ผู้หญิงหรือผู้ชายครับ

เริ่มโดย ลุงน้อย, มีนาคม 14, 2008, 04:34:20 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงน้อย

คนแถวบ้านจับได้ เห็นเราเลี้ยงนก เลยเมตตานำมาให้ สงสัยจะเห็นบ้านเราเป็นสวนสัตว์  แล้วเจ้าหน้าที่จะมาเยือนมั๊ยเนี่ย

ขอถามเป็นความรู้หน่อยครับว่า ใช่แก้วหัวแพร หรือ กะลิง หรือเปล่า แล้วเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย

หากเห็นว่าไม่เหมาะสม ลบได้เลยนะครับ
ลุงน้อย แสนดี. 555

pjm

ต้องดูที่หัวครับ

ถ้าหัวแพร  หัวเป็นสีชมพู

ถ้าเป็นสีเทา   กะลิง


ตัวผู้ครับ  ไม่ว่าจะเป็นอะไร  ก็ตัวผู้++

ลุงน้อย

ไปค้นหา เขาว่า แก้วหัวแพร จะเป็นหัวสีชมพู ส่วนกะลิง จะสีเทา
สรุป ตัวนี้คือกะลิง  ( เพิ่งรู้ความแตกต่างนะเนี่ย )

ส่วนกะลิง โตเต็มวัย หัวจะสีเทาและมีสร้อยดำทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวผู้จะมีแต้มแดงที่ไหล่ ส่วนตัวเมียไม่มีแต้ม
สรุป ตัวนี้คือ ผู้หญิงครับ

ใครมีความรู้ ความเห็น เป็นอย่างอื่นหรือเปล่าครับ

ขอบคุณพี่เชษฐ์มากครับ
ลุงน้อย แสนดี. 555

pjm

สงสัยผมจะดูผิดไปเอง   555

เดียวขอไปดูตัวจริงอีกที่แล้วมาตอบ

แต่เห็นว่าหัวมันเข้มนะมีริงค์รอบคอด้วยนะ555



ตัวในรู้เป็นกระลองตัวผู้




ส่วนรูปนี้  หัวแพร


...

นกกะลิง
Gray – headed Parakeet
Psitacula finschii ( Hume ) 1874.
ชื่ออื่น  นกกะแล , Slaty – headed Parakeet

   นกกะลิงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Psittacula finschii  ชื่อชนิดดัดแปลงมาจากชื่อของ  Friedrich Hermann Otto Finsch ( 1839 – 1917 )  นักการทูตนักปักษีวิทยา  นักเก็บตัวอย่างสัตว์  และนักเขียนชาวเยอรมัน  พบครั้งแรกที่ลุ่มน้ำสาละวินตอนบน  ในประเทศพม่า   นกกะลิงมีชื่อพ้องว่า  Psittacula himalayana ( Lesson )  ชื่อพ้องดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ คือ ภูเขาหิมาลัย  Howard and Moord ( 1980 )  ถือว่า  finschii เป็นชนิดย่อยหนึ่งของ  Psittacula himalayana  ขณะที่  Sibley and Monroe ( 1990 )  และ Inskipp et al. ( 1996 )  จัดเป็นคนละชนิดกัน  ชนิด Psittacula  himalayana  ไม่ปรากฎในประเทศไทย

   นกกะลิงมีกระจายพันธุ์ในอินเดีย  บังคลาดเทศ  จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้  พม่า  ไทย  ลาว  กัมพูชา  และเวียดนาม

   ลักษณะทั่วไป  เป็นนกขนาดเล็ก – กลาง  ( 40 – 41 เซนติเมตร )  ตัวเต็มวัยลำตัวสีเขียว  หัวสีเทา  คอหอยสีดำ  รอบคอมีแถบสีดำ  ปากสีแดง  แต่บริเวณสันขากรรไกรบนและสันขากรรไกรล่างสีเหลือง  ขาและนิ้วสีเขียว  ตัวผู้ช่วงไหล่มีแถบสีแดง ส่วนตัวเมียไม่มี  ตัวไม่เต็มวัยปากสีออกเหลือง  ปลายปากสีเข้ม  หัวสีจางกว่าตัวเต็มวัย

