จะรู้ได้อย่างไรว่า อาหารลูกนก " สุกหรือยัง "

เริ่มโดย ลุงน้อย, พฤษภาคม 08, 2008, 11:10:48 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

ลุงน้อย

เห็นว่าลูกป้อน จะมีปัญหาเรื่อง อาหารย่อยไม่หมด แล้วจะเป็นเชื้อราบ้าง  ติดเชื้อบ้าง  ทำให้สูญเสียลูกนกไปเป็นจำนวนมาก

ผมลองมาทบทวนดู ในธรรมชาติ จะมีน้ำย่อยจากพ่อแม่นก ปะปนมากับอาหารที่มันป้อนลูกของมัน แล้วถ้าต้องมาป้อนเอง จะเอาน้ำย่อยอะไรมาให้มันเพิ่มเติม

โดยทั่วไป อาหารสุกจะย่อยง่ายกว่าอาหารดิบ  ดังนั้น หากเราทำให้อาหารลูกนกสุกก่อน คงจะช่วยให้ลูกนกย่อยอาหารเหล่านั้นได้สะดวกยิ่งขึ้น   แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า อาหารนั้น สุกแล้ว

ผมเคยเห็น เขาเอานำร้อนจากกระติกใส่ลงในถ้วย เติมอาหารลูกป้อน ตามสัดส่วน แล้วคนๆๆๆๆๆๆ ทิ้งไว้ให้เย็นหน่อย แล้วป้อนเข้าไป    ป้อนง่ายจริงๆ

เมื่อสังเกตุอาหารที่ป้อน เห็นได้ชัดว่า แยกเป็น 2 ชั้น เป็นตะกอน กับน้ำขุ่นๆ  มันสุกแล้วหรือเนี่ย   ลูกนกไม่มีทางเลือก ต้องกินอยู่แล้ว  จะสะบัดหน้าหนี อาจโดนตบ เพราะทำให้คนป้อนเลอะเทอะ แต่กินแล้วเป็นยังไงต่อไป  คงต้องติดตามต่อไป  

ลองเปรียบเทียบกับ ข้าวหุงไม่สุก คุณจะกินหรือเปล่า  กินข้าวดิบแล้วจะเป็นยังไง นึกเอาเองแล้วกัน

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นหน่อยครับว่า  อาหารสุกแล้วนั้น ลักษณะควรจะเป็นอย่างไรครับ

ผมเห็นว่า มันเป็นต้นเหตุของเรื่อง อาหารไม่ย่อยเลยครับ  ถึงแม้ว่าเราจะผสมอย่างถูกสัดส่วน แต่อาหารมันไม่สุก คงไม่มีประโยชน์ ไม่แตกต่างจาก การเอาอาหารผงกรอกลงไป แล้วตามด้วยน้ำอุ่น
ลุงน้อย แสนดี. 555

ลุงน้อย

สำหรับผม  ผมจะใส่อาหาร เคาะๆให้แน่น จะได้รู้ปริมาณ หรือจะใช้ช้อนตวง แล้วเติมน้ำร้อนตามสัดส่วน  หลังจากนั้นก็ คนๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  

แล้วดูว่า อาหารเละเป็นโจ๊กหรือยัง ถ้ายัง เอาเข้าตู้ไมโครเวฟ ประมาณ 10-20 วินาทีแล้วแต่ปริมาณอาหาร  แต่ไม่ทำให้ถึงขั้นเดือดนะครับ  ดูว่าพอเริ่มมีฟองปุดขึ้นมา ก็จะหยุด แล้วเอามามาคนๆๆๆๆๆ ใหม่ เพื่อให้อาหารเละ และ ข้นให้เท่าเทียมกัน  ถ้ายังแยกเป็น 2 ชั้นอยู่ เอาเขาตู้ใหม่อีกรอบ จนกว่าจะพอใจ


