คุณ Put มาช่วยทีครับ ซันคอนัว มันซึมๆๆ ผิดปกติ นอนแล้วกว่าทุกวัน

เริ่มโดย kaokong, สิงหาคม 02, 2010, 09:00:41 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

kaokong

ยังงัยช่วยทีครับ

แล้วผมมียานี่ให้กินได้ไหมครับ  

B.S BETERE SPIJSVERTERING

put

b.s. น่าจะรักษาอาการโรคท้องเสียที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว และโรคแคงเกอร์ ยาพวกนี้ไม่เหมาะกับการรักษาเป็นตัวๆไป  ส่วนใหญ่จะบอกว่า1ซองผสมน้ำกี่ลิตร จะใช้รักษานกที่อยู่ในกรงหลายตัว  อาการของนกที่เริ่มป่วยมักจะไม่ค่อยร่าเริง กินอาหารน้อยลง จะกินแต่อาหารที่นิ่ม เมล็ดทานตะวันจะค่อยๆไม่กินเลย นอนทั้งวัน  แนะนำให้ใช้ด้อกซี่ไซคลีน(100ม.ก.)ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แกะยาออกจากแคปซูลแบ่งเป็น4ส่วน เอามา1ส่วนผสมน้ำ10cc. ซันหนัก110-120กรัม  ให้ดูดน้ำยา1.2cc.แล้วไปดูดอาหารป้อนอีก6cc. feedให้นกวันละ2ครั้ง เช้า-เย็นหรือกลางคืน5วัน ในกรณีที่จับนกป้อนยาได้  หากนกที่อายุค่อนข้างมาก จับป้อนยาไม่ได้  ให้ใช้ยา1ส่วนผสมน้ำ50cc. ให้นกกินทั้งวัน 5วัน เช้าละลายยาเย็นเทน้ำยาทิ้ง และควรจะเปิดไฟกกนกใว้ เพราะความร้อนจะทำให้นกรู้สึกกระหายน้ำ

ปล.b.s.คงไม่เหมาะสมที่จะมารักษาอาการนกที่ซึมจากอากาศเปลี่ยนแปลง หากท้องเสียก็พอจะรักษาได้

Guest

นับถือคุณ PUT จริง ๆ เลย  เป็นที่พึ่งขวัญใจคนยาก  ซาบซึ้ง ซาบซึ้ง

ขอเอาใจช่วยเจ้าของกระทู้นะคะ  อย่านิ่งนอนใจ เขาเจ็บปวดก็บอกเราไม่ได้ ต้องหมั่นสังเกตนะคะ  มีอะไรรีบเล่าให้ ชาวเวปฟังนะคะ เดี๋ยวคุณพุฒตอบให้ ( รับงานให้คุณ PUT เลยเรา อิ อิ )

kaokong

ขอบคุมากเลยครับ

เมือสังเกตที่ตัว เห็นรอย  โดน  ฮันมาคอ  จิก  ตรงหัว กับคอ

ขนหลุดเยอะเลย

มันจะเกี่ยวกันไหมครับ กับที่มันซึมๆๆ

put

อาจเกี่ยวกันก็ได้ ยังไงก็ต้องให้ยาและกกไฟครับ เพราะนกจะอักเสบจากการโดนจิกและกินอาหารไม่ลง ต้องรีบทำครับ ขืนปล่อยใว้เฉยๆจะทำให้นกเสียชีวิตได้ครับ

Guest

อ่านดูแล้วอาการซึมน่าจะมาจากโดนกัดมากกว่าครับคงจะระบมแผลเลยทำให้ซึม  ลองเอายาแก้อักเสบพวกเตตร้าซัยคลินผสมกับวิตามินB12 ในน้ำให้กินดูครับ  เพื่อลดอาการเครียดและป้องกันการติดเชื้อ  น่าจะอาการดีขึ้นครับ  
สำหรับยา B.S. นั้นใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อ TRICHOMONIASE (โรคแคงเกอร์ที่เรารู้จักกันดี) และ รักษาอาการติดเชื้อโปรโตซัวร์ COCCIDIOSIS โดยเฉพาะครับ  อีกทั้งยังสามารถค่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ด้วยครับ  ไม่น่าจะเกี่ยวกับการอาการซึม  
ส่วนDOXYCYCLINEนั้นเหมาะสำหรับรักษาอาการติดเชื้อส่วนหน้าครับเช่นโรคหวัดชนิดต่างๆ และยังใช้ได้ดีกับการรักษาโรคฝีดาษด้วยครับ ก็เลือกใช้ตามความเหมาะสมครับ

ว่างๆจะมาเล่าวงจรชีวิตและการแพร่ของเชื้อ COCCIDIOSIS ให้ฟังครับ

สวัสดีครับ

naþat³

โอ้ว มารอฟัง คุณ ice_aviary เรื่องบิดครับผม ขอความกรุณาด้วยขอรับ :-)


