อยากรู้เรื่องการมองเห็นของนกค่ะ

เริ่มโดย coco, มกราคม 15, 2009, 09:17:08 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

coco

อยากรู้เรื่องการมองเห็นของนกค่ะ   ว่าปกติแล้วเค้ามีความสามารถในการมองเห็นสีต่างๆได้ดีแค่ไหน  หรือว่าเห็นแค่ขาวกับดำ แล้วตามธรรมชาติของเค้าเวลาล่าเหยื่อหรือหาอาหารเค้าใช้ประสาทสัมผัสทางด้านไหนในการหาอาหารคะ
นี่มันแอฟริกันเกรย์  หรือแอฟริกันเกเรเนี่ย

noon9999

เคยดูในสารคดี นกมองเห็นและแยกสีออกครับ การหาอาหารก็ใช้สายตาเป็นหลักครับ

state

ผลการวิจัยล่าสุดพบว่านกบางชนิดสามารถมองเห็นได้ถึง 5 สี five-color vision เรียกว่า Pentachromatic
ดวงตา นกล่าเหยื่อมีสายตาที่ดีมาก ตัวอย่างเช่น Falcons หรือเหยี่ยวปีกแหลมสามารถเห็นนกเขา (Dove) จากระยะไกลเกือบ 1,000 เมตร เช่นเดียวกับ Griffon Vulture สามารถจำแนกเป้าหมายที่ขนาดเพียงเท่าผลแอปเปิ้ลจากระดับความสูง 3,650 เมตร ตรงกัน ดวงตาของนกล่าเหยื่อกลางวันถูกกำหนดให้อยู่ระหว่างทั้งข้างศีรษะและข้างหน้าของใบหน้า

           ดวงตายังได้รับการป้องกันจากหนังตาบนและล่างเช่นเดียวกับนกที่มีเยื่อบาง ๆ ที่คลุมตานกเป็นหนังตาที่ 3 มีประโยชน์สำหรับนกที่หากินใต้น้ำ นกล่าเหยื่อยังสามารถปิดเยื่อบาง ๆ เพื่อป้องกันดวงตา เยื่อนี้ปล่อยของเหลวข้ามมาที่ดวงตาเพื่อป้องกันความเปียกชื้นของดวงตา นกส่วนใหญ่ชอบที่จะใช้เนื้อเยื่อเมื่อขณะที่นกบินในวันที่มีลมกรรโชกแรง หรือเมื่อต้องเจอฝุ่นและสิ่งสกปรกอยู่ในอากาศ

           การมองเห็นของนกล่าเหยื่อกลางวันเป็นประสาทรับความรู้สึกที่สำคัญสำหรับการล่าเหยื่อ และการแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ถึงสิ่งที่เป็นอันตราย นกล่าเหยื่อมีการมองเห็นที่ดีมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนของดวงตาของนกล่าเหยื่อแล้วมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ๆ ทั้งยังมีความสามารถในการมองเห็นได้ชัดเจนกว่า ดวงตาประกอบด้วยเรตินา (Retina) คือ เยื่อชั้นในสุดของสันหลังของลูกตา มีหน้าที่รับภาพจากแก้วตาซึ่งประกอบไปด้วยเซลส์ Rod และ Cones คือเซลส์ที่เกี่ยวกับความรู้สึกการมองเห็นของดวงตา ซึ่งนกล่าเหยื่อมีเรตินาที่หนากว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ๆ ถึง 1.5 – 2 เท่า

           เซลส์รับความรู้สึกที่มีมากกว่าก็หมายถึงภาพการมองเห็นที่คมชัดเจนกว่า ขณะที่ในมนุษย์นั้นตำแหน่งความชัดเจนของการรับภาพซึ่งก็คือ Fovea (บริเวณที่คล้ายรูปกรวยของเรตินาที่บรรจุเซลส์ Cones เป็นการแปลสัญญาณภาพสี เป็นที่เข้าใจกันว่ามีประมาณ 6 – 7 ล้านเซลส์สามารถแบ่งออกเป็นสีแดง 64% สีเขียว 32% และสีน้ำเงิน 2% เป็นการบ่งบอกถึงการรับรู้สีของนัยน์ตา) มนุษย์มี 1 Fovea ต่อดวงตา 1 ข้าง แต่สำหรับนกล่าเหยื่อนั้นมี 2 Fovea ต่อดวงตา 1 ข้าง นอกจากนั้นนกล่าเหยื่อกลางวันหลายชนิดมีเซลส์รับความรู้สึกไวมากกว่าครึ่งหนึ่งของเรตินา สิ่งนี้เป็นการช่วยการมองเห็นให้กับนก ก่อนที่นกจะมองไปข้างหน้าที่พื้นดินจากที่คอนเกาะหรือเมื่อยามที่นกบินอยู่ นกจะต้องมองกวาดบนท้องฟ้าแล้วจึงก้มศีรษะลงล่าง

