นกถอนขนตัวเอง แก้ไขไงดีคะ

เริ่มโดย mee, เมษายน 10, 2010, 03:11:26 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mee

เป็นนกกระตั้วมีเดียมอายุห้าเดือนแล้ว ชอบถอนขนตัวเองทั้งขนอุยที่กลางหลังและขนแข็งที่หางจนหมด พอขนขึ้นใหม่ก็ทั้งกัดและถอนจนขณะนี้หางกุดหมดเหลือแต่ตอไม่รู้จาทำไงดีแล้ว แต่เค้าก้อมีเพื่อนอยู่ตลอดเวลาเลย ช่วยแก้ไขหน่อยคะ หมดปัญญาแล้ว

nuypk

ไม่เคยเลี้ยงอ่ะ แต่ไม่เห็นมีใครตอบ เลยเซิร์ทเน็ตมา่ค่ะ

     โรคถอนขนตัวเอง

    อาการ - นกจะดึงและเคี้ยวขนของตัวเองที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณไหล่ ขนในปีก ขนหน้าอก ขนที่ขา และตลอดทั่วทั้งตัว การทำให้ตัวเองบาดเจ็บยังเกิดกับผิวหนังและระบบกล้ามเนื้อตัวมันอันเกิดจาก การกัดแทะตัวเองด้วย

    สาเหตุ - การติดเชื้อจุลลินทรีย์ที่ผิวหนัง หรือโรคอื่นๆที่เป็นสาเหตุโดยตรงของอาการที่นกดึงขนตัวเอง ต้องระมัดระวังการแพ้อาหาร การออกกำลังกายไม่เพียงพอ เบื่อที่อยู่อาศัย พักผ่อนน้อยเกินไป มีบาดแผลทางผิวหนัง อาหารไม่เพียงพอ ไม่ค่อยได้อาบน้ำ

    การรักษา - หลีกเลี่ยงและระวังการเลี้ยงดูที่ผิดๆ นำขนนกที่ร่วงอยู่ตามพื้นกรงไปทิ้ง ย้ายนกที่ไปอยู่ในที่กว้างขวางกว่าเดิม ให้นกได้ออกกำลังกาย ควรดูแลนกให้ดี ควรให้นอนอยู่ในห้องมืดๆ ประมาณ 10 - 12 ชั่วโมง

    การป้องกัน - ให้นกได้อยู่ในที่ที่ดี เน้นการบำบัดพฤติกรรม


ที่มา : http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/db_directory/poultry/bird/cockatoo_6.htm


อ่านเพิ่มเติม(ไม่รู้ว่าเกี่ยวมั้ย) http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/db_directory/poultry/chicken/poultry.htm

Tortea'shm

ปัญหาการดึงถอนขนนกนั้น ถือได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่จัดอยู่ในขั้นที่ยากที่สุดในการแก้ไข ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมาทำความเข้าใจกันว่า เพราะเหตุใดนกบางตัวจึงเกิดปัญหาดึงถอนขนตัวเอง

เนื่องจากนกในธรรมชาติใช้ชีวิตอยู่รวมกันเป็นฝูง นกจึงมีกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำร่วมกันในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการบินออกไปหาอาหารในแหล่งต่างๆ การใช้เวลาให้หมดไปในการกินการเล่นสนุกร่วมกันในยามว่าง รวมถึงการพักผ่อนงีบหลับระหว่างวัน เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่เพียงพอสำหรับความสุขในการดำเนินชีวิต และเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นเร้าให้นกเกิดความเพลิดเพลิน ดังนั้นเวลาในหนึ่งวันของนกในธรรมชาติจึงหมดไปอย่างมีคุณภาพ และไม่เกิดช่องว่างใดๆให้มีผลต่อสุขภาพกายและใจ

อีกทั้งนกในธรรมชาตินั้นมักมีสัญชาติญาณในการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดีเสมอ เพราะสภาพร่างกายที่มองออกถึงความเจ็บป่วย เป็นสภาพร่างกายที่แตกต่างจากนกตัวอื่นๆในฝูง นกที่ป่วยมักถูกกีดกันละทิ้งจากฝูง เป็นผลให้นกป่วยดูโดดเดี่ยวและโดดเด่น จึงเป็นการนำพาภัยมาถึงตัวเพราะนกป่วยมักตกเป็นเป้าที่ง่ายต่อการมองเห็นของสัตว์ผู้ล่า ด้วยเหตุนี้เองเราจึงมักไม่พบว่านกในธรรมชาติมีปัญหาดึงถอนขนตัวเอง ซึ่งต่างกับนกเลี้ยงที่มีชีวิตในที่จำกัดและมีชีวิตขึ้นกับมนุษย์ ที่หากนกไม่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพกายใจอย่างถูกต้องและระมัดระวังแล้ว ปัญหาความเจ็บป่วยต่างๆก็มักเกิดขึ้นได้ง่าย

ปัญหาการดึงถอนขนนกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
สาเหตุจากสุขภาพกาย ที่อาจหมายถึงความเจ็บป่วย
สาเหตุที่เกิดจากสุขภาพทางใจ ที่มีต้นเหตุจากความเคลียด
สาเหตุจากการบริโภค ที่นกอาจได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่มีคุณค่าเพียงพอ
สาเหตุจากสภาพแวดล้อม ที่มีปัจจัยต่างๆกันไป

นกที่ดึงถอนขนตัวเองมักจะมีอาการเริ่มต้นจากการกัดฉีกเส้นขนให้เสียหายไปจนกระทั่งดึงถอนขนอย่างต่อเนื่อง โดยนกอาจเริ่มจากการดึงถอนขนบ้างเล็กน้อยไปจนถึงอาการในขั้นรุนแรงและหนักที่สุดถึงขั้นจิกขุดผิวจนเป็นแผล ผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบอาการของนกที่ดึงถอนขนตัวเองกับมนุษย์ที่ชอบกัดเล็บ หรือดึงถอนผมอย่างต่อเนื่องในขณะที่มีอารมณ์หรืออาการทางประสาท มีความกลัวและมีความกังวล ซึ่งบางครั้งอาการเหล่านี้ของมนุษย์ก็เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