พูดคุย เรื่องนก บรรยากาศเป็น กันเอง สบายๆ

Guest

เอามาเล่าแบบทันใจครับพอดีวันนี้ลูกค้าไม่ค่อยเยอะครับ
o   ไอ้เจ้าโรคค็อกซิดิโอสิส (Coccidiosis) หรือที่เรารู้จักในชื่อไทยว่า "บิด" เป็นโรคชนิดหนึ่งที่มักเกิดกับลูกป้อนหลังแยกออกจากพ่อแม่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่เหมือนนกที่โตแล้ว  หรือเกิดกับนกโตที่สภาพภูมิคุ้มกันถดถอย ซึ่งสาเหตุเบื้องต้นเกิดจากความไม่สะอาดของอุปกรณ์การป้อนและกรงที่อยู่อาศัยมีสภาพอับชื้น การแพร่กระจายของเชื้อ coccidiosis  จะคล้ายกับการแพร่กระจายของไข่พยาธิ ซึ่งเราเรียกว่าอูซิส (oocyst) จะอยู่ในอุจจาระของนก ซึ่งจะยังไม่มีอันตรายมากนัก แต่ถ้าอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นใจ ก็จะสามารถพัฒนาสู่ขั้นอันตรายได้  โดยเชื้อนี้สามารถแพร่สู่นกตัวอื่นๆได้ดังนี้ นกที่จิกกินอาหารจากพื้นที่สกปรกหรือจากน้ำที่ไม่ได้เปลี่ยนทุกวัน จะกลืน oocyst เข้าไป ในระหว่างฟักตัวเชื้อก็จะเพิ่มจำนวนและฝังตัวอยู่ในผนังลำไส้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการลำไส้บวม ท้องเสีย น้ำหนักลด ไม่ว่าจะให้อาหารมากแค่ไหนก็ตาม ถ้าเราไม่ทำการให้ยารักษาทันที ลูกนกตัวนั้นก็จะเติบโตขึ้นมาอย่างไม่สมบูรณ์ มีขนไม่เรียบเงา โครงสร้างกระดูกที่แคระแกร็น และยังส่งผลต่อระบบลำไส้ที่ไม่ดี  การรักษาดูแลกรงนกให้มีความสะอาดอยู่เสมอช่วยป้องกันการแพร่ขยายของเชื้อได้มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้กำจัดเชื้อได้อย่างสิ้นซาก ยกเว้นการใช้ความร้อนสูงมากหลายร้อยองศาเซลเซียสถึงจะค่าเชื้อชนิดนี้ได้ ในกรณีที่ต้องมีการให้ยารักษา เราสามารถให้ยาประเภท B.S. แก่นกเราได้  
o   ทีนี้เรามาดูวงจรชีวิตของ coccidiosis กันนะครับ ขอเริ่มที่การนกได้กลืน oocyst เข้าไปทางปากโดนวิธีใดก็แล้วแต่  เมื่อเชื้อเข้าไปในระบบทางเดินอาหารแล้ว เชื้อก็จะฝังตัวเข้าไปในผนังลำไส้  จากนั้นเชื้อจะพัฒนาการแบ่งตัวออกหลายเท่าตัวเรียกว่า schizonts  ต่อจากนั้น Schizonts จะผลิต merozoites ซึ่งจะเข้าไปฝังตัวลึกในผนังลำไส้เช่นกัน  และเจ้าmerozoites เหล่านี้จะก่อให้เกิด schizon 2 ซึ่งจะผลิตเชื้อตัวผู้และตัวเมียของ gametocysts และสุดท้ายแล้วก็จะผลิต oocyst ที่ขับออกมาปนอยู่ในมูลของนกที่ป่วย  และรอการเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของนกตัวต่อไปครับจบ....อิอิ
o   รีบเข้ามาโพสเพราะวันนี้ที่ร้านงานไม่ยุ่ง  และเห็นคุณณภัทรสนใจครับ  ถือว่าผมมีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังนะครับเพราะในเว็บนี้ก็มีผู้มีความรู้ความสามารถอยู่หลายท่าน  ถือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันครับ  โอกาสหน้าอาจจะเป็นผมที่มาขอความรู้บ้างใครจะรู้ครับ  คนเราไม่เก่งไปซะทุกเรื่องหรอก..อิอิ  แล้วผมจะหาเวลามาเขียนเรื่องอื่นเท่าที่พอรู้พอทราบอีกครับ  คงมีประโยชน์กับนักเลี้ยงนกท่านอื่นบ้างไม่มากก็น้อยครับ

o   สวัสดีครับ

naþat³

ขอบคุณ คุณ ice_aviary มากๆครับ เป็น ประโยชน์มากๆ ครับ
ถูกต้องที่สุดเลยนะครับ การเลี้ยง นก สิ่ง สำคัญ คือ การกักโรคนกเข้าใหม่ น้ำอาหารที่เหมาะสม  อากาศทำเลที่ตั้ง ขนาดพื้นที่เหมาะสม และ ก็ความสะอาดนี่ล่ะนะสำคัญมากๆ อาหารสะอาด กรงสะอาด พื้นที่สะอาด ภาชนะที่ใช้เลี้ยงลูกนก สะอาด ลูกนกก็ไม่ป่วยนะครับ ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่ามานั่ง รักษาเยอะ  ยินดีมากๆ ครับ วันไหนงานไม่มากรบกวนมาแนะนำความรู้ กันอีกนะครับผม ขอบคุณมากๆ ครับ เลื่อมใสๆในน้ำใจ ครับผม


พูดคุย เรื่องนก บรรยากาศเป็น กันเอง สบายๆ