   อุปนิสัย  และอาหาร  อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง  ป่าเบญจพรรณ  และป่ารุ่น  ตั้งต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง  1,300  เมตร  จากระดับน้ำทะเล  ส่วนใหญ่พบเป็นฝูงเล็ก ๆๆ  หรือเป็นครอบครัว  แต่บริเวณที่มีอาหารสมบูรณ์อาจพบเป็นฝูงใหญ่มาก  นกกะลิงสามารถปีนป่ายยอดไม้และกิ้งไม้ได้  ทุกแนวเหมือนกับนกแก้วอื่น  ทั้งเกาะลำตัวตั้งตรงและห้อยหัวลง  นอกจากนี้ยังบินได้ดี  และเร็ว  มักบินตรง  ขณะบินอาจจะร้องเสียงแหลมด้วย

   อาหารได้แก่  ผลไม้  ธัญพืช  เมล็ดของไม้ต้นและเมล็ดพืชต่าง ๆ นกกะลิงจัดเป็นนกชนิดหนึ่งที่ทำลายพืชผลทางการเกษตร  โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรที่อยู่กลางป่า  หรืออยู่ใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ

   การผสมพันธุ์  นกกะลิงผสมพนธุ์ในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนพฤษภาคม  ทำรังตามโพรงไม้ที่เกิดตามธรรมชาติ  หรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้  เช่น  นกหัวขวาน  นกโพระดก  เป็นต้น  มันจะใช้ปากตกแต่งปากโพรงให้เหมาะสมกับขนาดตัว  ปกติรังอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ  6 – 18 เมตร  และมักไม่มีวัสดุรองรัง  ไข่มีรูปร่างค่อนข้างกลม  สีขาว  เป็นมันเล็กน้อย  ไม่มีลวดลาย  มีขนาดเฉลี่ย  21.5 x 27.1 มิลลิเมตร  รังมีไข่  4 ฟอง  ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเมีย  ใช้เวลาฟักไข่  18 – 20 วัน  ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตาและไม่มีขนปกคลุมลำตัว  พ่อแม่ต้องกกและเลี้ยงดูลูกนกจนกว่า จะแข็งแรงและบินได้ดี  เป็นเวลาประมาณ  3 – 4 สัปดาห์  จากนั้นทั้งหมดจะทิ้งรังไป  

   สถานภาพ  นกกะลิงเป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อย  และปริมาณไม่มากนักทางภาคเหนือ  ภาคตะวันตกตอนเหนือ  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางแห่ง  แต่บางแห่งพบบ่อยและปริมาณปานกลาง

   กฎหมายจัดนกกะลิงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

...

นกแก้วหัวแพร
Blossom – headed Parakeet
Psittacula roseate Biswas, 1951.

   นกแก้วหัวแพรมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittacula roseate ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ rose, -a, -o แปลว่า  กุหลาบ  และ –ta  เป็นคำลงท้ายความหมายคือ  " นกที่มีสีกุหลาบหรือสีชมพู "  พบครั้งแรกที่รัฐอัสสัม  ประเทศอินเดีย  นกแก้วหัวแพรมีชื่อพ้องว่า  Psittacula cyanocephala ( Linnaeus ) ชื่อชนิดนี้มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ cyan, -e ,-I, -o  หรือ kuanos  แปลว่าสีน้ำเงินเข้ม  และ cephal, =a, -o  หรือ –kephalos แปลว่าหัว  ความหมายคือ " บริเวณหัวมีสีน้ำเงินเข้ม "  ขณะที่ Sibley and Monroe (  1990 )  และ Inskipp et al. ( 1996 )  จัดเป็นคนละชนิดกัน โดย Psittacula cyanocephala ไม่ปรากฎในประเทศไทย  ทั่วโลกมีนกแก้วหัวแพร 2 ชนิดย่อย  ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ  Psittacula  roseate juneae Biswas ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคลพบชนิดย่อยนี้ครั้งแรกที่เมือง  Arakan ในประเทศพม่า

   นกแก้วหัวแพรมีกระจายพันธุ์ในอินเดียตะวันออก  จีนตอนใต้  พม่า  ไทย  ลาว  กัมพูชา  และเวียดนาม