การรักษาโรคดึงถอนขนตัวเองของนกให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากหลายฝ่าย ทั้งจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากเจ้าของนก รวมไปถึงการได้รับคำแนะนำจากนักจิตวิทยานกด้วย และเนื่องจากปัญหาการดึงถอนขนตัวเองของนก มักเกิดจากสาเหตุของหลายๆปัจจัยรวมกัน ดังนั้นการรักษามักต้องใช้เวลายาวนานในการค้นหาต้นตอของสาเหตุที่ต้องค่อยๆกำจัดให้หมดไปทีละอย่าง ผู้เป็นเจ้าของนกอาจต้องใช้ความอดทนสูง การรักษามีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการรักษาจะได้ผลหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความพยายามของทุกฝ่ายรวมถึงสภาพและกำลังใจของนก นกที่ได้รับความรักและความผูกพันที่ดี จากเจ้าของมักให้ความร่วมมือในการรักษาที่ได้ผลดีกว่านกที่ขาดความรักความผูกพัน ดังนั้นกำลังใจของทุกฝ่ายจึงสำคัญมาก

บ่อยครั้งที่มักพบว่า ผลสรุปของการรักษาปัญหาการดึงถอนขนนกนั้นอาจไม่ให้ผลที่ดีนัก จนแม้สัตวแพทย์ยังให้ความเห็นว่า เราอาจต้องยอมรับว่าเมื่อนกเริ่มถอนขน นกก็มักจะยังคงถอนขนอย่างต่อเนื่องแม้จะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม นกบางตัวอาจรักษาให้หายได้แต่เมื่อหายแล้วก็อาจเป็นไปได้ว่านกอาจกลับมาดึงถอนขนอีก อย่างนี้แล้วหากผู้เลี้ยงนกทำใจได้และหากการถอนขนบ้างของนกนั้นไม่ได้ทำอันตรายใดๆต่อสุขภาพนก เราอาจต้องยอมรับสภาพนั้นร่วมกับนกด้วย

นอกจากนี้สัตวแพทย์ยังได้ให้ความเห็นไว้ว่า นกที่มีสุขภาพดีบางตัวก็อาจมีปัญหาดึงถอนขนตัวเองบ้างในบางโอกาส แต่การดึงถอนขนนั้นมักไม่สร้างปัญหารุนแรงใดๆ หากผู้เลี้ยงนกให้ความเอาใจใส่ดูแลสุขภาพนกดีอย่างสม่ำเสมอ การดึงถอนขนเล็กน้อยนั้นจะไม่ทำให้คุณภาพชีวิตของนกเสียไป

นกที่มักจะพบว่ามีปัญหาการดึงถอนขนตัวเองสูงมักจะเป็นนกที่มีความฉลาดสูงเช่นกัน กลุ่มนกที่มักพบว่ามีปัญหาดึงถอนขน เช่น นกกระตั้ว African grey, Macaws, Eclectus, Love bird รวมถึงนกคอคคาเทลด้วย นกหงษ์หยกมักไม่พบว่าดึงถอนขนตัวเอง

เรามาลองศึกษาถึงสาเหตุและหาวิธีป้องกัน เริ่มกันตั้งแต่แรกเกิด ผลการศึกษาพบว่านกเหล่านี้มีอัตราปัญหาการดึงถอนขนตัวเองต่ำ
ลูกนกที่ปล่อยให้พ่อแม่นกเลี้ยงเองในระยะเวลาหนึ่งก่อนนำออกมาป้อนโดยมนุษย์ (ระยะเวลาขึ้นกับชนิดนก)
ลูกนกที่ได้รับการป้อนอาหารจากผู้ป้อนคนเดิมหรือป้อนโดยคนสองคนสลับกัน
ลูกนกที่เลี้ยงร่วมกับนกตัวอื่นๆ
ลูกนกที่กินอาหารได้เอง wean ในเวลาที่เหมาะสม โดยไม่มีการบังคับให้กินเองก่อนกำหนด
ลูกนกที่ถูกขายหลังจากกินเองได้แล้ว weaned
ลูกนกที่ผู้เลี้ยงปล่อยให้ขนขึ้นเต็ม จากนั้นลูกนกได้หัดบินก่อนจึงค่อยๆตัดซอยขนปีออก ครั้งละ 1-2 คู่เส้นจนครบ
นกที่ได้รับการตัดซอยขนปีกอย่างถูกวิธีและทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้นกตื่นกลัว
นกที่มักจะพบปัญหาดึงถอนขนตัวเองสูง
ลูกนกที่เกิดจากไข่ที่ได้รับการกกฟักด้วยเครื่องและป้อนด้วยมนุษย์ตั้งแต่วันแรกเกิด (หมายเหตุ: ไข่ที่ถูกทอดทิ้งจากการฟักของแม่นกหรือลูกนกที่ถูกแม่นกทอดทิ้งหรือแม่นกเลี้ยงลูกไม่เป็นเท่านั้น ที่ไข่ควรนำมาฟักด้วยเครื่อง ลูกนกในกรณีนี้จำเป็นต้องได้รับการป้อนโดยมนุษย์ตั้งแต่วันแรกเกิด)
ลูกนกที่ถูกเปลี่ยนคนป้อนบ่อย
ลูกนกถูกเลี้ยงและโตอย่างโดดเดี่ยว
ลูกนกที่ถูกปล่อยให้อดอาหารเป็นบางมื้อหรือหลายมื้อ
ลูกนกที่ผู้ป้อนหยุดป้อนอาหารให้และถูกบังคับให้ต้องกินอาหารเองในขณะที่ยังไม่ถึงวัย
ลูกนกที่ถูกบังคับให้กินอาหารเองแบบการกำหนดตารางเวลา
ลูกนกที่ถูกขายในขณะที่ยังไม่ wean ยังกินอาหารเองไม่เป็นและต้องไปอยู่กับผู้เลี้ยงที่ไม่รู้วิธีป้อน อยู่ในมือที่ไม่มีความชำนาญ
ลูกนกที่ถูกตัดซอยขนปีกและถูกตัดเล็บอย่างไม่ถูกวิธีทำให้ลูกนกเกิดความกลัว
ลูกนกที่ถูกบังคับป้อน ด้วยวิธีสอดสายยางใส้ไก่หรือเข็มป้อนที่ดันเข้าลึกถึงถุงอาหาร ที่มักก่ออันตรายกับลูกนก
ผลการวิจัยพบว่านกที่เกิดจากการผสมเลือดชิด inbreeding มีอัตราการดึงถอนขนตัวเองสูงเช่นกัน
ดังนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การป้องกันปัญหาการดึงถอนขนของนกนั้น ต้องเริ่มกันตั้งแต่ลูกนกแรกเกิด โดยเลือกซื้อนกจากผู้เพาะเลี้ยงที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนกและต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพนกอย่างแท้จริง เลือกซื้อนกจากผู้เพาะเลี้ยงที่มีชื่อเสียงเป็นที่น่าเชื่อถือได้ มักช่วยลดปัญหาสุขภาพต่างๆของนกลงได้มาก เช่น เลือกซื้อลูกนกที่ได้รับการป้อนอาหารด้วยช้อนหรือไซริงค์ ที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยทิ้งให้ลูกนกหิวหรืออดอาหาร เลือกซื้อนกที่กินอาหารได้เองแล้วโดยสมบูรณ์ จากผู้เพาะนกที่รู้จักวิธี wean อย่างมีคุณภาพ ที่สอนให้นกได้รับการหัดบินก่อนทำการตัดซอยปีกเพื่อฝึกให้นกมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

