นะครับ  แต่ขออนุญาตออกความเห็นนิดหน่อย

สำหรับยาปฏิชีวนะ (แปลว่าย่าฆ่าเชื้อ) จริงๆในนกก็มีใช้เยอะแยะมากมายหลายชนิดครับ  แต่ส่วนใหญ่ที่อยากแนะนำให้มีติดบ้านไว้ก็มีสามตัวดังนี้ครับ

1  Metronidazole มีหลายรูปแบบทั้งชนิดที่เป็นม็ด  และเป็นน้ำส่วนตัวผมจะนิยมใช้เป็นน้ำซึ่ง  จะเป็นรูปแบบของยาฉีด คุณภาพและมีความบริสุทธิ์ของตัวยาสูง  แต่นำมาคำนวณขนาดการให้ยาใหม่ให้เหมาะสมกับรูปแบบกินครับ  ใช้ผสมน้ำให้กิน  หรือใช้ป้อนโดยตรงเลยก็ได้ครับ  แต่ยาฉีดจะหาซื้อยาก  รูปแบบที่หาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไปคือในรูปแบบเม็ดใช้ได้ดีเหมือนกันครับ ราคาไม่แพง  ยิ่งซื้อเป็นกระปุกจะยิ่งถูกมาก  สามารถนำมาบดผสมอาหารได้ครับ

 นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ได้ดีกับโปรโตซัวอีกด้วย  สำหรับนกแล้วใช้ยาตัวนี้ตัดโปรโตซัวเป็นระยะๆก็ดีครับ  

ขนาดที่แนะนำคือ 25 - 50 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัวนก 1 กิโลกรัมครับ  ให้กินวันละครั้ง

2 Doxycycline  ยาตัวนี้ค่อนข้างระคายเคืองกระเพาะครับ หากกินผสมอาหารจะดี อีกอย่างยาจะค่อนข้างขม นกไม่ค่อยชอบ แต่หากผสมกับวิตามินรวมที่เป็นไซรัป ก็จะดีครับ ป้อนง่ายกว่า  ในท้องตลาดก็จะมีทั้งเป็นรูปเม็ด แคปซูล  หรือแบบผงละลายน้ำ

ขนาดการใช้ 25 มิลลิกรัม / กิโลกรัม

3 Bio+12  เป็นชื่อการค้า มีตัวยาออกฤทธิสำคัญคือ Erythromycin ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะโบราณที่ไม่ค่อยแรงมาก  และมีวิตามินบี 12  ซึ่งผสมร่วมกับตัวยาเพื่อดึงดูดความสนในให้นกกินน้ำ เนื่องจากมีสีแดง  ขนาดยาที่ให้สามาถดูข้างซองได้เลย  ส่วนตัวผมจะแนะนำให้ให้ยาตัวนี้ในบางกรณีเพื่อป้องกันโรค  เช่นในช่วงที่ฝนตกบ่อยๆ  ให้ติดต่อกันสามวันเป็นอย่างน้อย

นอกจากนี้ยังมียาปฏิชีวนะอื่นๆอีกมากมายที่สามารถให้ในนกได้  เช่น Enrofloxacin  ยาในกลุ่มซัลฟา  ยาในกลุ่มเพนนิซิลิน (อาจจะเคยได้ยินว่าห้ามใช้ยากลุ่มนี้ในนก  แต่จริงๆใช้ได้ครับ)  ฯลฯ ซึ่งสำหรับยาเหล่านี้ส่วนตัวผมไม่อยากจะแนะนำให้ใช้เองสักเท่าไหร่  

ปกติแล้วสำหรับคนเลี้ยง ผมคิดว่ายาสามตัวที่แนะนำข้างต้นก็น่าจะเพียงพอ  หากไม่หายก็ควรจะเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์นะครับ   การใช้ยาเองโดยที่ไม่มีความรู้ดีพอ (ยกเว้นระดับเทพทั้งหลาย)  นอกจากไม่หายแล้ว   จะทำให้สัตวแพทย์ซึ่งเป็นผู้รักษาทีกลังทำงานได้ลำบาก  เพราะเชื้อโรคอาจจะดื้อยา  และอาการของนกอาจจะรุ่นแรงมากขึ้นเนื่องจากผลข้างเคียงจากยา
laboratory of Animal Reproductive Biotechnology
รับบริจาคนกที่สิ้นชีวิตแล้วเพื่อการศึกษา......เป็นวิทยาทานนะคร้าบบบบบบบบ

sparrow

นอกจากยาปฏิชีวนะ  ก็ควรมีวิตามินละลายน้ำให้นกบ้างป็นครั้งคราวครับ  ส่วนใหญ่หาซื้อไม่ยาก  ครับ  อัตรส่วนตามข้างขวดเลย

