มือใหม่ครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ

เริ่มโดย perapolm, เมษายน 20, 2010, 01:50:34 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

perapolm

ผมสนใจอยู่ 2 ชนิดนี้อ่ะครับ แต่ไม่รู้ว่าแบบไหนพูดชัดว่ากัน และเป็นมิตรกับคนมากกว่ากัน ขนาดตัวใหญ่กว่ากัน(มือใหม่ครับ) ตั้งใจจะหาซื้อมาเลี้ยงเอาไว้เป็นเพื่อนกับลูกชายผมอ่ะครับ รู้แต่ว่าจะเลี้ยงให้เชื่องให้พูดต้องเลี้ยงตั้งแต่เป็นลูกป้อน เลยอยากรบกวนขอคำแนะนำหรือคู่มือวิธีเลี้ยงของนก 2 ชนิดนี้อ่ะครับขอแบบละเอียดเลยน่ะครับ เพราะไม่อยากให้ตายกลัวลูกชายเสียใจอ่ะครับ ขอบคุณครับ

nuypk


violin_


perapolm

อ่อ ขอโทษทีครับ ชนิดแรกก็ ริงเน็ค ครับ อีกชนิดก็ คอร์นัว ครับ

violin_

http://pet.kapook.com/view1461.htm>>>ริงเน็ค

http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/article/poultry/Conure/Conure.htm>>>คอร์นัว

อันนี้เป็นบทความอะค่ะ ลองอ่านดูค่ะ
แต่ถ้าสำหรับหนูนะ เลือกคอร์นัวค่ะ เอาสายซัน ๕๕+
หนูคิดว่ามันขึ้นอยู่กะความชอบค่ะ

โชคดีนะค่ะ ^^

violin_

นกแก้วริงเนค สวย เชื่อง แสนรู้ (เทคโนโลยีชาวบ้าน)
คอลัมน์ เทคโนฯ สัตว์เลี้ยง
โดย อุราณี ทับทอง

          นกริงเนค (Ring-necked) นับเป็นนกแก้วอีกสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีสีสันสวยงามและหลากหลายสี ราว 30-40 สี ในวงการเรียกตามชื่อสีสากล เช่น กรีน เกรย์กรีน บลู บลูชินเนมอน ลูติโน อัลบิโน เยลโล่ เยลโล่เฮดซินเนมอน และไวท์เฮดบลูชินเนมอน ทั้งยังสามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดสีใหม่ๆ ขึ้น อย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีรูปร่างสวยงาม พูดเก่ง และไม่ส่งเสียงดัง

          "นกกลุ่มนี้ถ้าคุ้นเคยกับเจ้าของมากเท่าไหร่ ก็จะฝึกได้ง่ายมากเท่านั้น แต่เราต้องทำให้รู้สึกว่ามนุษย์เป็นมิตรกับเขา ไม่ได้ทำร้ายเขา ไม่ได้ทำให้เขาเจ็บปวด เขาก็จะไม่กลัวและยอมเข้าใกล้เรา นกก็เหมือนหมานะ คือเขาชอบเลีย เราฝึกเขาแล้วใครก็จับได้ ผมคิดว่านกไทยเราฝึกให้เชื่องได้ง่ายกว่านกต่างประเทศ เพราะนกต่างประเทศจะดื้อ แต่นกไทยเรามีจุดเสียตรงกฎหมาย แต่ที่ต่างประเทศเขาเอาไปเพาะได้ แถมกลับมาส่งขายบ้านเราตัวเป็นแสนก็มี ทั้งที่คนไทยเก่งเรื่องเพาะพันธุ์กันเยอะ" คุณไพทูรย์ เปิดอก

          คุณไพทูรย์ บอกว่า ผู้เลี้ยงต้องดูแลใส่ใจตั้งแต่ยังเป็นลูกนกหรือที่เรียกกันว่าลูกป้อน ซึ่งโดยทั่วไปลูกนกแรกเกิดในวันที่สองผู้เลี้ยงมักจะนำมาป้อนอาหารเหลวเองทุกๆ สองชั่วโมง ต้องเลี้ยงในที่ที่มิดชิด เลี้ยงในกล่อง ตู้กระจก หรือตู้อบที่ให้ความอบอุ่นแก่ลูกนกได้ จนกว่าขนนกจะขึ้นเต็มและจะบิน หรือกล้าขยับปีกบิน และสามารถกินอาหารได้เอง ซึ่งจะอยู่ในวัยราว 2 เดือน