ลูกนกที่ถูกเลี้ยงด้วยการเริ่มต้นชีวิตที่ดีจะมีความมั่นใจตัวเอง เล่นเองและทำให้ตัวเองเพลิดเพลินกับสิ่งต่างๆได้ นกที่มีคุณภาพเช่นนี้ จึงมักไม่โหยหาและไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีชีวิตขึ้นกับมนุษย์ และจะไม่แสดงอาการต้องการมนุษย์ตลอดเวลา ดังนั้นนกจากผู้เพาะเลี้ยงที่ดีมักมีสุขภาพดีในทุกรูปแบบ

สาเหตุการดึงถอนขนที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ

เมื่อพบว่านกมีขนร่วง นั่นก็อาจไม่ได้หมายความว่านกจะมีปัญหาการดึงถอนขนเสมอไป เพราะโดยธรรมชาตินกจะมีการผลัดขนปีละ 1-2 ครั้ง โดยขนเดิมที่หมดสภาพแล้วจะถูกทดแทนด้วยขนใหม่ที่แทงหน่องอกขึ้นมา ดันให้ขนที่หมดสภาพหลุดร่วงไป การผลัดขนปกติมักจะใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์

แต่หากพบว่านกมีขนร่วงมากและร่วงต่อเนื่องจนทำให้มองเห็นผิวหนังโล้น ผู้เลี้ยงนกอาจตั้งข้อสงสัยได้ว่า นกอาจมีปัญหาสุขภาพอย่างอื่น ที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจละเอียดโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาสาเหตุจากการดึงถอนขนของนกแพทย์มักเริ่มจากการซักประวัติ เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุเบื้องต้น พร้อมทั้งแพทย์อาจใช้วิธีเจาะตรวจเลือดเพื่อให้ผลที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งผลของการตรวจเลือดจะทำให้แพทย์ทราบว่า นกอยู่ในสภาวะขาดสารอาหารหรือนกได้รับสารพิษใดในร่างกายหรือนกจะมีการติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส หรือพยาธิ ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการดึงถอนขน

นกที่ดึงถอนขนตัวเองอาจมีสาเหตุมาจากการเป็นโรค Giardia ดังนั้นนกควรได้รับการตรวจหาโรค Giardia อย่างละเอียด สาเหตุของโรคนี้มักเกิดจากการที่นกบริโภคน้ำและอาหารที่สกปรก เช่น นกที่เลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด กินน้ำและอาหารที่มีมูลนกตกลงเจือปนผสมอยู่หรือนกที่ได้สัมผัสเหยีบมูลตลอดเวลาเมื่อนกทำความสะอาดตัวเอง มูลก็จะเข้าปากและนกจะได้รับเชื้อโรคที่เรียกว่า Cysts เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ Cysts จะสร้าง protozoa ที่เจริญเติบโตและทวีคูณในลำใส้นกและเมื่อนกขับถ่าย เชื้อนี้ก็จะถูกขับถ่ายออกมากับมูลนกด้วย เมื่อมูลตกลงในน้ำในอาหารเชื้อก็จะวนเวียนอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น นกที่ได้รับเชื้อมาจากนกอื่นจะถ่ายเชื้อไปยังนกตัวต่อๆไป แพร่กระจายโรคไปเรื่อยๆ Cysts เป็นเชื้อโรคที่มีความคงทนทั้งกับความร้อน เช่น การต้มสุก คงทนกับความเย็น เช่น การแช่แข็ง และคงทนต่อสภาพอากาศแห้ง ดังนั้นมูลนกที่แห้งจะเกิดเป็นฝุ่นละออง ที่มีเชื้อโรคชนิดนี้แพร่กระจายไปในอากาศด้วย ทั้งหมดนี้จึงเป็นวงจรที่เป็นต้นเหตุให้นกป่วยเป็นโรค Giardia

