พบเห็นการซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองทำอย่างไรครับ

เริ่มโดย moonkiss, เมษายน 20, 2009, 12:32:06 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

9Tui

รณรงค์กันต่อไป ซักวัน ผู้คุ้มครองกฏ จะช่วยรักษากฏ ที่มีได้
หวังว่าน่ะ  :-(
[img align=left]http://i65.photobucket.com/albums/h231/chaptui/Signature_Birds.jpg[/img]

ปล.นกในภาพไม่ใช่ของผมน่ะครับ
เลี้ยงนกดูแลนกให้ดีด้วยน่ะ

tuktik2255

ได้ยินปู่พูดอย่างนี้แล้วติ๊กก็ชื่นใจ ค่ะ อย่างน้อยก็มีคนที่ทำจริงจัง ถึงแม้ว่า พวกเราทำท่าจะหมดหวังกับฝ่ายที่ตรวจจับก็ตาม

อยากรูว่า มีนักข่าวทำข่าวด้วย ก้นคงร้อนนั่งกันไม่ติด ติ๊กอยากให้ทีมงาน กบนอกกะลา หรือ แนว ๆ นี้ไปลองทำรายการตรงนี้บ้างจัง ไม่งั้นหมดแน่ หมดกัน นกหายากบ้านเรา

อยากให้มีคนคิดเหมือนปู่เย้อะ ๆค่ะ ติ๊กชอบใจ มาก ๆ ปู่ ตอบแบบ สร้างสรรค์ และ สละเวลาสะกดพิมพ์ ให้เมื่อยนิ้วมานาน ดีกว่า ปล่อยให้น้อง ๆ ฟังแค่ ไม่ซื้อ ไม่สนับสนุน

จริงของปู่ค่ะ คนพวกนี้ ต้องเรียกว่า ขบวนการค้าสัตว์ป่า เพราะมีมากมายหลายคน และที่ติ๊กเคยรู้จัก พวกจับลิขสิทธ์ เค้าบอกว่า คนขายมักจะเป็นเด็กอายุไม่ถึง 20 ปี มาขาย สามารถประกันตัวได้ แล้วไปสู็ในศาล แจ้งว่า ทำกันเล่น ๆ อยากชำระค่าปรับ เป็นแสนเป็นล้าน แต่ ทำไง ขายแผ่นได้กำไร ห้าสิบ สามสิบ อยากผ่อนให้เดือนละ พัน เดือนละหกร้อย ก็ยังพอใหว ทำนองนี้แ้ล้วศาลยกฟ้องทุกราย

นี่วงการค้า CD เถือน  ค่ะ แต่นกเถื่อนนี่......  จนปัญญา วันใหนว่างติ๊กจะไปกรมป่าไม้ ดูสักทีค่ะ ไปถามให้แน่ใจว่ามีคนทำงานตรงนี้หรือเปล่า หรือว่า ต้องไปหาที่อื่น ค่ะ ถึงวันนั้น หากติ๊กจะขอรวมตัว คนสักห้าคนสิบคน ไปเป็นเพื่อนจะมีใครยกมือกันบ้างมั้ยค้ะ พี่ ๆ น้อง ๆ
เฉาก๊วยขาว ++ เล่าเรื่อง ++++ :-D


ลุงน้อย

ตอนนี้ยังตอบไม่ได้ครับ
เห็นด้วยกับน้องติ๊กนะครับ  แต่ผมยังไม่สามารถทำได้ตอนนี้ เพราะ
1. วันธรรมดา ผมไม่สะดวก  แต่การจะไปกรมป่าไม้นั้น คงต้องไปวันธรรมดาเท่านั้น
2. ผมยังมีครอบครองอยู่บ้าง เพราะคนให้มาบ้าง ดูแลมานานแล้วบ้าง นกหลุดจากที่อื่นมาอยู่ด้วยกันบ้าง  ผมอาจจะตอบได้ไม่เต็มปากเต็มคำเท่าไหร่