          แต่สำหรับผู้มีพื้นฐานการเลี้ยงนก คุณไพทูรย์แนะนำให้ผู้เลี้ยงป้อนเอง ดูแลลูกนกเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคย ควรให้เรียกชื่อตั้งแต่วัยลูกป้อน ลูกนกจะสามารถกินอาหารได้เอง ผู้เลี้ยงต้องหมั่นเรียกชื่อและให้อาหารจากมือ เมื่อลูกนกเริ่มคล่องแคล่วจึงค่อยๆ ฝึกให้ยืนนิ่งๆ บนคอนพัก หมั่นใส่ใจให้ลูกนกออกมาเล่นนอกกรงและอยู่กับคนให้มาก และฝึกให้นกพูดด้วยโดยการจ้องหน้าแล้วหมั่นพูดกับนกอย่างสม่ำเสมอ

          "ผมอาศัยฝึกนกเป็นชุด ซื้อนกที่วัยใกล้ๆ กัน เลี้ยงด้วยกัน แล้วก็ฝึกรวมกันทีเดียวเลย เมื่อก่อนเคยฝึกทีละตัว ใช้เวลานานมาก แต่ถ้าฝึกรวมกันเขาจะเกิดพฤติกรรมการเลียนแบบกันเอง เช่น ถ้าตัวหนึ่งเข้ามา เขาก็จะกรูกันเข้ามา แล้วก็ไม่กัดกัน ไม่มีปัญหาเรื่องนี้เลย แต่ถ้าแยกฝึกแล้วให้มาอยู่รวมกันเขาจะกัดกันด้วยความอิจฉาหรือกัดกันตามธรรมชาติ เพราะนกที่มีขนาดใหญ่กว่าจะกัดนกที่มีขนาดเล็กกว่า แต่ถ้าฝึกไม่พร้อมกัน นกจะไม่ค่อยมายืนรวมกัน ถ้าเราเล่นกับอีกตัวนึง อีกตัวก็จะไม่พอใจ เหมือนอิจฉากัน ทุกวันนี้ผมเลี้ยงนกเหมือนลูก ไม่ได้เลี้ยงเหมือนนก เวลาเขาไม่เห็นเราเขาจะเครียด แต่ถ้าเขาเห็นเราเขาจะร่าเริง เดินผ่านก็จะมอง จะเรียก พ่อคับ แม่คับ"

          แม้ว่า นกริงเนค โดยธรรมชาติมีลักษณะนิสัยค่อนข้างเรียบร้อย แต่โดยสัญชาตญาณก็เป็นนกที่มักหวาดระแวงไม่เบา คุณไพทูรย์ บอกว่า หากนกได้รับการฝึกฝนแล้วจะลดอาการขี้ตกใจไปได้มาก แต่ก็ต้องขอบอกว่าถึงจะเป็นนกสายพันธุ์เดียวกันแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องนิสัยเหมือนกันทุกตัว

          "นกก็เหมือนคน มีนิสัยไม่เหมือนกัน บางตัวฝึกเหมือนกันแต่ก็ดื้อกว่าตัวอื่นๆ บางตัวเกเรมากๆ ไม่ให้จับเลย บางตัวชอบบินหนี เราจึงต้องซอยปีกนกออกเพื่อไม่ให้บินไปไกล หรือบินได้แค่ต่ำๆ เพราะถ้านกบินขึ้นฟ้าก็อาจจะหลง ถ้าบินไปเจอนกเหยี่ยว เขาก็จะหวาด หรือไปเจออะไรที่อันตรายได้ นกเลี้ยงให้ออกไปข้างนอกก็ตาย เพราะหากินไม่เป็น ไปเจอหมา เจอแมว ก็ไม่ปลอดภัย ยิ่งถ้าเป็นนกที่เราฝึกได้หลุดไปก็น่าเสียใจเหมือนกัน จริงๆ คนที่ซอยปีกนกเป็นการป้องกัน ไม่ใช่เพื่อการทารุณ เพราะเราต้องคิดด้วยว่านกจะอยู่ต่อไปยังไง"