โรค Giardia เป็น protozoa ที่สามารถติดต่อไปยัง สุนัข แมว ม้า มนุษย์และแน่นอนนกด้วย แต่ชนิดของ protozoa ที่มีผลติดต่อในนกนั้นในการศึกษาขณะนี้พบว่าไม่มีผลติดต่อมาสู่มนุษย์ นกที่มักได้รับเชื้อและเป็นโรค Giardia มี คอคคาเทล หงษ์หยก lovebird และ gray-cheeked parakeets นกที่เป็นโรค Giardia ร่างกายจะไม่สามารถดูดซับสารอาหารไปใช้งาน และโรคนี้มักนำไปสู่อาการคันอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้นกอยากไซ้ขนจนเกินปกติจนถึงขั้นดึงถอนขนตัวเอง และมักพบว่านกที่เป็นโรค Giardia มักดึงถอนขนบริเวณใต้ปีกและโคนขา นกคอคคาเทลที่ถอนขนส่วนใหญ่มักจะถูกสันนิฐานว่าเป็นโรค Giardia

โรคนี้แม้ว่าจะรักษาให้หายได้แต่ปัญหาคือ ยากต่อการวิเคราะห์ว่านกเป็นโรคหรือไม่ เพราะบางครั้งนกที่เป็นโรคอาจไม่แสดงอาการ หรืออาจแสดงอาการดังนี้

อาการบ่งบอกว่านกเป็นโรค Giardia
ถ่ายเป็นเมล็ดพืชที่ไม่ย่อย
ถ่ายเป็นชิ้นส่วนของอาหารอื่นๆที่ไม่ย่อย
ผิวหนังแห้ง
มักจะมีอาการคัน
ขนร่วงเป็นหย่อมๆ
นกมักจะดึงถอนขนในบริเวณส่วนปีก สีข้างและขา
ซูบผอม กล้ามเนื้อที่อกลดลง
อุจจาระเหลืองในส่วนของ Urates
เซื่องซึม
ไม่อยากอาหาร
น้ำหนักลด
ท้องเสีย
อาการขั้นสุดท้าย ตาย
การตรวจ Giardia ทำโดยการเก็บอุจจาระของนกที่คาดว่าจะเป็นโรคนี้ไปทดสอบ

ดังนั้นการป้องกันโดยการดูแลเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม ความสะอาดในสภาพแวดล้อม และความสะอาดภายในกรงนกจะเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันโรค ด้วยเหตุนี้การรักษาโรค Giardia จึงเป็นอีกทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการดึงถอนขนของนก

สาเหตุของขนร่วงอาจมาจากปัญหาความเจ็บป่วยต่างๆ ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับขนอาจไม่ได้หมายความว่านกจะดึงถอนขนตัวเองเสมอไป แต่หากขนนกนั้นล่วงหลุดออกมาด้วยสาเหตุแห่งการป่วยไข้และการติดโรคต่างๆ ด้วยเหตุนี้ผู้เลี้ยงนกอาจมีความจำเป็นต้องขอให้สัตวแพทย์ทำการตรวจนับเม็ดเลือด (CBC), ตรวจ Palyomavirus, Psittacosis, PBFD, Aspergillosis, ตรวจสอบระดับแคลเซียมและตรวจระดับโลหะเป็นพิษในเลือด นกที่เป็น Hypothyroidism ขนนกมักจะร่วงจนดูเหมือนนกมีอาการผลัดขนอย่างต่อเนื่องยาวนาน ขนนกที่มีลักษณะบิด club-shaped ขนที่แตกอาจบอกสาเหตุของโรค Polyomavirus และ PBFD (Psittacine Beak and Feather Disease)

PBFD เป็นโรคที่ในขณะนี้ยังคงรักษาไม่หาย นกที่เป็นโรคนี้จะมีภูมิคุ้นกันบกพร่อง จึงมักมีผลทำให้นกเสียชีวิตจากการเกิดโรคแทรกซ้อน แต่นกที่เป็นโรคนี้จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานหากผู้เลี้ยงนกสามารถควบคุมและดูแลสุขภาพนกให้คงที่ได้ โรค PBFD ไม่ติดต่อสู่มนุษย์แต่สามารถติดต่อจากนกสู่นกได้ ดังนั้นจึงไม่สมควรที่จะมีนกตัวอื่นเลี้ยงร่วมกับนกที่เป็นโรคนี้ หากผู้เลี้ยงนกมีนกในความดูแลอยู่หลายตัว นกที่เป็น PBFD ควรถูกแยกเลี้ยงในบริเวณแยกต่างหากห่างจากนกอื่น และผู้เลี้ยงนกควรทำความสะอาดร่างกายทุกส่วนทุกครั้งก่อนเข้าหานกปกติ

นกที่เป็น PBFD สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยผู้เลี้ยงนกอาจใช้วิธียกนกที่เป็น PBFD ให้อยู่ในความดูแลของผู้ที่สามารถวางใจได้ เป็นผู้รักนกอย่างแท้จริงและเป็นผู้เลี้ยงนกที่ไม่มีนกตัวอื่นๆ

ในประเทศออสเตรเลียมีผลการวิจัยที่คาดว่าจะมียารักษาโรคนี้ได้ แต่ยานี้ทางอเมริกายังไม่รับรองและไม่นำเข้า ใครที่มีนกเป็นโรคนี้ ควรลองติดต่อสัตวแพทย์ที่ออสเตรเลีย

Aspergillosis เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมปกติ นกในสภาพร่างกายที่เต็มไปด้วยความเคลียด มักมีความอ่อนแอและเป็นจุดอ่อนที่เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย หากไม่มีการตรวจพบและรักษาได้ทัน โรคนี้ก็สามารถทำให้นกเสียชีวิตได้