ตอนนี้ที่ทำอยู่ และช่วยห้ามคือ ไม่สนับสนุนการซื้อขาย ลูกสัตว์ป่าครับ
ลุงน้อย แสนดี. 555

Noru

เบอร์โทรเมื่อพบการค้าสัตว์ป่า  1136 หรือ 1362

หรือหากต้องการความช่วยเหลือโดยด่วน คุณตำรวจท่านนี้ แสดงความจริงใจในการแก้ปัญหา ยินดีคุยสายตรง...
พ.ท. ธนยศ เก่งกสิกิจ
สารวัตรกองกับกับการ ๑ ฯ
กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 โทร 081-357-1343

cherry

แล้วในกรณีที่เรามีอยู่แล้วหรือซื้อมาจากคนที่เค้าสามารถเพาะพันธุ์ได้อย่างนี้เราจะต้องทำยังงัยคะ เพราะนกที่เลี้ยงนั้นก็เลี้ยงมาแต่เล็ก ๆ  นกจะติดเจ้าของมากด้วย คิดว่าเกิดจากการเพาะพันธุ์ แต่ดันไปอยู่ในประเภทสัตว์คุ้มครองซะนี่ เลี้ยงแล้ว แล้วก็รักด้วย ไม่ยอมให้ใครเอาไปหรอกค่ะ เพราะเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาได้ไปถามเจ้าหน้าที่ที่เค้าดูแลลูกนกหลายสายพันธุ์ของทางสวนสัตว์ เค้าบอกว่านกแก้วนี่ก็อยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากเป็นนกนำเข้า แต่ของเราไม่ได้นำเข้านี่นา แต่เค้าบอกว่าก็เหมือนกันค่ะ เพราะว่าเป็นนกแก้ว และก็อยู่ประเภทนกนำเข้า ในกรณีนี้จะเป็นอย่างไรหรือต้องทำอย่างไรคะ ช่วยให้คำแนะนำทีค่ะ ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ

boy.

ในกรณีที่เป็นนกที่ติดในบัญชีคุ้มครองสัตว์สงวน

รู้สึกจะเคยมีช่วงนึงให้เเจ้งครอบครองไว้ เเต่ที่เเน่ ทั้งจํา ทั้งปรับ เเละยึดครับ

ข้อห้ามข้อบังคับบางประการจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่ควรทราบมีดังนี้
สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าไม่ว่าชนิดใด ห้ามล่าสัตว์ เก็บรัง ครอบครองที่ดิน แผ้วถาง หรือเปลี่ยนแปลงแหล่งน้ำ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
การห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน

ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เรื่อง   การรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2)
           พ.ศ. 2546
--------------------------------------------
      ด้วย พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 ได้ประกาศใน?ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 41 ก ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่?วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546  โดยพระราชบัญญัตินี้มีสาระสำคัญ  คือ  ให้ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย มาแจ้งรายการเกี่ยวกับชนิดและจำนวนของสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับได้โดยไม่ต้องรับโทษ และหากเจ้าของหรือผู้ครอบครองประสงค์จะเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าวต่อไปและพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นได้รับการเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ในสภาพอันสมควรและปลอดภัย ให้อธิบดีอนุญาตให้ผู้นั้นครอบครองสัตว์ป่านั้นต่อไปได้ ?และหากเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ประสงค์จะเลี้ยงดูสัตว์ป่านั้นต่อไปหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่สมควรอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่านั้นต่อไป ก็ให้เจ้าของสามารถจำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะหรือจำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ให้กับผู้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าได้ ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่แจ้งต่อพนักงาน?เจ้าหน้าที่หรือวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าต่อไป ภายหลังจากนั้นยังมีสัตว์ป่า?คุ้มครองเหลืออยู่เท่าใดให้สัตว์ป่าคุ้มครองนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
       ปัจจุบันมีกฎกระทรวงกำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครอง 2 ฉบับ คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 ?(พ.ศ. 2537) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 สรุปชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองได้ดังนี้
      1. สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 189 ชนิด อาทิเช่น กระต่ายป่า กระรอก
เก้ง กวาง ค่าง ค้างคาว ลิง ชะนี เสือ หมี ฯลฯ
      2. สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกนก จำนวน 182 รายการ รวม 835 ชนิด อาทิเช่น ไก่ป่า ไก่ฟ้า
นกแก้ว นกขุนทอง นกเงือก นกปรอด นกเป็ดน้ำ นกนางแอ่น เหยี่ยว นกอินทรี นกเอี้ยง อีกา ฯลฯ
/ 3. สัตว์ป่าคุ้มครอง ...
-2-