          ผู้นิยมเลี้ยงนกเชื่องบางคน เลี้ยงนกบนคอนไม้ตลอดเวลา แต่ของคุณไพทูรย์เลี้ยงแบบปล่อยบนคอนในช่วงเช้า เพื่อให้นกยืนพบปะผู้คน โดยใส่โซ่ไว้ป้องกันการถูกลักพาตัว เมื่อถึงช่วงบ่ายแก่ๆ ราวบ่ายสามโมง นกทุกตัวจะมีปฏิกิริยากระวนกระวาย เกิดอาการร้องเรียกแสดงความรู้สึกว่าไม่ต้องการยืนอยู่ตรงนี้แล้ว คุณไพทูรย์ก็จะให้อาหารนกและปล่อยเข้าโรงเรือน ซึ่งเป็นกรงขนาดใหญ่ ให้นกบินเล่นได้ตามสบาย จากนั้นนราวหนึ่งทุ่ม หรือในช่วงที่ตะวันตกดิน คุณไพทูรย์จึงจะเรียกนกให้มาเข้ากรง แล้วนำกรงนกเข้าบ้าน พานกไปนอนด้วยโดยใช้ผ้าคลุมกรงเพื่อป้องกันยุง แต่ที่สำคัญคือเรื่องความสะอาด ควรล้างกรงในบ้านและก็ในโรงเรือน ล้างทุก 2-3 วัน และหมั่นดูแลให้กรงแห้งอยู่เสมอ เพราะหางนกอาจเปียกชื้นและเกิดเชื้อโรคกับตัวนกได้

          "น้ำ ต้องเปลี่ยนทุกวัน ส่วนอาหารผมให้แบบรวมมิตร ทั้งอาหารสำเร็จและอาหารสด แต่ส่วนใหญ่พอฝึกแล้วจะไม่ค่อยกินอาหารแห้ง แต่ถ้าเป็นผัก ผลไม้สด ที่นกกินตามธรรมชาติเขาจะชอบมาก เช่น ชมพู่ ข้าวโพด ฝรั่ง ถั่ว แล้วแต่เขากินหมด แต่ต้องฝึกจึงจะได้ผล เพราะบางอย่างสามารถบำรุงสมองกับสุขภาพของนกได้ อย่างนกกลุ่มนี้อายุ 10 เดือน ตัวโตกว่ารุ่นเดียวกันตัวอื่นๆ"

          คุณไพทูรย์ ไม่มีชื่อฟาร์ม ไม่มีนามบัตร แต่ก็อยู่แวดวงนกสวยงามมาหลายปีด้วยใจรัก คุณไพทูรย์ยอมรับว่าในแง่ธุรกิจนกสวยงามได้ตกต่ำถึงขีดสุดแล้วในช่วงไข้หวัดนกแพร่ระบาด ถึงวันนี้ก็ยังไม่กระเตื้องขึ้น แต่ตนเองก็ยังไม่สามารถหยุดเลี้ยงนกได้ และจะขอเลี้ยงดูนกเหล่านี้ต่อไป และยินดีให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงนกสวยงาม ติดต่อได้ที่ โทร. (087) 989-0010