การดึงถอนขนของนกอาจเกิดจากระดับสารพิษที่สะสมอยู่ในเลือด ดังนั้นผลของการตรวจเลือด จะทำให้แพทย์ทราบถึงระดับของสารพิษในเลือดของนก สารพิษ เช่น สารตะกั่ว สังกะสี และทองแดง เป็นสารอันตรายที่สร้างปัญหาการได้รับสารพิษสะสมในร่างกายนก นอกจากนี้ยังมีสิ่งของหลายอย่างที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่มักพบว่ามีสารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ เช่น โซ่ที่ใช้ถ่วงน้ำหนักผ้าม่าน กระจกStain Glass กระดุมเสื้อบางชนิดที่เป็นตะกั่วฯลฯ รวมไปถึงของใช้สำหรับนกหลายชนิดที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน เช่น กรงนกที่ผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานมักมีส่วนผสมของสารตะกั่วและสังกะสีเจือปนในปริมาณสูง สารอันตรายนี้จะถูกกลืนกินเข้าปากนกในขณะที่นกปีนป่ายไปตามซี่กรงซึ่งนกต้องใช้ปากสัมผัสกรงตลอดเวลา ของเล่นพลาสติคบางชนิดมีส่วนผสมของสังกะสีปนเปื้อนอยู่ ห่วงคล้องของเล่นนก กระดิ่งต่างๆ ภาชนะที่ผลิตสำหรับใส่อาหารนกที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ถ้วยน้ำที่ผลิตจากสังกะสี ที่สารสังกะสีจะละลายเจือจางในน้ำดื่มนก ภาชนะใส่อาหารที่ทำจากดินเผาแบบเดียวกับกระถางต้นไม้ มักมีสารตะกั่วในดินที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเจือปนอยู่ สารเหล่านี้จะละลายปนเปื่อนลงในอาหารและเข้าสู่ร่างกายนกเช่นกัน นอกจากนี้ส่วนผสมของกาว(Adhesives) ที่พบในกระดาษชำระ ก็มีส่วนทำอันตรายต่อสุขภาพนกหากนกกัดกินเข้าไป นกที่ได้รับสารพิษเหล่านี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณสูงแม้เพียงครั้งเดียว อาจเสียชีวิตในทันที แต่หากได้รับในปริมาณน้อยบ่อยๆสารพิษที่สะสมในร่างกายเมื่อทวีมากขึ้น ก็จะถึงจุดที่เป็นสาเหตุทำให้นกดึงถอนขนตัวเอง จึงควรกำจัดสิ่งของที่เป็นอันตรายเหล่านี้ให้พ้นจากการเข้าถึงของนก

ไวตามิน A เป็นหัวใจสำคัญของสุขภาพนก นกที่บริโภคแต่เมล็ดพืชเพียงอย่างเดียวมักพบว่ามีปัญหาขาดไวตามิน A อาการบ่งบอกถึงการขาดไวตามิน A ที่สัตวแพทย์มักจะตรวจดูก่อนคือ ดูความผิดปกติในช่องปากนก ว่ามีการบวมมีผื่นแดงหรือมีมูกมากไปหรือไม่ หากพบว่านกมีอาการขาดไวตามิน A แพทย์ก็จะแนะนำให้ปรับปรุงอาหารให้นก หรือหากพบว่านกมีอาการขาดไวตามิน A ในขั้นรุนแรงแพทย์อาจทำการฉีดไวตามิน A ให้นก นกที่ขาดไวตามิน A จะมีผิวหนังที่แห้งเป็นขุย เส้นขนเปราะหักง่ายและเกิดอาการติดเชื้อที่เป็นจุดเริ่มต้นของอาการคัน ดังนั้นผลการตรวจเลือกจะทำให้สัตวแพทย์ทราบว่านกมีปัญหาการขาดสารอาหารชนิดใดหรือไม่ ที่จะเป็นสาเหตุทำให้นกดึงถอนขนตัวเอง

นก Eclectus เป็นนกที่มักพบปัญหาดึงถอนขนตัวเองสูง เนื่องจากนกมักไม่ได้รับปริมาณไวตามิน A อย่างเพียงพอต่อความต้องการที่มีมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังพบอีกว่านก Eclectus มักมีอาการแพ้ ที่เกิดจากการกินอาหารสำเร็จรูปที่เจือสีและสารกันบูด ดังนั้นการเลือกอาหารสำเร็จรูปที่ไม่เจือสีและสารกันบูด สำหรับนกทุกชนิดจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

นกบางตัวอาจมีปัญหาแพ้อาหารบางชนิด เช่น นกที่อาศัยอยู่ในต่างถิ่นฐานได้บริโภคชนิดของอาหารที่มีในถิ่นนั้นๆ เมื่อนกมีการเปลี่ยนถิ่นที่อยู่ อาหารชนิดเดียวกันอาจมีความแตกต่างไปตามสภาวะอากาศของถิ่นที่เพาะปลูก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่นกจะเกิดอาการแพ้อาหารชนิดนั้นๆขึ้น นอกจากนี้นกบางตัวอาจแพ้อาหารเฉพาะอย่าง เช่น แพ้มันเทศนึ่งสุก ดังนั้นหากค้นพบว่านกมีอาการแพ้อาหารชนิดใด การหยุดให้อาหารชนิดนั้นๆแก่นกจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ดี โดยหันมาเลือกอาหารชนิดอื่นเพื่อเป็นการทดแทน เช่น นกที่แพ้มันเทศสามารถกินอาหารอื่นที่มีไวตามิน A สูงทดแทนได้ เช่น ฝักทองนึ่ง แครอท ผักใบเขียว และผักที่มีสีเหลืองต่างๆ

สำหรับนกที่ขาดสารอาหารมีความจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงการบริโภคอาหารอย่างเร่งด่วน อาหารที่ดีสำหรับนก เช่น ข้าวไม่ขัดสี พาสต้า ไข่ต้ม ถั่วต่างๆนึ่ง เต้าหู้ ผักใบเขียว หัวมันเทศอบ/นึ่ง ฟักทองอบ/นึ่ง ผลไม้ตามฤดูกาล เมล็ดพืชรวมและอาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารที่ต้องหัดให้นกคุ้นเคยและกินเพื่อสุขภาพที่ดี