      3. สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกเลื้อยคลาน จำนวน 63 รายการ รวม 90 ชนิด อาทิเช่น กิ้งก่าดง
กิ้งก่าบิน งูจงอาง งูสิง งูแสงอาทิตย์ งูหลาม งูเหลือม จระเข้ ตะกวด เต่า ตะพาบ ตุ๊กแกป่า เหี้ย ฯลฯ
      4. สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 12 ชนิด อาทิเช่น กบเกาะช้าง
กบท่าสาร กบทูด กะทั่ง คางคกขายาว คางคกต้นไม้ จงโคร่ง เป็นต้น
      5. สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกแมลง จำนวน 13 รายการ รวมกว่า 20 ชนิด อาทิเช่น ด้วงกว่างดาว
ด้วงคีมยีราฟ ด้วงดินขอบทองแดง ผีเสื้อไกเซอร์ ผีเสื้อถุงทอง ผีเสื้อนางพญา ผีเสื้อภูฐาน เป็นต้น
      6. สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกปลา จำนวน 4 ชนิด คือ ปลาตะพัดหรือปลาอโรวาน่า ปลาติดหิน
หรือปลาค้างคาว ปลาเสือตอหรือปลาเสือหรือปลาลาด และปลาหมูอารีย์
      7. สัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง จำนวน 14 รายการ อาทิเช่น กัลปังหา ดอกไม้ทะเล
ปะการัง บึ้งตัวใหญ่สีดำ บึ้งตัวใหญ่สีน้ำตาล ปูเจ้าฟ้า ปูราชินี ปูทูลกระหม่อม หอยมือเสือ หอยสังข์แตร
เป็นต้น

      กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงขอแจ้งให้ผู้ที่ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายทุกราย มาแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าดังกล่าวได้ ตั้งแต่วันที่? 13  พฤษภาคม  พ.ศ. 2546   ถึงวันที่  9  กันยายน พ.ศ. 2546   ในวันและเวลาราชการ  
       โดยจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ประกอบด้วย
         1. กรณีผู้ครอบครองเป็นบุคคลธรรมดา
         - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ครอบครอง
         - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
       2. กรณีผู้ครอบครองเป็นนิติบุคคล
           - สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท
(กรณีบริษัทจำกัด) หรือของหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) แล้วแต่กรณี
           - หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่จดทะเบียนไว้
           - หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการจดทะเบียน ตลอดทั้งชื่อกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
       3. สำเนาทะเบียนบ้านหรือเอกสารสำคัญของสถานที่เลี้ยงดูหรือครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พร้อมแนบแผนที่สถานที่ตั้งโดยสังเขป
/ 4. หากมอบอำนาจให้
-3-