          เพราะเชื่อว่ามิตรภาพระหว่างนกสวยงามกับคนไทยไม่ใช่แค่แฟชั่น


ขอขอบคุณข้อมูลจากเทคโนโลยีชาวบ้านhttp://pet.kapook.com/view1461.html

violin_

นกคอนัวร์
คอนัวร์ (Conure) เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบลาตินอเมริกา จากแม็กซิโกลงมาถึง หมู่เกาะคาริบเบียนและชิลีใต้ คอนัวร์พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พาทาโกเนี่ยน มีความยาวประมาณ 17.5 นิ้ว และคอนัวร์พันธุ์ที่เล็กที่สุดคือ เพ้นท์เท็ต มีความยาวประมาณ 8.5 นิ้ว คอนัวร์มาจากภูมิอากาศหลากหลาย ภูมิประเทศหลายแบบ จากทุ่งหญ้าแถบซาแวนนา (เป็นทุ่งหญ้าในเขตมรสุมของอเมริกา) จนถึงที่ป่าในเขตร้อนชื้นและบริเวณภูเขาที่มีอากาศค่อนข้างเย็น คอนัวร์เป็นนกที่รักความสงบและอยู่กันเป็นฝูงใหญ่ คำว่า conure (คอนัวร์) มาจากคำว่า Conurus (คอนูรัส) และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aratinga "อาราทิงก้า" รังของคอนัวร์ในป่าตามธรรมชาติมักจะอยู่ตามหน้าผาหินทราย (sandstone cliff) หรือบางทีก็จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ที่มีโพรง เพราะเหตุจากสีสันอันสดใสของ Sun conure และ Jenday จึงเป็นแรงกระตุ้นให้นักเลี้ยงนกนำคอนัวร์สองพันธุ์นี้เข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศอเมริกา Sun เป็นคอนัวร์พันธุ์แรกที่ถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 และเริ่มถูกขยายพันธุ์นำออกขายเป็นสัตว์เลี้ยง เมื่อปี ค.ศ. 1980 หลังจากนั้นไม่นาน Jenday ก็ตามเข้ามา ต่อมาการเพาะพันธุ์นกคอนัวร์ก็เริ่มมากชนิดขึ้น ซึ่งเกิดผลดีทั้งกับตัวนกและเจ้าของเอง เพราะนกที่ถูกจับมาจากธรรมชาติก็น้อยลง ทำให้เราไม่ต้องห่วงเรื่องการสูญพันธุ์ของนก ถึงแม้ว่าในปี ค.ศ. 1980 ยังมีการจับนกจากป่ามาขายเป็นเรื่องธรรมดา แต่นกจากฟาร์มที่ถูกนำมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงก็แพร่หลายมากขึ้น นกที่มาจากฟาร์มเพาะเหมาะที่จะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงมากกว่านกที่มาจากป่า เพราะมันแข็งแรงก่าและสภาพจิตใจก็พร้อมกว่า
 
 
   สายพันธุ์
นกแก้วแบ่งออกเป็น 6 พันธุ์ใหญ่ ๆ นกคอนัวร์เป็นหนึ่งในนั้น และแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ในคอนัวร์อีกถึง 100 พันธุ์ ผู้ผสมบางรายเชื่อว่านกคอนัวร์และนกแก้วพันธุ์มาคอร์เกี่ยวดองกันอย่างใกล้ชิด ชื่อตระกูล (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของนกคอนัวร์) แปลว่า Little macaw ระหว่างนกคอนัวร์และนกแก้วมาคอร์ มีความคล้ายคลึงกันทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ดังนี้คือ รูปร่าง สีขนมีสีสดใส หางยาว คอนัวร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aratinga และ Aratinga Pyrrhura โดย อาราทิงก้า จะมีสีสันสดใส เช่น สีเขียว สีแดง ที่ดูมีชีวิตชีวา ส่วน Pyrrhura จะมีสีสันที่เข็มขึ้น เช่น เขียวแก่ น้ำตาล แดงเข้ม และ Aratinga จะไม่มีสีอ่อน ๆ ที่ขึ้นอยู่ตามอกหรือคอ และแก้มอย่างที่ Pyrrhura มี
 
 
   นกคอนัวร์แบบต่าง ๆ ได้แก่


Jenday conure (Aratinga Janday)
 เกือบจะมีสีสดใสเท่า Sun conure สำหรับ Jenday เป็นนกที่น่ามอง มีมีลักษณะเด่นตรงตัวสีเหลืองสัม ปีกมีสีเขียว และตรงปลายปีกมีสีคราม รอบตามีสีขาว ปากมีสีดำ และตรงส่วนเท้ามีสีเทา เจนเดย์เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 12 นิ้ว และหนักประมาณ 5 ออนซ์ (1 ออนซ์ = 0.028 กิโลกรัม) เจนเดย์ไม่ได้ถูกนำออกจากประเทศบราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถือเป็นถิ่นกำเนิดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 15 ปี แล้ว เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์เจนเดย์ในสหรัฐอเมริกา เพราะพันธุ์เจนเดย์ออกจำหน่ายเป็นสัตว์เลี้ยงได้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ถึงแม้ว่าเจนเดย์ค่อนข้างมีเสียงที่ดัง แต่ก็มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น และชอบเล่นผาดโผน ซึ่งทำให้เป็นเสน่ห์ของตัวมันเอง
 