นกทุกตัวมีความจำเป็นต้องได้บริโภคน้ำที่สะอาดที่สุด และสำหรับนกที่มีสุขภาพปกติอาจสามารถบริโภคน้ำสะอาดในระดับมาตรฐานทั่วไปได้ ส่วนนกที่มีปัญหาดึงถอนขนตัวเองมีความจำเป็นต้องได้บริโภคน้ำดื่มขวดชนิด Mountain Spring Water เท่านั้น น้ำชนิดนี้มีผลิตกันในหลายยี่ห้อ เช่น ยี่ห้อ Arrowhead

นอกจากนี้การขาดไวตามิน A จะมีผลให้การทำงานของต่อม Uropygial Gland ทำงานผิดปกติ โดยต่อมจะไม่ผลิตไขมัน ต่อม Uropygial Gland นี้มีรูปทรงคล้ายรูปหัวใจอยู่ในตำแหน่งเหนือโคนหางด้านหลังนก ที่ปลายต่อมจะมีกระจุกขนที่โผล่ออกมาจากรูเล็กๆทั้งสองข้างของต่อม (ลักษณะเหมือนไส้เทียน) หากใช้นิ้วคลึงเบาๆจะพบว่าต่อมที่ทำงานปกติจะมีน้ำมันติดที่นิ้ว

นกจะเก็บเอาน้ำมันจากต่อมนี้ด้วยจะงอยปากมาเคลือบทาลงบนขนและผิวหนัง หากไม่มีน้ำมันนี้ ผิวหนังนกก็จะแห้งเมื่อผิวหนังแห้งนกจะคัน ขนนกที่ไม่มีไขมันเคลือบจะยุ่งเหยิงไม่เป็นเงางาม จึงเก็บกักฝุ่นและสิ่งสกปรกได้ง่าย เมื่อขนสกปรกนกมักจะอยากไซ้ขนมากขึ้น จนทำให้เกิดอาการไซ้ขนเกินปกติ ที่นำไปสู่ปัญหาการดึงถอนขนในที่สุด นกที่มีต่อมนี้เช่นกระตั้ว คอคคาเทล ฯ

นกที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาด เช่น ในบ้านที่มีอากาศหรือควันที่สกปรก ไม่ว่าจะเป็นควันในครัวจากการหุงต้มอาหาร กลุ่มควันสกปรกในสภาวะแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงควันบุหรี่ของผู้เลี้ยงนกที่สูบบุหรี่ คราบนิโคติน และควันบุหรี่จะกระจายไปติดตามกรงนกคอนนกและของใช้ต่างๆภายในบ้าน เมื่อนกได้รับสัมผัสกับกลุ่มควันและคราบเหล่านี้ นกมักมีความต้องการที่จะไซ้ทำความสะอาดขนเพื่อกำจัดคราบควันสกปรกนั้นออก ด้วยเหตุที่ว่าคราบเหล่านี้มักกำจัดได้ไม่ง่าย จึงทำให้นกต้องทำการไซ้ทำความสะอาดขนอย่างหนัก และการไซ้ขนอย่างต่อเนื่องมากๆทุกวัน ก่อปัญหานิสัยการไซ้ขนมากเกินปกติ over preening จนเป็นเหตุให้นกทำความเสียหายให้กับขนตัวเอง โดยนกจะกัดฉีกรวมถึงหากมีการไซ้อย่างรุนแรงและหัวเสียขนนกก็อาจจะถูกดึงถอนออกมาได้ อาการเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการดึงถอนขนตัวเอง

ผู้เลี้ยงนกที่สูบบุหรี่มักจะมีคราบนิโคตินติดตามนิ้วมือและเสื้อผ้า เมื่อนกสัมผัสกับเสื้อผ้าของผู้เลี้ยง หรือผู้เลี้ยงนกใช้มือที่มีคราบนิโคตินสัมผัสลูบขนและผิวเท้านก นกจะเกิดอาการแพ้และทำให้ผิวหนังนกเกิดการระคายเคือง เป็นเหตุให้นกกัดแทะผิวหนังโดยเฉพาะที่เท้าจนเป็นแผล

นอกจากนี้ควันบุหรี่เป็นตัวการทำร้ายระบบทางเดินหายใจของนก นกที่ได้รับพิษจากควันบุหรี่อย่างต่อเนื่อง อาจเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงถึงชีวิตได้

ผู้เลี้ยงนกที่มักใช้น้ำหอม ใช้โลชั่น หรือยากำจัดกลิ่นตัวในบริเวณที่นกอยู่ มักทำให้นกเกิดอาการแพ้ ยาปรับอากาศน้ำยาปรับผ้านุ่มและสารระเหยหอมต่างๆล้วนแต่เป็นพิษกับสภาพแวดล้อมของนก

นอกจากนกจะต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ในการหายใจแล้ว นกยังต้องการอากาศที่มีอุณหภูมิความชื้นที่พอเหมาะ เพราะผิวของนกจะ sensitive คือมีความไวต่อความรู้สึก นกที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูง หรือมีความชื้นต่ำมักจะมีอาการแพ้และเกิดปัญหาการระคายเคืองผิว ดังนั้นการดูแลสภาพแวดล้อมในบริเวณที่นกอยู่ ให้มีอากาศที่เหมาะสม ลดต้นเหตุของอากาศสกปรกจะช่วยบรรเทาปัญหาได้

นกที่เจ้าของพาร่วมเดินทางไปในที่ต่างๆอาจสัมผัสกับนกอื่นที่เป็นพาหะนำโรค ดังนั้นเจ้าของนกต้องใช้ความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงไม่พานกไปในที่ๆนกอาจมีความเสี่ยงต่อการติดต่อของโรค เช่น ตลาดนัดนก

นกที่มีประวัติเป็นนกลักลอบนำเข้าหรือนกป่า สัตวแพทย์อาจต้องตรวจเรื่องการติดต่อและการกระจายโรค ด้วยการเก็บตัวอย่างของผิวหนังและขนนกไปเพื่อการตรวจ biopsies