           เปรียบเทียบกับมนุษย์แล้วมนุษย์ต้องใช้ดวงตาทั้งสองข้างในการมองไปยังจุดศูนย์รวมของวัตถุจึงจะมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด แต่ในขณะที่นกล่าเหยื่อนั้นสามารถตรวจพบการเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดายโดยใช้ดวงตาข้างเดียว นกล่าเหยื่อกลางวันมองเห็นวัตถุเดียวกันได้ในระยะไกลกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า เช่น The Wedge-tailed Eagle (Aquila audax) สามารถมองเห็นวัตถุได้ในระยะไกลมากกว่า 2 เท่าของมนุษย์ แต่ American Kestrel มีความสามารถในการมองเห็นได้ชัดเจนเทียบเท่ากับมนุษย์ (Martin, 1987) นกล่าเหยื่อกลางวันสามารถมองเห็นสีสันที่ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการจำแนกอาหารและพฤติกรรมการสืบพันธุ์

นกขุนทอง (mynah) ที่ในสายตามนุษย์มองเห็นเป็นสีดำ หรือนกที่เรามองเห็นว่ามีขนเป็นสีขาวนั้น ในสายตานกจะสามารถมองเห็นได้เป็นสีต่างๆ multi colour แสง UVA ที่สะท้อนกับขนนก จะมีส่วนช่วยในการบอกเพศซึ่งนกด้วยกันเท่านั้นจะมองเห็น ดังนั้นในที่ๆมีแสงไม่เพียงพอ จึงมักเป็นการยากแก่นกในการดูความแตกต่างระหว่างเพศ ก่อให้เกิดอุปสรรค์ต่อการผสมพันธุ์ และด้วยเหตุนี้นกที่อาศัยอยู่ในที่ๆมีแสง UVA ไม่เพียงพอจะมีผลกระทบต่อการมองเห็น โดยนกจะมีอาการคล้ายกับคนที่ เป็น "ตาบอดสี" หรือมองเห็นสีเพียงขาว-ดำ

นอกจากนี้แสง UVA ยังมีความสำคัญในการเลือกอาหารของนก ผลไม้สุกและลูกไม้เล็กๆจะปรากฏเป็นสีที่แตกต่าง เช่น สีแดงจะดูแดงมากขึ้น สีเขียวจะดูเขียวมากขึ้น มีผลช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้นก นกที่มักมีปัญหาในการกิน เช่น กินอาหารยากจึงต้องการแสง UVA ในการช่วยกระตุ้นความอยาก และนอกจากนี้แสงยังเป็นตัวกำหนดทิศทางเพื่อช่วยให้นกบินไปในทิศทางที่ถูกต้อง

Ton

ผมนึกว่านกพวกนี้...ลูกกะตาทั้งสองข้างมองเห็นแต่เจ้าของอย่างเดียวคับ..5555...เพราะเห็นส่วนมากติดแต่เจ้าของอย่างเดียว..อิอิ..
(ล้อเล่นคับ...ได้ความรู้ใหม่ๆเพียบเลยจ้า...)
รักเจ้า Fox สุดหัวจายยย....

artz

ขอบคุณท่าน state มากเลยครับ ผมว่าละเอียดดีมากเลย
CERBERUS ARE HERE
Electric Sound Product

coco

ขอบคุณค่ะคุณ state  แต่ว่า UVAนี่มีเฉพาะในแสงแดดหรือเปล่าคะ  พอดีเกรย์ที่เลี้ยงอยู่ไม่เคยเจอแดดเลยค่ะ อยู่ในบ้านตลอดเลย  จะตาบอดสีไหมเนี่ย แย่แล้ว  อายุ8 เดือนแล้วเอาออกแดดตอนนี้จะทันป่าวเนี่ย
นี่มันแอฟริกันเกรย์  หรือแอฟริกันเกเรเนี่ย

state

อ้างถึงcoco เป็นผู้เขียน:
ขอบคุณค่ะคุณ state  แต่ว่า UVAนี่มีเฉพาะในแสงแดดหรือเปล่าคะ  พอดีเกรย์ที่เลี้ยงอยู่ไม่เคยเจอแดดเลยค่ะ อยู่ในบ้านตลอดเลย  จะตาบอดสีไหมเนี่ย แย่แล้ว  อายุ8 เดือนแล้วเอาออกแดดตอนนี้จะทันป่าวเนี่ย