 
   Blue-crowned conure (Aratinga Acuticaudata)

ลักษณะของบลูคราวน์เป็นไปตามชื่อของมันคือ มีสีฟ้าตามสาวนหัวและหน้าสีฟ้านี้จะจัดขึ้นตามอายุของนก ขนตามช่วงลำตัวมีสีเขียวและสีเหลืองเขียวจะปรากฏอยู่บริเวณใต้ปีก ส่วนหางจะมีสีแดงอ่อน ๆ ประปราย บลูคราวน์มีผิวหนังรอบดวงตาเป็นสีขาว เท่าสีอมชมพู เมื่อนกโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 15 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 7 ออนซ์


บลูคราวน์ถูกนำมาครั้งแรกในประเทศอังกฤษช่วงปี ค.ศ. 1970 คอนัวร์พันธุ์นี้พบมากในอเมริกาใต้ จากเวเนซูเอล่ามาจนถึงอเจนติน่า และ เนื่องจากบลูคราวน์มีหางที่มีลักษณะที่แหลมยาว ทำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Sharp-tailed คอนัวร์พันธุ์นี้มีเสียงที่ค่อนข้างดัง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนกมีอาการตื่นเต้นหรือตกใจ) แต่โดยทั่วไปจะเป็นนกที่รักความสงบสามารถสอนให้พูดได้และมีนิสัยที่เป็นมิตรถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักที่เดียว คอนัวร์พันธุ์นี้ได้ถูกนำมาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Paulie, 1998
 
 

   Black-capped conure/Rock conure (Pyrrhura Rupicola)

คอนัวร์พันธุ์นี้จะไม่ค่อยได้พบเห็นตามท้องตลาดสักเท่าไร่ ลักษณะลำตัวจะมีสีเขียว ส่วนหัวและหน้าจะมีสีน้ำตาลดำ ปลายปีกมีริมสีแดง มีความยาวประมาณ 10 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 3 ออนซ์ มีลักษณะนิสัยเหมาะที่จะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง Black-capped จะมีอุปนิสัยและลักษณะที่คล้ายคลึงกับ Maroon-bellied และ Green-cheeked และเคยพบว่าสามารถสอนให้พูดได้ถึง 50 คำ


พันธุ์นี้จะมีเหลืองอร่ามทั้งตัว จงอยปากมีสีเนื้อ ลักษณะหางสั้น ลูกนกพันธุ์นี้จะมีสีเหลืองผสมเขียวประปราย ลูกป้อนจะเชื่อง ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและมีนิสัยชอบที่จะอยู่ติดกับเจ้าของ ถือเป็นนกที่ฉลาดทีเดียว
 
 

   Painted conure (Pyrrhura Picta Picta)

เพ้นท์เท็ด คอนัวร์ ถือเป็นน้องเล็กของตระกูลคอนัวร์ ด้วยขนาดความยาวเพียง 9 นิ้ว และเนื่องจากเป็นนกที่อยู่ในสายพันธุ์ Pyrrhura จึงเป็นนกที่ค่อนข้างที่จะรักความสงบ เมื่อเทียบกับคอนัวร์ในสายพันธุ์ Aratinga เพ้นท์เท็ดจัดเป็นนกคอนัวร์ที่มีความสวยงามทีเดียว มีสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ และดูเหมือนถูกระบายสีรุ้งไว้บนตามลำตัวดังชื่อของมัน "เพ้นท์เท็ด" จากลำคอถึงช่วงหน้าอกของนกจะมีสีเขียวเข้มและค่อย ๆ ไล่ลงมาเป็นสีเหลือง ส่วนบริเวณหัวและต้นคอมีสีน้ำตาลประปรายไปด้วยสีขาว บริเวณโหนกของหัว แก้ม และคอจะมีสีฟ้า ส่วนโค้งของปีกจะมีสีแดงและ สีเลือดนกจะปรากฏตามแก้มส่วนบน ท้ายลำตัว ท้อง และส่วนบนของหาง คอนัวร์พันธุ์นี้มีปากและเท้าสีดำ ไม่ค่อยพบตามท้องตลาด ถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีเสน่ห์ดึงดูใจเลยทีเดียว
 