ไรนกก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้นกคันและอยากไซ้ขนเกินปกติ การตรวจสอบหาไรนกจึงเป็นอีกวิธี ที่จะช่วยกำจัดสาเหตุการก่อนิสัยดึงถอนขนของนกได้ โดยปกติแล้วนกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่สะอาดไม่มีโอกาสที่จะมีไร นอกเสียจากว่านกตัวนั้นๆไปสัมผัสกับนกที่อยู่ตามธรรมชาติที่มักจะเป็นพาหะนำไรมา หรือหากพ่อแม่นกมาจากแหล่งที่ไม่สะอาด พ่อแม่นกที่มีไรก็จะส่งผ่านไรมายังลูกนก ไรนกตรวจสอบและเห็นได้ในที่ๆมีแสงดีและไรนกรักษาและป้องกันให้หายได้ โดยการใช้ยากำจัดไรที่ปลอดภัยต่อนก ผู้เลี้ยงนกควรมีการจัดการสภาพแวดล้อมในบริเวณที่เลี้ยงนกให้สะอาดเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดไรซ้ำอีก

นกที่ใส่ห่วงขานอกจากจะเกิดอันตรายจากปัญหาการไหลเวียนของเส้นเลือดที่ขา และเกิดอุบัติเหตุจากการที่ห่วงขามักเกี่ยวติดกับซี่กรงแล้ว ห่วงขาอาจทำให้นกเกิดอาการระคายเคืองซึ่งเป็นเหตุเริ่มต้นแห่งการทำร้ายตัวเองด้วยการดึงขนและผิวหนัง

สัตวแพทย์มักพบว่านก Hyacinths Macaw และ Blue & Golds Macaw มักดึงถอนขนตัวเอง เนื่องจากมีอาการแพ้ฟุ่นผงตามตัวของนกชนิดอื่นที่ผลิตฟุ่นผงตามตัวมาก เช่น นกกระตั้ว นก African grey และนกคอคคาเทล ดังนั้นผู้เลี้ยงนกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการอาศัยอยู่ร่วมในบริเวณเดียวหรือห้องเดียวกันของนกเหล่านี้ โดยการแยกนกไว้ต่างห้องหรือติดตั้งเครื่องกรองอากาศที่ต้องเปิดใช้งานตลอดเวลา

แสงแดดมีประโยชน์ต่อสุขภาพนกเพราะนอกจากแสงแดดจะมีไวตามิน D แล้วแสงแดดยังมีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่บนตัวนก สัตวแพทย์แนะนำว่านกที่มีปัญหาดึงถอนขนตัวเองจะได้รับประโยชน์จากการได้รับแสงแดดในแต่ละวัน ในเวลาและปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้นการนำนกออกไปรับแดดจะช่วยในด้านสุขภาพให้นกที่ดึงถอนขนได้มาก หากนกอาศัยอยู่ในที่ๆมีอุปสรรค์ต่อการได้รับแสงแดด การเลือกใช้หลอดไฟที่ให้แสงเทียมชนิด Full Spectrum Lighting จะช่วยทดแทนได้

นกที่มีปัญหาดึงถอนขนตัวเองควรได้รับการอาบน้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ด้วยวิธีที่นกพึงใจสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการฉีดพ่นละอองน้ำหรืออาบในอ่างตื้นๆ โดยใช้น้ำสะอาดเท่านั้น หลีกเลี่ยงแชมพูทุกชนิดเพราะคราบแชมพูที่ติดค้างที่ขนเป็นปัญหาหนึ่งของการดึงถอนขนนก การอาบน้ำจะช่วยให้ผิวของนกมีความชุ่มชื่น ไม่แห้ง จึงลดปัญหาอาการคันที่เป็นเหตุแห่งการถอนขนลงได้

นกที่ได้รับการตัดซอยขนปีกอย่างไม่ถูกวิธี จะรู้สึกคันเมื่อก้านขนส่วนที่เหลือทิ่มแทงบริเวณข้างลำตัว นกจึงมักพยายามกัดแทะก้านขนที่แหลมคมนั้นเพื่อให้หมดคม การที่นกกัดแทะตลอดเวลานี้ เป็นการสร้างนิสัยในการกัดแทะเส้นขนและมักเป็นจุดเริ่มต้นให้นกกัดดึงถอนขนตัวเอง ดังนั้นผู้เลี้ยงนกควรศึกษาวิธีการตัดซอยขนปีกนกอย่างถูกต้อง

การพักผ่อนนอนหลับที่ไม่เพียงพอมีผลต่อสุขภาพนก นกที่ถูกรบกวนระหว่างหลับ ไม่ว่าจะจากแสงไฟที่เปิดรบกวนสายตานกตลอดเวลากลางคืน เสียงดังจากสภาพแวดล้อมวิทยุทีวีที่เปิดทิ้งไว้ รวมถึงชั่วโมงการนอนที่ไม่ครบอย่างน้อย 12 ชั่วโมง มักเป็นเหตุให้ระบบภายในร่างกายของนกเกิดความผิดปกติ ก่อปัญหาที่เป็นจุดเริ่มต้นให้นกดึงถอนขนตัวเอง ดังนั้นปรับปรุงเวลานอนของนกให้เหมาะสม ในบรรยากาศห้องที่ปราศจากการรบกวนใดๆจะช่วยลดปัญหานี้ได้

นกที่เกิดจากการผสมเลือกชิด โดยผสมกันเองระหว่างพ่อแม่พี่น้องลุงป้าน้าอา มักมีปัญหาดึงถอนขนตัวเองเช่นกัน

ในส่วนหนึ่งของการรักษาโรคดึงถอนขน สัตว์แพทย์อาจใช้ยาฮอร์โมนฉีดหรือจัดให้นกใส่ปลอกคอ collar แต่ที่มักพบบ่อยคือหลังจากหยุดยาและถอดปลอกคอออก นกก็จะกลับไปดึงถอนขนอีก ดังนั้นในบางกรณี การฉีดฮอร์โมนและการใส่ปลอกคอนี้อาจใช้ไม่ได้ผล นอกเสียจากว่านกตัวนั้นจะมีพฤติกรรมรุนแรงถึงฉีกขุดผิวหนังตัวเอง การใส่ปลอดคอและฉีดฮอร์โมนก็อาจมีความจำเป็น รวมถึงผู้เลี้ยงนกอาจต้องพึ่งนักจิตวิทยานกช่วยแนะนำการแก้ไขด้านพฤติกรรมอีกแรง