   ลักษณะทั่วไป  เป็นนกขนาดเล็ก – กลาง  ( 33 – 34  เซนติเมตร )  ตัวผู้หน้าผากและหัวด้านข้างเป็นสีชมพู  และกระหม่อมท้ายทอยสีม่วงถึงน้ำเงิน  คอหอยสีดำ  รอบคอมีเส้นสีดำ  ลำตัวสีเขียว  ช่วงไหล่มีแถบสีแดง  ขากรรไกรบนสีเหลืองแกมส้มหรือสีส้ม  ขากรรไกรล่างสีดำ  ตัวเมียลักษณะคล้ายกับตัวผู้  แต่หัวเป็นสีม่วงแกมเทารอบคอไม่มีเส้นสีดำ  คอหอยสีเขียว  ตัวไม่เต็มวัยลำตัวเป็นสีเขียวตลอด  ขากรรไกรบนสีเหลือง  ขากรรไกรล่างสีดำตัวเมียลักษระคล้ายกับตัวผู้  แต่หัวเป็นสีม่วงแกมเทา  รอบคอไม่มีเส้นสีดำ  คอหอยสีเขียว  ตัวไม่เต็มวัยลำตัวเป็นสีเขียวตลอด  ขากรรไกรบนสีเหลือง  ขากรรไกรล่างสีดำ

   อุปนิสัย และอาหาร  อาศัยอยู่ตามป่าโปร่งทั่วไป เช่น ป่าเต็งรัง  ป่าเบญจพรรรณ  ป่ารุ่น  ป่าละเมาะ  ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล  มักพบอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ  5 – 10 ตัว  แต่บริเวณที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ เช่น ตามไร่นาที่อยู่กลางป่า  อาจพบเป็นฝูงใหญ่มากนับร้อยตัว  นกแก้วหัวแพรบินได้ดี และเร็ว  และสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ทุกแนว

   อาหาร  ได้แก่  เมล็ดธัญพืช  เมล็ดพืช  ผลไม้ต่าง ๆ ยอดอ่อนของพืช  กลีบดอกไม้  และน้ำหวานดอกไม้  มันหาอาหารโดยบินไปเกาะตามกิ่งไม้หรือต้นพืช  จากนั้นใช้ปากและกรงเล็บเด็ดอาหาร  และกลืนทีละผลหรือทีละเมล็ด  หากผลไม้มีเปลือกแข็ง  มันจะใช้ปากขบให้เปลือกแตกเสียก่อน  แล้วจึงกินเนื้อในหรือเมล็ด

   การผสมพันธุ์  นกแก้วหัวแพรผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน  ทำรังตามโพรงต้นไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้  แล้วใช้ปากตกแต่งเล็กน้อยปกติไม่มีวัสดุรองรัง  ไข่มีรูปร่างเกือบกลม  สีขาว  ไม่มีลวดลาย  มีขนาดเฉลี่ย  20.4 x 24.9  มิลลิเมตร  รังมีไข่ 4 – 5 ฟอง  หายากที่จะทมี 6 ฟอง  ส่วนใหญ่นกแก้วหัวแพรตัวเมีเท่านั้นที่ฟักไข่และกกลูกอ่อน  ใช้เวลาฟักไข่   16 – 17 วัน  มันจะเลี้ยงลูกด้วยการสำรอกอาหารจากลำคอออกมาป้อน  ตัวผู้จะคอยช่วยเหลือบ้าง  แต่ค่อนข้างน้อย  ลูกนกแรกเกิดยังไม่ลืมตา  และไม่มีขนปกคลุมลำตัว  พ่อแม่ต้องกกและเลี้ยงดูลูกนกจนกว่าจะแข็งแรงและบินได้ดี  เป็นเวลาประมาณ  3 – 4 สัปดาห์  จากนั้นทั้งหมดจะทิ้งรังไป

   สถานภาพ  นกแก้วหัวแพรเป็นนกประจำถิ่น  พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนักทางภาคเหนือ  ภาคตะวันตก  ภาคตะวันออกเฉียงหนือ  และภาคกลาง

   กฎหมายจัดนกแก้วหัวแพรเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ด.ช.หาด

พี่โด้เปิดตำราพิชัยยุทธ์อีกแล้ว
หนึ่งในสมาชิก แก๊งค์ "จู้ฮุกกรู"

DNA