ไปเจอมา เลยนำมาฝากครับ ความรู้เรื่อง แก้วโม่ง

เริ่มโดย KiBaKung, กุมภาพันธ์ 25, 2009, 11:30:36 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

KiBaKung

แก้วโม่ง
(Alexandrine Parakeet Psittacula eupatria )
เป็นนกวงศ์นกแก้ว   ชื่อสามัญคือ Alexandrine Parakeet โดยชื่อนี้ เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ กษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อครั้งยาตราทัพเข้ามาสู่ในทวีปเอเซีย โดยได้นำนกแก้วสายพันธุ์นี้กลับไปยังทวีปยุโรป



ถิ่นกำเนิด

แก้วโม่ง มีถิ่นกำเนิดแพร่กระจายทั่วไปในแถบทวีปเอเซีย ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอัฟกานิสถาน ไล่ลงไปยังอินเดีย  
อินโดจีน  พม่า ลาว  เวียดนาม  และประเทศไทยฝั่งตะวันตกยกเว้นที่ราบลุ่มภาคใต้ รวมทั้งยังพบได้ตามหมู่เกาะในทะเลอันดามัน



ลักษณะ


เป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่ึ่สุดในบรรดานกแก้วของเมืองไทย หัวและลำตัวเป็นสีเขียว จงอยปากงุ้มลงมามีขนาดใหญ่สีแดง บริเวณหัวไหล่จะมีแถบสีแดงแต้มอยู่ทั้งสองข้าง   นกเพศผู้และเพศเมียสามารถแยกแยะด้วยสายตาได้เมื่อนกโตเต็มที่  กล่าวคือ ในเพศผู้
จะปรากฏมีแถบขนสีดำและสีชมพูรอบคอที่เรียกกันว่า "Ring Neck" ซึ่งในนกเพศเมียไม่มี และเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้
เล็กน้อย แก้วโม่งมีความยาววัดจากหัวถึงปลายหางได้ราว 51 - 58 เซ็นติเมตร


สายพันธุ์

แก้วโม่ง มีสายพันธุ์ย่อยลงไปอีก 4 สายพันธุ์ คือ
P.e. nipalensis      พบมากใน Ceylon และทางใต้ของอินเดีย
P.e. magnirostris พบในบริเวณหมู่เกาะอันดามัน
P.e. avensis          พบในเขตรัฐอัสสัม  พม่า
P.e. siamensis      พบได้ในภาคตะวันตกของประเทศไทย  ลาว  กัมพูชา  และเวียตนาม
ความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ย่อยนั้น มีต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของ ขนาด  ความยาว และสีสันที่ปรากฎบนลำตัว



นิสัย
แก้วโม่ง  ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ และป่าโปร่งตอนกลาง หากินเป็นกลุ่มเล็ก ๆ บนต้นไม้ หรืออาจจะลงไปหากินตามไร่นา ตอนกลางคืนจะกลับไปนอนบนต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ  มีความสามารถในการใช้ปากเกาะเกี่ยวเพื่อไต่ไปตามกิ่งไม้เล็ก ๆ เป็นนกแก้ว
ที่มนุษย์ชอบนำมาเลี้ยง เพราะมันสามารถพูดเรียนเสียงมนุษย์ได้ดีกว่านกแก้วชนิดอื่น ๆ แต่ต้องนำมาหัดพูดตั้งแต่ยังเล็ก ๆ
แก้วโม่ง จัดเป็นนกแก้วที่มีเสียงร้องค่อนข้างดัง และมักเลือกที่จะทำรังตามโพรงไม้ใหญ่ ๆ โดยใช้วิธีแทะหรือขุดโพรงไม้จำพวก
ไม้เนื้ออ่อน หรืออาจเลือกใช้โพรงไม้ที่เก่าต่าง ๆ
 
 
อาหาร
อาหารของแก้วโม่งในธรรมชาติ ประกอบด้วย เมล็ดพืชต่าง ๆ ผลไม้หลากชนิด และใบไม้อ่อน  ฯลฯ


แก้วโม่งเป็นนกที่เลี้ยงง่ายไม่ยุ่งยาก

อาหารหลักเป็นผลไม้ ตามฤดูกาล  อาืิทิ  ฝรั่ง  แอ๊ปเปิ้ล  มะละกอ  กล้วยน้ำหว้่า  แก้วมังกร  ชมพู่ ฯลฯ
  เมล็ดพืช  อาทิ เมล็ดทานตะวัน  ฮวยมั๊ว  ถั่วลิสงต้ม  ถั่วลิสงอบแห้ง
พืช และ ผัก  อาทิ  ฟักทอง  แครอท  ถั่วฝักยาว  พริก  ข้าวโพด  กระเพรา  ตระไคร้  หญ้าขน
เสริมแคลเซี่ยม  ด้วย กระดองปลาหมึก และเปลือกหอยป่น


การสืบพันธุ์

ฤดูผสมพันธุ์ของแก้วโม่งในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันตามลักษณะสายพันธุ์ย่อย อันเกี่ยวเนื่องกับอุณหภูมิและสภาพทางภูมิศาสตร์
แต่โดยเฉลี่ยจะเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงราวปลายเมษายน
โดยในระหว่างฤดูผสมนี้เพศเมียจะแสดงอาการดุและกร้าวร้าวมากขึ้น
แก้วโม่ง วางไข่ปีละครั้ง ครั้งละ 2 - 4 ฟอง ฟักไข่นานประมาณ 30 วัน
 
ปัจจุบัน


นกแก้วโม่งจัดเป็นนกที่อยู่ในบัญชีคุ้มครอง 2 ของอนุสัญญาไซเตส
รวมทั้งเป็นนกที่กฎหมายให้ความคุ้มครองในแต่ละประเทศด้วยเช่นกัน
ซึ่งในประเทศไทยภาครัฐเคยเปิดโอกาสให้มีการขึ้นทะเบียนการครอบครอง
และสามารถนำแก้วโม่งมาเพาะพันธุ์โดยมนุษย์ในกรงเพาะจนประสบผลสำเร็จ

 



KiBaKung

พอดี ผม ได้ แก้วโม่งมาตัวหนึ่งครับ ช่วงนี้ กำลังหาข้อมูลอยู่

ถ้ายังไง ขอโทดผู้ดูแลบอร์ดด้วยนะครับ เพราะผมเป็นเด็กใหม่

ไม่สมควรทำตัวเป็นเซียนนก  แต่ว่า เผื่อเอาไว้ถ้ามีใครยังไม่ทราบข้อมูลพวกนี้ อาจเป็นประโยชน์ได้ครับ