จากนั้นทิ้งให้เย็นตัวลงจนได้ที่ ถึงจะเอาไปป้อน

การป้อนนั้น ผมใช้ ไซริง กับสายยาง ครับ โดยจะเอา สายยางจุ่มลงไปในอาหาร แล้วดูดขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้  ผมเห็นว่า อาหารที่ผ่านสายยางเข้ามาได้นั้น จะเป็นของเหลวเละๆเท่านั้น ส่วนที่เป็นก้อนอยู่ จะติดอยู่ที่ปากสายยาง เอาทิ้งไป  ซึ่งหากเราใช้อาหารที่ดีและผสมถูกสัดส่วน รวมถึงใช้อุณหภูมิในการเตรียมอาหารเหมาะสม อาการจับตัวเป็นก้อนไม่เกิดขึ้นครับ  

วิธีการแหย่สายยางลงไป แล้วดูดขึ้นมานั้น นอกจากจะได้ของเหลวเละๆ ที่เหมาะสมกับการป้อนแล้ว ยังช่วยลดปัญหาเรื่องสายยางหลุดลงคอนกด้วยครับ เพราะ เราจะไม่ต้องใช้แรงมากเพื่อฉีดอาหารลงไป  การป้อนจะสะดวกมาก เมื่ออาหารลื่นไหลสะดวก ใช้แรงดันไม่มาก โอกาสที่สายยางจะหลุดออกมาจะลดน้อยตามไปด้วย  

เป็นความเห็น และ วิธีการส่วนตัวนะครับ  คงมีประโยชน์บ้าง ลองฟังความเห็นของท่านอื่นเพิ่มเติมด้วยนะครับ

ขอให้มีความสุขกับการเลี้ยงลูกนกครับ
ลุงน้อย แสนดี. 555

kitty75

เอ!!!! ไหงมันคนละสูตรกันหว่า????
บางท่านแนะนำว่าให้ใช้น้ำอุ่นชง เอ็นไซม์จะได้ไม่ตาย ช่วยให้ย่อยง่ายขึ้น
แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่าอาหารลูกป้อน น่าจะมีการอบสุกมาจากโรงงานแล้ว เรามาเติมน้ำอุ่นน่าจะพอ เดี๋ยวรอท่านอื่นมาเสนอแนะครับ ผมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจเรื่องนี้สักเท่าไร

C_tan


ผมมีความเห็นเหมือนกับคุณเล็กครับ
ชงกันง่ายๆและให้คุณค่าทางอาหารสูงสุด

นอกจากเอ็นไซม์จะไม่ตายแล้ว ไวตามงวิตามินทั้งหลายทั้งปวงยังอยู่ครบถ้วนไม่สูญหาย   :-D



pjm

ข้างถุงอาหาร  น่าจะเขียนไว้ว่า

ใช้อุณหภูมิ  120  องศาฟาเรนไฮ  น่าจะอุ่นๆๆมากกว่า

...

ผมไม่สันทัดสักเท่าไหร่  เกี่ยวกับเรื่องนี้  ว่าเอ็นไซด์ ที่เป็นตัวช่วยย่อย  จะสูญเสียไป หรือ โดนฆ่าตายด้วยอุณหภูมิสักเท่าใด

แต่การเอาอาหารที่ชง เข้าไมโครเวฟ  เป็นเวลา 10 - 15 วินาที  ความแรงของคลื่นไมโครเวฟ  เพียงน้อยนิด ไหลผ่านถ้วยอาหาร + น้ำ ในปริมาณนิดหน่อย  ก็ทำให้อาหารถ้วยน้ำเดือด และร้อน  อาหารพองจนเมื่อคนดู จะรู้สึกว่า อาหารดูเนียนมาก  แต่คุณค่าทางอาหาร ไม่ว่าจะวิตามิน เอ็นไซด์  ผมว่าน่าจะสูญเสียไปหมดแล้ว

กรณีวิตามิน  ไม่ทราบ พอทราบกันไหมครับ  จะอุณหภูมิสักเท่าไหร่  วิตามิน จะเสื่อมคุณภาพ .....  