สุดท้ายหากผลการตรวจละเอียดทางการแพทย์ระบุว่านกปราศจากโรค (Negative) รวมถึง หลังจากที่ผู้เลี้ยงได้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและกำจัดปัญหาต่างๆดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ให้นกแล้ว แต่ยังคงพบว่านกยังดึงถอนขนตัวเอง ขั้นตอนต่อไปในการวิเคราะห์อาจต้องมุ่งประเด็นไปที่ การรักษาทางสุขภาพใจและการปรับปรุงนิสัยความเป็นอยู่ให้นกใหม่ ที่เรียกว่าการปรับปรุงทางด้านพฤติกรรม behavior problems

สาเหตุการดึงถอนขนที่เกิดจากพฤติกรรมและสภาวะทางใจ behavior problems

ปัญหาการดึงถอนขนที่เกิดจากสภาวะทางใจ อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อนกเป็นลูกนกแรกเกิด เนื่องจากมีปัจจัยหลากหลายที่สร้างสภาวะความกลัวและสภาวะความเคลียดให้ลูกนก เช่น ลูกนกที่ถูกมนุษย์ดึงออกมาจากพ่อแม่นก เพื่อเลี้ยงและป้อนอาหารเองเร็วเกินไป ลูกนกในกรณีนี้มักเกิดปัญหาความไม่พร้อมในการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่นอกรังเพาะ ความหวาดกลัวนี้ส่งผลให้ร่างกายและจิตใจอ่อนแอ จนทำให้ลูกนกมีการเจริญเติบโตอย่างไม่มีคุณภาพ ซ้ำร้ายหากถ้าผู้เลี้ยงนกขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลลูกนก ปัญหาก็จะทวีคูณจนแก้ไขได้ยากยิ่งขึ้น

ผู้เพาะเลี้ยงนกบางรายจึงใช้เทคนิคการดึงลูกนกออกจากรังช้า เพื่อปล่อยให้พ่อแม่นกเลี้ยงลูกเองระยะหนึ่ง (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์นก) รอให้นกเรียนรู้ธรรมชาติของการเป็นนกก่อนที่จะนำลูกนกออกมาป้อนต่อโดยมนุษย์ นอกจากนี้ผู้เพราะเลี้ยงบางรายใช้เทคนิคการป้อนเสริมเป็นบางมื้อ แล้วปล่อยให้พ่อแม่นกกกและดูแลลูกนกเอง ที่เรียกว่าเป็นพ่อแม่ร่วม co-parent เทคนิคนี้นอกจากจะช่วยลดปัญหาสุขภาพกายใจของลูกนก และไม่ทำให้ลูกนกรู้สึกโดดเดี่ยวจากการจากรังแล้ว ยังช่วยให้ลูกนกคุ้นเคยกับมนุษย์ได้ในเวลาเดียวกันด้วย แต่วิธีนี้ต้องทำกับนกที่คุ้นเคยกับเจ้าของ เพราะพ่อแม่นกที่ไม่คุ้นกับเจ้าของอาจตกใจง่ายหากถูกรบกวน

ความเครียดที่เกิดจากการถูกทอดทิ้ง

ลูกนกที่ถูกนำมาเลี้ยงโดยมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดในขณะที่ยังไม่ลืมตา จะติดและต้องการอยู่ใกล้ชิดมนุษย์ตลอดเวลา นกที่มีอารมณ์อ่อนไหวอย่างนกกระตั้วและนก African Grey มักพบปัญหาติดเจ้าของเดียว เมื่อสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆที่คุ้นเคยเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์ไม่มีเวลาให้นกเพียงพอตามที่นกต้องการ นกมักเข้าใจว่าตัวเองไม่เป็นที่ต้องการและถูกทอดทิ้ง ทำให้นกเกิดความรู้สึกหดหู่ หวาดกลัว (nervous) เกิดความสับสนในระบบความคิดที่ก่อปัญหากับระบบฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้นกดึงถอนขนตัวเอง

ความเครียดจากสภาวะแวดล้อมและการมีที่อยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสม
นกที่ถูกเลี้ยงในกรงที่มีขนาดเล็กเกินไปจนไม่สามารถขยับตัวเคลื่อนไหวในกรงได้สะดวก ทำให้นกมีชีวิตที่หมดความสุข นกจึงเกิดความหงุดหงิดเสมอ
สภาพกรงที่ชำรุด จะทำให้นกรู้สึกถึงอันตรายในการอาศัยอยู่ในกรง นกเกิดความหวาดกลัวและไม่มั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิต ก็เป็นเหตุให้นกเกิดความเครียดได้
กรงที่มีข้าวของบางชิ้นที่นกกลัวจัดแขวนอยู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นกระบอกอาหารใบใหม่ที่มีสีแปลกตา หรือของเล่นชิ้นใหม่ที่ไม่คุ้นเคย นกเกิดความรู้สึกกลัวสิ่งแปลกใหม่จนเกิดความเครียด
กรงที่วางในตำแหน่งที่มีผู้คนเดินผ่านไปมาพลุกพล่านหรือกรงที่วางในทางที่ผู้คนเดินโผล่มาทางด้านหลังกรง สร้างความตกใจให้นก หากเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันนกก็จะเกิดความเคลียด
เสียงอึกทึกของผู้คนวิ่
MSN & E-mail: tea_za13@hotmail.com

มั น ก็อย่า ง นี้ แห ล ะ  " สั ต  ว์โ ลก    ย่อ ม เป็น ไ ปตา ม กรร ม "

เ ฮ้อ อ อ อ. .... .  ป วด ตั บ