นอกจากนี้ควรมียาฆ่าเชื้อไว้สำหรับทำความสะอาดกรงนก  ตรงส่วนนี้แนะนำให้ลองหาอ่านกระทู้ย้อนหลังดูนะครับ  ผมเคยพูดไปละเอียดพอสมควร

ส่วนใหญ่เรื่องการเก็บรักษายา  ก็ดูข้างกระปุกหรือซองได้เลยครับ  ให้หาคำว่า Expiry date  หรือ Exp. date  หรืออาจจะเขียนว่า  วันหมดอายุ  หรือวันสิ้นอายุ  ครับ  ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ฉลากที่แปะมาข้างกระปุก   หรือไม่ก็ตรงฝา  นอกจากนี้ก็ก็ดูหากยาเปลี่ยนสีก็เลิกใช้ไม่ว่ายาเม็ดหรือยาน้ำ  โดยทั่วไปก็ควรเก็บยาในที่ที่ไม่ชื้น  และอุณหภูมิไม่สูงเกินไป  

สำหรับบางคนที่ใช้ยาที่เป็นชนิดผงผสมน้ำป้อน (ขวดมักจะเป็นสีชา)  หลังผสมแล้วควรเก็บในตู้เย็น  ซึ่งใช้ได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์)

สำหรับเรื่องอุปกรณ์  ผมคิดว่าผู้รู้หลายท่านน่าจะมีคำอธิบายที่ดีกว่าผม
laboratory of Animal Reproductive Biotechnology
รับบริจาคนกที่สิ้นชีวิตแล้วเพื่อการศึกษา......เป็นวิทยาทานนะคร้าบบบบบบบบ

sparrow

สำหรับการรักษาเบื้องต้นนั้น  ผมอยากให้แยกประเด็นก่อนครับ ว่าเป้นทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจ   สำหรับปัญหาทางเดินหายใจก็ดูง่ายๆครับ  นกอาจจะมีอาการจาม  อ้าปากหายใจ  หรือมีน้ำมูกเขรอะจมูกครับ  สำหรับนกปากขอนั้น  จะมีเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างจำเพาะในนกปากขอคือไข้หวัดนกแก้ว (Psittacosis) โรคนี้มียาที่ถือว่าดีที่สุดสำหรับโรคนี้ (drug of choice) ก็คือ Doxycycline  ยาตัวนี้เป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง (Broad spectrum)  จึงนิยมให้ในโรคทางเดินหายใจอื่นๆด้วย   ซึ่งเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย  จึงแนะนำให้มีทุกครัวเรื่อน  

สำหรับโรคทางเดินอาหารนั้น  โดยส่วนตัวผมจะดูจากอึเป็นอย่างแรก  ผมคิดว่าสำคัญครับ  เรื่องอึนกนี่มีตำราทางสัตวแพทย์กล่าวถึงไว้เป็นบทๆเลยครับ   แต่ในเบื้องต้น  เราดูว่าเหลวกว่าปกติไหม  ปกติอึนกจะแบ่งเป็นสามส่วน  ได้แก่ส่วนที่เป็นเนื้อของอึ  ซึ่งจะมีสีต่างกันขึ้นกับอาหาร   ส่วนที่สองคือส่วนปัสสาวะ  ซึ่งจะเป็นของเหลว  มีปริมาณไม่มากเนื้องจากนกไม่มีกระเพาะปัสสาวะ   และส่วนสุดท้ายก็จะเป็นส่วนสีขาว  ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นยูเรต  เป็นรูปแบบหนึ่งของการขับปัสสาวะในนก  

นอกจากให้ดูลักษณะว่าเหลวหรือไม่แล้ว  ให้ดูว่ามีสีขาวมากเกินกว่าปกติไหม    และมีสีแดงปนอยู่หรือไม่  ซึ่งหากมีสีแดงก็จะเกิดจากการมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนปลาย   ซึ่งเรามักจะนึกถึงบิดครับ