       4. หากมอบอำนาจให้ผู้แทนมาแจ้งการครอบครอง
          - แนบใบมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
       โดยมีสถานที่รับแจ้งการครอบครองดังต่อไปนี้
      1. กรณีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ไม่ใช่สัตว์น้ำ
         1.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแบบแจ้งการครอบครอง (แบบ สป.1) ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ?พ.ศ. 2535 ณ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เลขที่ 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10900
        หรือแจ้งการครอบครองโดยใช้แบบแจ้งการครอบครอง (แบบ สป.1) ที่ทางราชการกำหนด แนบเอกสารหลักฐาน พร้อมซองติดแสตมป์จ่าหน้าซองถึงตนเอง ส่งไปยัง ตู้ ปณ. 117 ปณจ. จตุจักร รุงเทพฯ 10900
          1.2 ในท้องที่จังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานคร รับแบบแจ้งการครอบครอง (แบบ สป.1) ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และแจ้งการครอบครองได้ ณ สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สาขาแห่งท้องที่ (สำนักงานป่าไม้อำเภอ (เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่) หรือสถานที่อื่นที่เหมาะสม ที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กำหนด
      หรือแจ้งการครอบครองโดยใช้แบบแจ้งการครอบครอง (แบบ สป.1) ที่ทางราชการกำหนด แนบเอกสารหลักฐาน พร้อมซองติดแสตมป์จ่าหน้าซองถึงตนเอง ส่งไปยัง สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์แห่งท้องที่
       2. กรณีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ
          2.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร รับแบบแจ้งการครอบครอง (แบบ สป.1) และแจ้งการครอบครองได้ ณ สำนักบริหารจัดการด้านประมง กรมประมง  โทร. 0 2561 4689
         2.2 ในท้องที่จังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานคร รับแบบแจ้งการครอบครอง (แบบ สป.1) และแจ้งการครอบครองได้ ณ สำนักงานประมงจังหวัดแห่งท้องที่
      อนึ่ง หากพ้นกำหนดเวลา 120 วัน ในการรับแจ้งการครอบครองนี้แล้ว ผู้ใดยังมีสัตว์ป่า?คุ้มครองไว้ในครอบครองโดยยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ได้มาแจ้งการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 ผู้นั้นก็จะมีความผิดฐานมีไว้ใน?
?/ ครอบครอง ...
-4-

ครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและ?คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
      หากมีข้อสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อหรือแจ้งข้อมูลได้ที่ ?ส่วนคุ้มครองสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เลขที่ 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2561 4837 หรือ 0 2561 2917 หมายเลขโทรสาร 0 2561 4835 และสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (สำนักงาน  ป่าไม้เขต เดิม) หรือ สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สาขา (สำนักงานป่าไม้อำเภอ เดิม) แห่งท้องที่ ในวันและเวลาราชการ
       กรณีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นสัตว์น้ำ กรุณาติดต่อหรือแจ้งข้อมูลได้ที่สำนักบริหารจัดการด้านประมง กรมประมง โทร. 0 2561 4689
      จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

                  ประกาศ  ณ  วันที่          พฤษภาคม  พ.ศ. 2546
ขออภัย ผมกดราคาครับ

boy.

ขออภัย ผมกดราคาครับ


ปุ๊ก

การขออนุญาต เพาะพันธุ์ และขายทำได้แล้วนะครับบางชนิด
ทางราชการก็มิได้นิ่งเฉย เขาทำการวิจัย และเพาะพันธุ์อยู่
เขาเพาะให้ได้เยอะ และศึกษาความเป็นไปได้ต่างๆ
แล้วจะนำเผยแพร่แจกจ่าย ให้ผู้ที่สนใจ แต่ขั้นตอนอาจจะยุ่งยากนิดหน่อย  แต่ก้ยังดีกว่าทำอะไรไม่ได้เลย
ผมว่าการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงที่แพร่หลายจะเป็นการอนุรักษ์ทางหนึ่ง
แต่ต้องมีการศึกาวิจัยกันให้ดีก่อน เพื่อป้องกันการเพาะที่ไม่ดีพอ
ได้สายพันที่ไม่ตรง อาจทำให้เสียพันแท้ไปในที่สุด
บางคนมักง่าย ผสมข้ามพันกันมั่ว ทำให้สายพันธุ์อ่อนแอ เสียสายพันธุ์

ผมกำลังดำเนินการอยู่ ได้เรื่องแล้วจะนำมาเผยแพร่อีกที่
คิดว่าวันพุธ คงได้ใบอนุญาตแล้ว
ใครที่สนใจลองเข้าไปดูเวบของ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ   ไม่แน่ใจชื่อหน่วยงานนะชื่อมันยาว
เขาจะมีวิธีการขออนุญาตต่างๆ  www.brdo.or.th
มือใหม่แต่ใจรัก