 
   Patagonian conure (Cyanoliseus Patagonus)

พาทาโกเนี่ยน ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นคอนัวร์ที่มีลักษณะใหญ่ที่สุดในสายของนกพันธุ์คอนัวร์ มีสีน้ำตาลผสมสีเขียวเข้ม และมีสีขาวบริเวณช่วงอกด้านบน ส่วนท้องจะมีสีเหลืองสดและแดง ช่วงขาจะมีสีแดง ช่วงปีกและหางจะมีสีฟ้าขอบตาสีขาว จงอยปากสีดำ ส่วนเท้าจะมีสีออกไปทางชมพู จะพบค่อนข้างมากในประเทศชิลีและอเจนติน่า หลายครั้งพบว่านกพันธุ์นี้ไม่ชอบกินอาหารที่มีลักษณะนิ่ม เช่น ผักและผลไม้บางชนิด พาทาโกเนี่ยนมีเสียงดังและเช่นเดียวกับคอนัวร์พันธุ์อื่น ๆ ลูกป้อนมักจะมีนิสัยติดเจ้าของและสามารถเลียนเสียงพูดได้ค่อนข้างดี คอนัวร์พันธุ์นี้จำเป็นจะต้องมีกรงที่ใหญ่พอสมควร เนื่องจากขนาดของตัวใหญ่ถึง 17.5 - 18 นิ้ว และมีน้ำหนักตัวถึง ? ปอนด์ เลยทีเดียว
 
 
   Sun conure (Aratinga Solstitialis)
  ซัน คอนัวร์ ถูกขนานนามว่าเป็น Cardillac ในหมู่นกคอนัวร์ เพราะความปรอดเปรื่องและสีสันที่มีความสดใส ซัน คอนัวร์ ลำตัวของซันจะมีสีส้มอมเหลืองและสีแดง ตรงส่วนปลายปีกจะมีสีเขียวคราม ส่วนตอนเด็กจะมีสีเขียวประปรายตามปีกจนกว่าจะผลัดขนครั้งแรกถึงจะเริ่มมี สีเหลืองส้มมากขึ้น เมื่อโตเต็มที่สีปากจะเป็นสีดำ รอบดวงตาจะมีสีขาว และส่วนตรงเท้าจะมีสีเทา ความยาวของลำตัวตั้งแต่จงอยปากไปจนถึงปลาหางจะยาวประมาณ 12 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 7.5 ออนซ์ ซันจะพบมากในป่าของประเทศกิอานา (Guyana) จนถึงประเทศบราซิลตะวันออกเฉียงเหนือ และก็ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในอเมริกาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซัน ที่ถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงขึ้นชื่อสำหรับความพึงพอใจของมันที่จะอยู่กับเจ้าของ และเล่นกับเจ้าของเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ซันมักจะชอบที่นั่งอยู่บนไหล่ของเจ้าของและอาจส่งเสียงดังได้ ถ้าไม่ได้รับความ สนใจ ซัน เป็นนกที่ชอบความใกล้ชิดและต้องการความรักและมันยังถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักมากทีเดียว
http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/article/poultry/Conure/Conure.htm




หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะค่ะ

Guest

ได้รับข้อมูลที่สุด ๆ จริง ๆ ครับ  

นกคอนัว ดูเหมือนจะไม่พูดนะครับ เหมือนจะพยายาม แต่..ก็ ดีแต่ ...

แกว๊กก   แกว๊กกก

perapolm

ขอบคุณ คุณ violin_ มากๆเลยครับที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ

violin_

ยินดีค่ะ หนูก็มือใหม่เหมือนกัน

แต่ถ้าอยากให้พูดเก่งๆน่าจะเลี้ยงอัฟริกัน เกร์ย  อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัวนะค่ะ  ซันน่ารักค่ะแต่พูดไม่ชัดเท่าไร ดูเหมือนจะ แว็ก  แว็ก จริงๆ ถ้าสนใจซันคอร์นัว ดูของคุณ Napat ก็ได้ค่ะ
หนูเห็นน้าเขาเอามาลง ดูสวยดีอ่ะ(ความเห็นส่วนตัว)  หนูหาลู่ทางจะไปรับตัวอยู่เนี่ย ๕๕๕