คงไม่เป้นไรมั่งครับ นกอายุยังน้อยอยู่ โดยธรรมชาติแล้วนกอายุประมาณนี้ ก็คงเริ่มหัดบิน และคงเริ่มออกจากโพรงครับ ถ้ามีเวลาเอานกออกมารับแดดอ่อนๆตอนเช้า บ้างก็จะดีมากครับ

ความสำคัญของ UVA และ UVB
UVB เท่านั้นที่มีความสำคัญในส่วนของสุขภาพ เนื่องจาก UVB จะเป็นตัวสังเคราะห์ไวตามิน D ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตบนโลก และแน่นอนรวมถึงนกด้วยโดยไวตามิน D จะเป็นตัวช่วยให้ร่างกายนกดูดซับแคลเซียมที่นกบริโภค ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างกระดูกที่แข็งแรง สร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรงสำหรับนกที่กำลังจะวางไข่ และช่วยให้กล้ามเนื้อนกอยู่ในสภาพดี นกที่ไม่มีโอกาสได้รับไวตามิน D จะไม่สามารถรับประโยชน์จากสิ่งดังกล่าวนี้ เพราะร่างกายนกจะไม่สามารถนำแคลเซียมที่กินเข้าไปมาใช้ประโยชน์ได้เลย ส่วน UVA จะช่วยในการมองเห็นของนก

นกได้รับแสงในหลายทาง เช่น นกได้รับแสง UVA ผ่านทางตา โดย retina จะรับรู้การเกิดของสีและระยะของแสง ข้อมูลการรับรู้เหล่านี้จะถูกแยกส่งไปยังสมองในส่วนของการมองเห็นและอีกส่วนถูกส่งไปยังต่อม pituitary นอกจากนี้นกยังได้รับแสง UVA ผ่านทางเนื้อเยื่อที่อยู่รอบกระบอกตาที่เรียกว่าต่อม Harderian (Harderian Gland) ต่อมนี้จะทำหน้าที่กะประมาณระยะเวลาของแสงเพื่อการรับรู้กลางวันกลางคืนและส่งผ่านข้อมูลไปยังต่อม Pineal (Pineal gland)

ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าแสงมีผลต่อระบบต่อม(gland)ต่างๆในร่างกายนก เช่น Thyroid gland, Hypothalamus และ Pineal gland
Thyroid gland เป็นตัวควบคุมการทำงานของต่อมต่างๆในการรับแสง
Hypothalamus มีบทบาทในการพัฒนาของขนนก หากต่อมนี้ทำงานผิดปกติ ขนและผิวหนังนกจะมีความผิดปกติไปด้วย
Pineal gland ควบคุมรอบระยะเวลาของการผลัดขนและระบบการสืบพันธ์ุ โดยจะประสานการทำงานร่วมกับการที่นกได้รับแสงอย่างเหมาะสมนั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่านกที่อาศัยอยู่ในอาคารหรือบ้านจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากแสง UVB นี้ และ เนื่องจากแสงแดดธรรมชาติเป็นแสงที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพนกมากที่สุด ดังนั้นจึงควรจัดให้นกได้รับแสงธรรมชาติเท่าที่จำเป็น และแม้ว่าสัตวแพทย์หลายท่านจะยังคงมีความเห็นต่างกันในเรื่องระยะเวลาที่นกควรจะได้รับแสง แต่สิ่งที่ทุกท่านยืนยันเหมือนกันคือแสงแดดธรรชาตินั้นดีที่สุดแน่นอน

นกขนาดเล็กต้องการแสงธรรมชาติอย่างมาก 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
นกขนาดใหญ่ต้องการแสงธรรมชาติอย่างมาก 4-6 ชั่วโมงต่อวัน
ส่วนนกที่มีปัญหาไข่เรื้อรังหรือมีปัญหาการสืบพันธุ์อื่นๆ อาจมีความจำเป็นต้องลดการให้แสงลง
หรือหยุดให้แสงชั่วคราว ทั้งนี้นกประเภทนี้ควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเรื่องแสงจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