จริง ๆ กระบวนการเก็บรักษาอาหาร การ Packing  และการเคลื่อนย้ายมาสู่มือผู้บริโภคล้วนเป็นตัว กำหนดคุณค่าทางอาหารที่อาจจะสูญเสียไประหว่างทาง .... ยิ่งมาเจอการชง  การปรุงอาหาร  ของผู้เลี้ยงแล้ว ... รับรองครับ  ผมว่า คงเหลือ ไม่ครึ่งนึง  ก็ ไม่ถึง 2 ใน 5 ส่วน ของอาหารที่ใช้น๊ะขอรับกระผม

แต่ที่แน่ ๆ ผมจะใช้กับน้ำร้อน ... ที่เดือดจัด ๆ น๊ะขอรับกระผม  และผสมคนอาหารจนขึ้นอืด .... และจะพบว่า อาหารที่มีคุณภาพ จะไม่มีการแยกกาก  แยกน้ำ  คือจะอืดพองเนียน  

ลองดูขอรับกระผม ....  

แต่ทุกครั้ง ก็เสริมวิตามิน  กับอาหารอยู่ดี ..........



กรณีเรื่องอาหารย่อยหมด ย่อยไม่หมด  ก็คงเป็นเรื่องปัจจัยหลาย อย่าง  อันพึงมี ไม่ว่าจะเป็น  สุขภาพนก / คุณภาพของอาหาร / คุณภาพของอุณหภูมิอาหาร / คุณภาพของผู้ป้อน / เทคนิคการป้อน และอื่น ๆๆๆๆๆ ล้วนประกอบกันน๊ะขอรับกระผม  ........

ลุงน้อย

เอวัง  

ตูผิดสูตรหรือเปล่าหว่า ........

ตอนแรกทำแบบเอาน้ำร้อนคนเหมือนกัน  ปัญหาคือ พอทำเยอะมันไม่อืด  เข้าใจว่า ปริมาณอาหารมาก ทำให้ต้องใช้ถ้วยใหญ่ขึ้น ความร้อนจากน้ำร้อนสูญเสียไปกับพาชนะมากขึ้น

พอเจอปัญหา นกซึมไปครั้งนึง เลยเปลี่ยนวิธี  นอกจากนั้นยังเคยเจอสายยางเกือบหลุดบ้าง  

พอทำวิธีนี้ ปัญหาต่างๆหมดไป  

ต้องเอาไปปรับปรุงใหม่ซะแล้วเรา    :roll:
ลุงน้อย แสนดี. 555

GoGuy

ปัญหาสูตรลูกป้อนต่างๆ นี่ก็เป็นปัญหาใหญ่สำหรับมือใหม่เลยครับทุกท่าน ผมว่ามันมี 2 สูตรใหญ่ๆ คือ

1. สุตรส่วนตัว
2. สูตรข้างกล่อง

เราน่าจะทำหรือรวบรวมสุตรกลางเพื่อให้มือใหม่ๆ และมือเก่าๆ(ที่บางคร้งอาจจะเขว) ขึ้นมาดีใหมครับ รวมถึงสูตรเฉพาะตัวด้วยครับ  ดีใหมครับพี่ๆทั้งหลาย
[img align=left]http://mobile-sg.com/images/chicken-little.gif[/img]






ยิ้มกว้างๆหน่อยสิ....

LoveBirds

ว้าวว.....ระดับเซียนทั้งหลายต่างแสดงนานาทรรศนะกัน
ขอบคุณทุกคนนะครับ (  ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้วผม )  :-D  :lol:
:-D   "ผีแดงจะแซงหงส์"  :-D

tabtim

แต่ของเราใช้วิธีชงน้ำร้อนอ่ะ ร้อนจัดนิดนึงนะ ดูลักษณะอาหารให้เนียนๆสักนิดค่ะ กัวไม่สุก บางทีก็ใส่วิตามินลงไปอีกทีตอนเย็นค่ะ ไม่รู้จะใช้ได้หรือป่าวแต่ใช้วิธีนี้ยังไม่มีการเสียนกเลยค่ะ