นอกจากนี้ก็ต้องดูที่กระเพาะพัก (Crop) ด้วย  ว่านกสามารถย่อยอาหารได้ปกติหรือไม่    

สำหรับยาในทางเดินอาหารที่แนะนำให้ใช้เบื้องต้นคือ Metronidazole ครับ  ยาตัวนี้ปลอดภัย  และออกฤทธิ์ได้ดีกับแบคทีเรียกลุ่มอื่นๆด้วย  รวมถึงเชื้อบิดซึ่งถือเป็นโปรโตซัวที่ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารทำให้อึมีเลือดปน     นอกจากนี้ในนกปากขอจะมีโปรโตซัวอีกชนิดหนึ่งที่ก่อปัญหาเรื้อรัง ทำให้นกผอมลงเรื่อยๆ   ซึ่งยา Metronidazole ก็ออกฤทธิ์คลอบคลุมโปรโตซัวชนิดนี้ด้วย  การใช้ยาชนิดนี้  เป็นครั้งคราวจะช่วยลดปัญหาโปรโตซัวได้
laboratory of Animal Reproductive Biotechnology
รับบริจาคนกที่สิ้นชีวิตแล้วเพื่อการศึกษา......เป็นวิทยาทานนะคร้าบบบบบบบบ

sparrow

สำหรับเรื่องคลินิกหรือโรงพยาบาลสำหรับนกนั้น  ผมไม่ทราบครับ เพราะไม่เคยพาไปเลยสักที่
laboratory of Animal Reproductive Biotechnology
รับบริจาคนกที่สิ้นชีวิตแล้วเพื่อการศึกษา......เป็นวิทยาทานนะคร้าบบบบบบบบ

pjm

เคยพานกไม่ดามขาที่มหิดลศาลายาครับ

แต่จำราคาไม่ได้นานมาก ประมาณ 2 ปีได้ครับ

การรักษาก็โอเคนะครับ  สำหรับนกมาร์คอขาหัก

kaew146

http://www.mybantams.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=20 ลองดูครับเพื่อใช้กันได้ในบางอันครับเห็นเป็นสัตว์ปีกเหมือนกันครับ

zil3

ขอบคุณสำหรับข้อมูลจากทุกท่านมากนะคะ
ได้ทำการ update ข้อมูลรวมแล้วส่วนหนึ่ง
ถ้าหากอ่านพบข้อผิดพลาดประการใดที่ต้องแก้ไขหรือควรเพิ่มเติม แจ้งได้ตลอดนะคะ จะแวะมา update เป็นระยะๆค่ะ

 :-D

...

ถามกันแบบนี้  ไม่รู้จะตอบอย่างไรเลยขอรับกระผม ...... ส่วนใหญ่จะป้องกันไว้ก่อนเสมอ....โดยการให้พืชผักชนิดที่น่าจะใช้เป็นยาได้ จำพวกขิง ข่า ตะไคร้ พริก ใบโหระพา ใบกระเพรา และอื่น ๆ   แต่ถ้าสุดวิสัยส่วนใหญ่จะมีตัวยาเก็บไว้บ้างที่บ้านน๊ะครับ   เดี๋ยวดูก่อน ไม่รู้มีตัวยาตัวไหนที่ใช้ได้บ้างที่เคยจดไว้น๊ะครับ  ....

ผมมีเพิ่มตัวนึง  ใช้ตอนเมื่อนกเกิดอาการสำลักอาหารเข้าในหลอดลม  

โดยนกจะมีอาการสำลักอาหาร  ( อ้าปากหายใจเหมือนหอบ  แลบลิ้นออกมา )

KIALEXIN   ตัวยา CEPHALEXIN  เป็นยาลดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจและปอด

ตัวยาเป็นผง  วิธีใช้ผสมน้ำ  ให้เช้า / เย็น  

ขนาดอิเล็คตัสขนหนาม  หรือกระตั้วมีเดียม  ใช้ 1 ช้อนคนกาแฟ ( MAC )

ให้ติดต่อกัน 7 - 10 วัน    




sparrow

อ้างถึงปู่ เป็นผู้เขียน:
ถามกันแบบนี้  ไม่รู้จะตอบอย่างไรเลยขอรับกระผม ...... ส่วนใหญ่จะป้องกันไว้ก่อนเสมอ....โดยการให้พืชผักชนิดที่น่าจะใช้เป็นยาได้ จำพวกขิง ข่า ตะไคร้ พริก ใบโหระพา ใบกระเพรา และอื่น ๆ   แต่ถ้าสุดวิสัยส่วนใหญ่จะมีตัวยาเก็บไว้บ้างที่บ้านน๊ะครับ   เดี๋ยวดูก่อน ไม่รู้มีตัวยาตัวไหนที่ใช้ได้บ้างที่เคยจดไว้น๊ะครับ  ....

ผมมีเพิ่มตัวนึง  ใช้ตอนเมื่อนกเกิดอาการสำลักอาหารเข้าในหลอดลม  

โดยนกจะมีอาการสำลักอาหาร  ( อ้าปากหายใจเหมือนหอบ  แลบลิ้นออกมา )

KIALEXIN   ตัวยา CEPHALEXIN  เป็นยาลดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจและปอด

ตัวยาเป็นผง  วิธีใช้ผสมน้ำ  ให้เช้า / เย็น  

ขนาดอิเล็คตัสขนหนาม  หรือกระตั้วมีเดียม  ใช้ 1 ช้อนคนกาแฟ ( MAC )

ให้ติดต่อกัน 7 - 10 วัน    





ขออนุญาตแสดงความเห็นอีกนิดนะครับ

ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับคุณ ปู่ ครับ  ป้องกันดีกว่าแก้ไขครับ  ให้พวกสมุนไพรทำให้ร่างกายแข็งแรง  

แต่สำหรับเรื่องยาที่คุณ ปู่ แนะนำนั้น  จริงๆแล้วเป็นยาที่ดีมากครับ แต่ก็มีความจำเพาะมากเช่นกัน  ส่วนตัวผมไม่อยากแนะนำให้ใช้เอง (ยกเว้นระดับเซียนเหยียบเมฆ)   อยากให้สัตวแพทย์เป็นคนจ่ายให้มากกว่าครับ  เพราะถ้าให้ยาแรงกันเองแล้ว  อาจทำใด้ดื้อยาได้  อีกหน่อยเป็นไรหนักๆก็จะไม่มียารักษากัน  การให้ยาโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ (คนทั่วไปมักจะเรียกว่ายาแก้อักเสบ) เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมาก  หากให้ไม่ระวังแล้วอาจเกิดผลเสียได้  

บ่อยครั้งที่เจ้าของสัตว์รักษากันเองจนเละเทะหมดแล้ว  ไปถึงมือหมอก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก  แล้วเจ้าของก็ไปตำหนิหาว่าหมอไม่เก่ง (อันนี้ต้องขอภัยนะครับ  ไม่ได้พาดพิงใคร  แต่อยากพูดเพราะคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ)

ต้องขออภัยคุณ ปู่ เป็นอย่างสูงที่แสดงความเห็นไม่ตรงกันนะครับ
laboratory of Animal Reproductive Biotechnology
รับบริจาคนกที่สิ้นชีวิตแล้วเพื่อการศึกษา......เป็นวิทยาทานนะคร้าบบบบบบบบ

...

อ้างถึงsparrow เป็นผู้เขียน:
อ้างถึงปู่ เป็นผู้เขียน:
ถามกันแบบนี้  ไม่รู้จะตอบอย่างไรเลยขอรับกระผม ...... ส่วนใหญ่จะป้องกันไว้ก่อนเสมอ....โดยการให้พืชผักชนิดที่น่าจะใช้เป็นยาได้ จำพวกขิง ข่า ตะไคร้ พริก ใบโหระพา ใบกระเพรา และอื่น ๆ   แต่ถ้าสุดวิสัยส่วนใหญ่จะมีตัวยาเก็บไว้บ้างที่บ้านน๊ะครับ   เดี๋ยวดูก่อน ไม่รู้มีตัวยาตัวไหนที่ใช้ได้บ้างที่เคยจดไว้น๊ะครับ  ....

ผมมีเพิ่มตัวนึง  ใช้ตอนเมื่อนกเกิดอาการสำลักอาหารเข้าในหลอดลม  

โดยนกจะมีอาการสำลักอาหาร  ( อ้าปากหายใจเหมือนหอบ  แลบลิ้นออกมา )

KIALEXIN   ตัวยา CEPHALEXIN  เป็นยาลดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจและปอด

ตัวยาเป็นผง  วิธีใช้ผสมน้ำ  ให้เช้า / เย็น  

ขนาดอิเล็คตัสขนหนาม  หรือกระตั้วมีเดียม  ใช้ 1 ช้อนคนกาแฟ ( MAC )

ให้ติดต่อกัน 7 - 10 วัน    





ขออนุญาตแสดงความเห็นอีกนิดนะครับ

ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับคุณ ปู่ ครับ  ป้องกันดีกว่าแก้ไขครับ  ให้พวกสมุนไพรทำให้ร่างกายแข็งแรง  

แต่สำหรับเรื่องยาที่คุณ ปู่ แนะนำนั้น  จริงๆแล้วเป็นยาที่ดีมากครับ แต่ก็มีความจำเพาะมากเช่นกัน  ส่วนตัวผมไม่อยากแนะนำให้ใช้เอง (ยกเว้นระดับเซียนเหยียบเมฆ)   อยากให้สัตวแพทย์เป็นคนจ่ายให้มากกว่าครับ  เพราะถ้าให้ยาแรงกันเองแล้ว  อาจทำใด้ดื้อยาได้  อีกหน่อยเป็นไรหนักๆก็จะไม่มียารักษากัน  การให้ยาโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ (คนทั่วไปมักจะเรียกว่ายาแก้อักเสบ) เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมาก  หากให้ไม่ระวังแล้วอาจเกิดผลเสียได้  

บ่อยครั้งที่เจ้าของสัตว์รักษากันเองจนเละเทะหมดแล้ว  ไปถึงมือหมอก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก  แล้วเจ้าของก็ไปตำหนิหาว่าหมอไม่เก่ง (อันนี้ต้องขอภัยนะครับ  ไม่ได้พาดพิงใคร  แต่อยากพูดเพราะคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ)

ต้องขออภัยคุณ ปู่ เป็นอย่างสูงที่แสดงความเห็นไม่ตรงกันนะครับ

ไม่เป็นไรครับ  ถือว่าเป็นการแชร์ประสบการณ์กันน๊ะครับ  .....  คือในความรู้สึกส่วนตัว  จะรักษาและปรึกษาจากหมอพุฒ และหมอชายตัน หมอกุ้ง  และท่านอื่น ๆ   เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ  

จะด้วยติดที่นิสัยไม่ค่อยได้ไปไหนน๊ะขอรับ  และบางครั้งเป็นการรักษาเฉพาะหน้า ........  

นิสัยแบบผมอย่าเอาเยี่ยงอย่างน๊ะขอรับกระผม .....  บางครั้งไปโรงพยาบาลสัตว์  หลาย ๆ คนมีความรู้สึกว่า  อยากจะเจอหมอ ....  คุณหมอที่รักษาเฉพาะด้านนี้เลยครับ ....  แต่สุดท้าย  เจอนักศึกษาแพทย์  หรือคุณหมอที่พึ่งจบน๊ะครับ  

สุดท้ายแล้ว  นี่เป็นเพียงความคิดเห็นเฉพาะผมเท่านั้น  ขอบคุณครับ

ปล. เพราะแต่ละครั้งการพาไป  ล้วนกลับมาพร้อมความเสียใจทุกครั้งไป  สุดท้ายก็รักษาเอง .....  ไม่หายก็ตายด้วยเราเอง .....  
:cry:  :cry:  :cry:

จอมมาร

เรียนคุณ zil3

จากข้อมูลของพี่ๆหลายท่านข้างต้นก็ครอบคลุมมากแล้ว
แต่ถ้าจะให้เสนอเพิ่มอีก ขอเพิ่มที่ เทอรามัยซิน อายออยล์เมนต์

ใช้ป้ายที่ตานกเวลานกมีอาการอักเสบที่ตา หรือ ในกรณี นกที่โดนยุงกัดต่างๆ เป็นตัวยาที่ไม่อันตราย ใช้ได้ง่าย ครับ

วิธีเก็บ ก็ใส่ตู้เย็นธรรมดาๆ ง่ายๆแค่นี้เองครับ
เป็นคนเบาๆ
เบอร์นี้แหละ  007-64-21-1209221